สังคม

วสท.ตรวจคานสะพานกลับรถถล่ม คาดเหล็กเสื่อมสภาพ ชี้ไม่ใช่ประมาท เป็นเหตุสุดวิสัย

โดย nattachat_c

2 ส.ค. 2565

39 views

จากเหตุการณ์คานและแผ่นปูนขอบทางบนสะพานกลับรถหน้าโรงพยาบาลวิภาราม กม.ที่ 34  ถนนพระราม 2 ช่องทางด่วน ขาเข้ากรุงเทพฯ ที่อยู่ระหว่างการปิดซ่อมบำรุง พังถล่มลงมาทับรถยนต์ที่สัญจรอยู่ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เสียชีวิต 2 ราย


หนึ่งในผู้เสียชีวิตที่ตกลงมา คือ เจ้าหน้าที่กรมทางหลวง นายชาญ อายุ 48 ปี 

หนึ่งในผู้บาดเจ็บที่ตกลงมา คือ นายฉัตรชัย อายุ 28 ปี


หนึ่งในผู้เสียชีวิตอยู่ในรถเก๋ง คือ นางสาวสุวรรณี (คุณอ้อ) อายุ 40 ปี

หนึ่งในผู้บาดเจ็บอยู่ในรถเก๋ง คือ นางสาวลักขณา (คุณกล้วย) อายุ 40 ปี


ส่วนรถกระบะที่ตามขับมา ปลอดภัยทั้งหมด 5 คน

รถบรรทุกได้รับความเสียหายเล็กน้อย

-----------

วานนี้ (1 ส.ค. 65) เจ้าหน้าที่ได้เคลื่อนย้ายแผ่นปูนสะพานกลับรถ ถนนพระรามที่ 2 ออกนอกพื้นที่แล้ว แต่ต้องกั้นเป็นเขตอันตราย ห้ามรถวิ่งเข้ามาในช่องทางหลัก โดยช่วงเที่ยงวานนี้ทีมข่าวลงพื้นที่พบว่าการจราจรถนนพระรามที่ 2 ฝั่งขาเข้า อ.บ้านแพ้ว ติดสะสมยาวหลายกิโลเมตร


อีกทั้งฝนตกยิ่งทำให้รถติดหนัก ผู้ใช้รถต้องเบี่ยงเข้าทางคู่ขนานก่อนถึงจุดเกิดเหตุได้แค่ 2 เลน หลายคนต้องหยุดงานรวมถึงเด็กนักเรียนหลายคนก็ต้องหยุดเรียน เช่นเดียวกับขาเข้ากรุงเทพฯ รถติดหนักแทบไม่ขยับ


ขณะที่เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน (พฐ.) และเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง โดยศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 3 ลงพื้นที่ทำการตรวจสอบสภาพของสะพานที่กำลังทำการซ่อมบำรุงและประเมินความเสี่ยง ว่าจะสามารถเปิดเส้นทางการเดินรถให้เป็นปกติได้หรือไม่ เพราะเกรงว่าหากมีรถใหญ่ขับผ่าน เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนก็อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำเดิมได้อีก ดังนั้นจึงต้องทำการประเมินกันอย่างละเอียดก่อน


รองศาสตราจารย์ สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชปูถัมภ์ (วสท.) ลงพื้นที่ตรวจสอบด้านบนสะพาน ระบุว่า สะพานนี้มีอายุการใช้งานกว่า 30 ปี และถึงเวลาที่จะต้องซ่อมบำรุง ไม่ให้เกิดอันตรายกับคนใช้รถใช้ถนน


โดยโครงสร้างของสะพานกลับรถ แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นที่ 1 คือคานคอนกรีตสำเร็จรูป ชั้นที่ 2 เป็นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป และชั้นที่ 3 เป็นการเทปูนทับเป็นพื้นผิวถนน ส่วนด้านข้างจะมีทางกั้นกันตก ลักษณะเหมือนแบริเออร์ ซึ่งกันตกการก่อสร้างจะไม่ได้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่เป็นการการหล่อสำเร็จรูปแล้วนำมาติด ก็อาจจะมีความแข็งแรงไม่พอ จึงต้องเทคานขอบโค้งไปตามโครงสร้างให้มีความแข็งแรง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า การสร้างถูกต้องตามหลักการ


