สังคม

แฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคลานคอนเฟิร์ม สัตว์ที่ชาวบ้านบุรีรัมย์ดักเจอในลำห้วยคือ “จิ้งจกดิน"

โดย paranee_s

4 ต.ค. 2565

176 views

กรณี นางสะเอียน อายุ 72 ปี พบสัตว์ชนิดหนึ่ง ไปติดกับโต่งดักปลา (ลักษณะเหมือนไซ) ระหว่างวางเพื่อดักปลาที่ที่ลำห้วยละหาน ต.เมืองโพธิ์ อ.ห้วยราช จ.บุรีรัมย์ ต่อมา สำนักงานประมงจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ออกมายืนยันว่า “ไม่ใช่จระเข้” แน่นอน แต่ยังไม่ยืนยันว่าเป็นสัตว์ชนิดอะไร


นายศุภณัฐ เบญจดำรงกิจ สุดยอดแฟนพันธุ์แท้สัตว์เลื้อยคลานปี 2006 ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Supanut Benjadumrongkit" ถึงประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า "จิ้งจกดิน สัตว์เลื้อยคลานตัวจิ๋วแห่งผืนป่า"



เมื่อสักครู่ มีคนส่งข่าวมาให้ดูว่ามีสิ่งมีชีวิตคล้ายจระเข้ออกอาละวาด จริง ๆ มันไม่ใช่จระเข้เลยครับ แต่เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่มีชื่อว่า "จิ้งจกดิน" หรือ "จิ้งจกเท้าใบไม้" (Leaf-toed ground gecko) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ตัวพอสมควรครับ แต่น้องก็หน้าตาไม่เหมือนจระเข้เท่ากิ้งก่าจระเข้จีนหรือจิ้งเหลนตาแดงเลยครับ



จิ้งจกดินในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 8 ชนิด แต่ชนิดที่เด่นและเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดนั้นมีชื่อว่า "จิ้งจกดินสยาม" (Siamese leaf-toed gecko - ???????????????????????????????? ????????????????????????????????????) ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีชนิดเด่นที่พบแห่งเดียวในประเทศไทยด้วย ได้แก่ จิ้งจกดินระนอง (???????????????????????????????? ????????????????????????????????????????????????????????????????) ที่ค้นพบในปี 2020 และ จิ้งจกดินสามร้อยยอด (Sam Roi Yot leaf-toed gecko - ???????????????????????????????? ????????????????????????????????????) ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งแล้ว



จิ้งจกดินมีชื่อสามัญแปลตรงตัวว่า "จิ้งจกเท้าใบไม้" เนื่องด้วยเท้านั้นแบนราบลักษณะคล้ายกับใบไม้ ซึ่งพัฒนามาเพื่อการเดินบนพื้นดินและก้อนหิน เท้าเล็บไม่แหลมแบบพวกตุ๊กแกเสือดาว (Leopard gecko) ที่เป็นตุ๊กแกบกที่คนรู้จักกันแพร่หลาย



ลวดลายบนตัวของจิ้งจกดินหลายชนิดมักถูกออกแบบมาเพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของพวกมันที่อาศัยอยู่ จิ้งจกดินสยามบางตัวอาจมีเฉดสีออกเข้มเพื่อกลมกลืนกับใบไม้แห้ง บางตัวก็มีลวดลายเป็นริ้วลาย บางตัวก็มีลายจุดขึ้นอีกด้วย



จิ้งจกดินมีลักษณะเกล็ดที่ไม่เหมือนจิ้งจกและตุ๊กแกทั่วไปคือ มันมีปุ่มเกล็ดยื่นเป็นสันตามแนวลำตัวและหาง ทั้งนี้มันคือวิวัฒนาการมาเพื่อป้องกันการเสียน้ำออกจากร่างกายและทนสภาพแห้งในตอนกลางวันกับตอนกลางคืน มันจึงสามารถดำรงชีวิตได้ในสภาพดินแดนที่เป็นป่าดิบแล้งหรือแม้แต่ทุ่งหญ้า



บิวคุงเคยมีประสบการณ์ภาคสนามสมัยอยู่มหาวิทยาลัยตอนเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอสิ่งมีชีวิตในชีวนิเวศต่างๆ ได้เรียนรู้เพิ่มว่า จิ้งจกดินนั้นเป็นสัตว์ที่ออกหากินเวลากลางคืน พวกมันมักจะออกมาช่วงที่ลับขอบฟ้าหรือหลังฝนตกผ่านไป เพราะเป็นเวลาหากินของพวกมัน มักจะหากินอยู่ตามพื้นดิน , กองหิน , โคนต้นไม้, ตอไม้ รวมถึงผาหินในระดับต่ำ พวกมันวางไข่ครั้งละ 2 ฟอง



ในปัจจุบัน จิ้งจกดินเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่คนไทยยังรู้จักข้อมูลของมันน้อยมาก อันเนื่องด้วยขนาดตัวที่เล็กเลยยังไม่เป็นที่สนใจในการศึกษาพฤติกรรมจริงจังมากนักนั่นเองครับ แต่เป็นสัตว์เลื้อยคลานอีกจำพวกที่น่าสนใจไม่เบาเลยทีเดียว


คุณอาจสนใจ

Related News