ส่วนสาเหตุที่คาดว่าทำให้ชิ้นส่วนสะพานร่วงหล่นลงมา เชื่อว่า เกิดในช่วงที่คนงานรื้อชิ้นส่วนของสะพานกลับรถออกจนทำให้คานลอยโดยไม่มีที่จับยึด ประกอบกับเหล็กเส้นที่ยึดตัวคอนกรีตทั้ง 2 ฝั่ง น่าจะเสื่อมสภาพ จากความร้อนเพราะอุบัติเหตุรถน้ำมันที่มีไฟไหม้ (ไฟไหม้ข้างล่าง เปลวไฟลามขึ้นไปโดนสะพาน) ซึ่งเกิดบนสะพานหลายปีก่อน เสื่อมจนรับน้ำหนักไม่ไหว

------------

อธิบดีกรมทางหลวง เผยว่า หลังเกิดเหตุทางกรมทางหลวงส่วนกลาง พร้อมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุลักษณะนี้ขึ้นมาอีก และสั่งไม่ให้มีการจราจรผ่านจุดเกิดเหตุพร้อมกับตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและรายงานผลภายใน 14 วัน โดยการตรวจสอบมีหลายประเด็น เช่น การตรวจสอบว่าการดำเนินงานเป็นไปตามขั้นตอนหรือไม่ หรือเกิดจากความประมาทในขั้นตอนใด


เบื้องต้นจากการลงพื้นที่พร้อมกับการสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ทำงานสันนิษฐานการเกิดเหตุได้ 2 ข้อ คือการทุบพื้นสะพานออกเพื่อที่จะทำขึ้นมาใหม่ ทำให้น้ำหนักพื้นสะพานเดิมที่มีอยู่หายไป และทำให้น้ำหนักกดลงที่คานเดิมได้น้อยลง จนเกิดการเคลื่อนตัวที่คานทั้ง 2 ด้าน ประกอบกับช่วงที่ผ่านมามีฝนตกจำนวนมาก ทำให้มีน้ำไปขังจนเกิดคานเดินเคลื่อนตัว //ส่วนสาเหตุที่ 2 สันนิษฐานว่าสะพานกลับรถดังกล่าวถูกสร้างมานานแล้ว ประมาน 29 ปี ทำให้สถาพโดยทั่วไปอาจจะไม่สมบูรณ์


ผู้สื่อข่าวถามว่าตอนเกิดเหตุที่มีภาพปรากฎคนงานกำลังทำงานอยู่ด้านบน แต่ไม่มีการกั้นรถเพื่อป้องกันอุบัติเหตุอย่างใด ทำให้หลายคนมองว่าเป็นความประมาทของคนงานหรือไม่ อธิบดีกรมทางหลวง ระบุว่า “สะพานดังกล่าวเป็นการซ่อม ซึ่งตอนเกิดเหตุเป็นขั้นตอนของการสกัดพื้นเดิมออก มีการใช้แผ่นไม้อัดรองเพื่อไม่ให้เศษปูนตกลงไปที่ถนนด้านล่าง ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จำเป็นต้องปิดการจราจรด้านล่าง ซึ่งจากภาพที่ปรากฏเป็นภาพของคนงานที่กำลังเตรียมเก็บวัสดุเพื่อเริ่มขั้นตอนต่อไป”


ทั้งนี้ ได้สั่งให้มีการปิดถนน ผู้ใช้รถใช้ถนนอาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัย ประกอบกับยังไม่มั่นใจว่าโครงสร้างของสะพานกลับรถมีความแข็งแรงมากน้อยแค่ไหน โดยจะปิดจนกว่าจะตรวจสอบจนมั่นใจว่าปลอดภัยแล้ว


อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวถึงจุดกลับรถต่างๆ ในความดูแลของกรมทางหลวง เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้จึงเกิดความเป็นห่วงสะพานเกือกม้าต่างๆ มักจะสร้างอยู่ในเวลาที่ใกล้กัน มีอายุการใช้งานที่มากและมีการใช้งานที่หนัก จึงได้สั่งให้มีการตรวจสอบสะพานกลับรถเกือกม้าอื่นๆ


ที่ผ่านมาก็มีการตรวจสอบเป็นปกติ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ จะต้องมีการตรวจสอบให้เข้มข้นมากขึ้น ที่ผ่านมาสะพานกลับรถเกือกม้าจะอยู่ในความดูแลของแขวงทางหลวงในพื้นที่นั้น ๆ จะมีการตรวจสอบด้วยสายตาทุกวันและจะตรวจสอบด้วยเครื่องมือทุกปี ซึ่งสะพานกลับรถจุดเกิดเหตุ ก็เป็นการตรวจพบความชำรุด แล้วเข้าขั้นตอนของการซ่อมแซม

---------------
สราวุธ ทองศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า โครงการที่เกิดเหตุ เป็นโครงการซ่อมสะพานยูเทิร์นเกือกม้า ดำเนินการโดยศูนย์สร้างและบูรณะสะพาน โดยกรมทางหลวงเอง เป็นเจ้าหน้าที่คุมงานของกรมทางหลวง ลูกจ้างก็เป็นคนงานของกรมทางหลวง


ระหว่างมีการรื้อพื้นสะพานเดิมออก ก็จะเป็นตัวโครงแบบนี้ ขั้นตอนต่อไปคือรื้อพื้นสะพานเดิมเรียบร้อย เพื่อเทพื้นสะพานใหม่ คานตัวนี้มีอยู่ 5 ตัว ในภาพมี 4 ตัว ตัวที่ 5 เป็นตัวที่หล่นลงไปเป็นตัวริม ก็มีการวางไม้แบบในการเทพื้น นี่อยู่ระหว่างการเตรียมพื้นที่เพื่อทำการเทพื้น ยังไม่มีกิจกรรมเอาคอนกรีตมาเท การซ่อมครั้งนี้เป็นการซ่อมพื้น ไม่ได้เป็นการยกคานเดิมออก ถ้าดูแล้วไม่ได้เป็นการซ่อมใหญ่เท่าไหร่ ถ้าซ่อมใหญ่ต้องเป็นการซ่อมพวกโครงสร้าง พวกตอม่อ เสา นี่เป็นการเปลี่ยนพื้น ถ้าดูรูปจากมุมสูง เรามีการซ่อมและทำพื้นสะพานตรงนี้เสร็จแล้วไปหนึ่งช่วง นี่เป็นช่วงที่สองสำหรับการทำ


ส่วนของเหตุการณ์ได้ลงพื้นที่ไปดูหลังจากที่ได้รับแจ้ง ก็ขึ้นไปดูข้างบนด้วย ขั้นตอนการซ่อมแซม เอาพื้นเดิมออกแล้วเตรียมพร้อมพื้นที่เททำพื้นสะพานใหม่สอบถามเจ้าหน้าที่คุมงานและคนงานที่บาดเจ็บ ผมไปเยี่ยมที่รพ.ก็พบว่ามีการทำความสะอาดเก็บเศษต่างๆ เพื่อสเต็ปต่อไปเป็นการวางไม้แบบเพื่อเทพื้น ทีนี้ไปดูจากข้อเท็จจริงเบื้องต้น สาเหตุที่เกิดคานตัวริมหล่นลงมา คานตัวนี้ยาว 15 เมตร น้ำหนักประมาณ 14 ตัน จะมีแผ่นที่เป็นกำแพงกันตก รวมแล้วก็ 25 ตัน มันเกิดจากสองสาเหตุ ระหว่างนี้มีฝนตกปรอยๆ แต่ช่วงที่เกิดเหตุไม่ได้มีฝนตกอะไรรุนแรง


หลังมีการเอาพื้นสะพานออก คานที่เราเห็น 5 ตัว เดิมทีรับน้ำหนักที่มีพื้นอยู่ด้วย พอเอาพื้นสะพานออกไป น้ำหนักก็ลดลง ทำให้ตัวคานที่วางอยู่ อาจเกิดการเคลื่อนตัว เพราะน้ำหนักกดทับไม่มีแล้ว คานทั้งห้าตัวอาจเกิดการเคลื่อนตัวได้ เพราะว่าแผ่นรองของคานเป็นแผ่นยาง คานทั้งห้าตัวมีตัวล็อกทั้งหมด นี่คือสาเหตุที่หนึ่ง พอน้ำหนักบนพื้นน้อยลง ทำให้คานทั้งห้าตัว อาจมีการเคลื่อนตัวได้เหมือนกัน


ประกอบกับมีฝนตกตลอดช่วงนี้ ทำให้ตำแหน่งของตัวขาของคานที่วางอยู่ขอบทั้งสองข้างมีการเคลื่อนตัว สาเหตุที่สองสะพานตัวนี้ใช้งานมาหนักและก่อสร้างมานาน ส่วนเรื่องเหตุการณ์ไฟไหม้ปี 47 ส่งผลมั้ยขอให้ทีมตรวจสอบให้ละเอียด ให้ลงพื้นที่ไปดูแล้ว

--------------

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) ได้แถลงข่าวชี้แจงกรณีคานสะพานลอยกลับรถหล่นบนถนนพระราม 2 ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก กรมทางหลวงว่า ทล. ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง กับเหตุการณ์อุบัติเหตุคานสะพานลอยกลับรถ กม.34 ทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ใกล้กับโรงพยาบาลวิภาราม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร หล่นทับรถยนต์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 2 ราย รวมทั้งหมด 4 ราย


การดำเนินการครั้งนี้ ศูนย์สร้างและบูรณะสะพานที่ 3 (ปทุมธานี) เป็นผู้ดำเนินการเอง ส่วนเอกชนไม่เกี่ยวข้อง โดยศูนย์ฯ เริ่มเข้าซ่อมแซมสะพานดังกล่าว ใช้งบประมาณ 3 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา กำหนดแล้วเสร็จในเดือน ส.ค.65 ประกอบด้วยการทุบรื้อพื้นสะพานและเปลี่ยนพื้นใหม่ จำนวน 2 ช่วง งานสกัดโครงสร้างสะพานที่เสียหาย ส่วนที่อยู่บนคานคอนกรีตอัดแรง รวมทั้งบริเวณพื้นที่ส่วนของทางขึ้นทางลง


ซึ่งการซ่อมแซมครั้งนี้ เนื่องจากก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2536 จนถึงปัจจุบันปี 2565 ซึ่งได้ใช้งานมาเป็นระยะเวลานานกว่า 29 ปี จึงมีความจำเป็นต้องบูรณะซ่อมแซมสะพาน เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะใช้งานได้อย่างแข็งแรงปลอดภัย เพิ่มประสิทธิภาพในการกลับรถขาเข้าบนถนนพระ


นอกจากนี้ ทล. และ สภาวิศวกร จะร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริงต่อไป ขณะเดียวกัน ทล. ได้ตั้งกรรมการตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริง วิเคราะห์สาเหตุที่เกิดขึ้นโดยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ให้รายงานผลภายใน 14 วัน และให้ระงับการซ่อมแซมโครงสร้างสะพานกลับรถนี้ รวมทั้งปิดการจราจรช่องทางหลักขาเข้าไว้ก่อน จนกว่าจะมีความมั่นใจในความปลอดภัย และได้สั่งการให้ตรวจสอบ ขั้นตอนการทำงาน วัสดุชิ้นส่วนงานก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องจักร และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ให้มีความพร้อม หากพบว่าส่วนใดส่วนหนึ่งไม่พร้อม ไม่ปลอดภัย ให้หยุดงานก่อสร้างทันที


ถ้าตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วพบว่า เกิดจากความประมาทของเจ้าหน้าที่ระดับไหนก็ตาม จะลงโทษทางวินัย และความผิดทางละเมิดจะให้ชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย


กรณีเยียวยาผู้ที่ได้บาดเจ็บและเสียชีวิต ทล. จะดูแลอย่างเต็มที่ ทั้งกรณีค่ารักษาพยาบาล และดำเนินการด้านพิธีกรรมทางศาสนากรณีผู้เสียชีวิต โดย ทล. จะเป็นเจ้าภาพตลอดจนดำเนินการเสร็จสิ้น


สำหรับกรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของ ทล. กรณีเสียชีวิตจะมีเงินกองทุนสวัสดิการ ทล. ได้รับรายละ 30,000 บาท ส่วนกรณีบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษา 10,000-30,000 บาทต่อราย ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการบาดเจ็บ นอกจากนี้มีเงินที่ ทล. ร่วมกันบริจาคให้กับเจ้าหน้าที่ที่ได้ประสบเหตุหรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างก่อสร้างด้วย ซึ่งในจำนวนการเยียวยาจะเป็นอะไรบ้าง และมีวงเงินรวมเท่าไหร่นั้น ทล. จะเจรจากับครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเพื่อให้ข้อสรุปอีกครั้ง


ส่วนกรณีที่ดำเนินการดังกล่าวแล้วไม่ปิดการจราจรนั้น เนื่องจากโครงการดังกล่าว อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเทพื้นสะพานใหม่ จึงไม่มีการปิดจราจร แต่มีการวางแนวกั้นพื้นที่ก่อสร้างตามขั้นตอนก่อสร้างแล้ว นอกจากนี้จะโครงการดังกล่าวจะปิดกาจราจรก็ต่อเมื่ออยู่ขั้นตอนเทพื้นสะพาน หรือมีการยกคาน หรือวางคานสะพาน 


ได้สั่งการทุกโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างที่มีประมาณ 200 กว่าโครงการ ให้ตระหนักถึงเหตุการณ์นี้ เพิ่มความปลอดภัยในการดำเนินงานอย่างครอบคอบทุกมิติ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชน ว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/v1BJft85yzo

คุณอาจสนใจ

Related News