สังคม

‘หมอธีระวัฒน์’ เผยรายงานนิวอิงแลนด์ ชี้ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง 98% เป็นกลุ่มชายรักชาย หรือรักสองเพศ

โดย petchpawee_k

29 ก.ค. 2565

203 views

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง (Monkey pox) ปี 2022 ว่า จากการรายงานในวารสารนิวอิงแลนด์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 พบว่า ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง จำนวน 528 ราย ระหว่างวันที่ 27 เมษายน ถึง 24 มิถุนายน ใน 16 ประเทศ ร้อยละ 98 เป็นเกย์ หรือ รักสองเพศ อายุเฉลี่ย 38 ปี และร้อยละ 41 มีการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ร่วมด้วย


ส่วนการแพร่เชื้อนั้น ร้อยละ 95 เป็นไปได้ว่า เกิดในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์ ผู้ป่วยร้อยละ 95 มีผื่น ตุ่ม (skin rash) ร้อยละ 64 เกิดผื่นผิวหนังจำนวนน้อยกว่า 10 ร้อยละ 73 พบในตำแหน่งที่ทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์ ร้อยละ 41 มีในเยื่อบุ ซึ่งในจำนวนนี้ 54 ราย มีผื่นตุ่มที่อวัยวะเพศตำแหน่งเดียว อาการที่พบได้บ่อยก่อนหน้าที่จะมีผื่นขึ้น คือ เป็นไข้ พบได้ ร้อยละ 62 ซึม ร้อยละ 41 ปวดกล้ามเนื้อ ร้อยละ 31 ปวดหัว ร้อยละ 27 ต่อมน้ำเหลืองโตพบได้ ร้อยละ 56 และพบโรคอื่นที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 109 ราย จาก 377 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 29


จากการสืบสอบประวัติที่ได้ค่อนข้างชัดเจนใน 23 ราย พบว่ามีระยะฟักตัวอยู่ประมาณ 7 วัน โดย อยู่ในระหว่าง 3- 20 วัน พบดีเอ็นเอของไวรัสในน้ำอสุจิ 29 ราย ใน 32 ราย ผู้ป่วย ร้อยละ 5 ได้ยาต้านไวรัส มีผู้ป่วย ร้อยละ 13 ที่ต้องอยู่โรงพยาบาล คิดเป็นจำนวน 70 ราย


โดยเหตุผลที่ต้องเข้า รพ.เนื่องจากมีการปวดที่แผลผื่นอย่างรุนแรงในบริเวณทวารและอวัยวะสืบพันธ์ุ 21 ราย มีการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่เนื้อเยื่อ 18 ราย ผนังลำคออักเสบทำให้กินอาหารลำบาก 5 ราย มีความผิดปกติในตา 2 ราย มีอาการทางไต 2 ราย กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 2 ราย และอีก 13 ราย เป็นไปเพื่อการควบคุมโรค ทั้งนี้ ไม่มีผู้ใดเสียชีวิต


ทั้งนี้ ข้อความระบุว่า ฝีดาษลิง 2022 (รายงานในวารสารนิวอิงแลนด์ วันที่ 21 กรกฎาคม) รายงานการติดเชื้อ 528 ราย ระหว่างวันที่ 27 เมษายนถึงวันที่ 24 มิถุนายนใน 16 ประเทศ 98% เป็น เกย์ หรือรักสองเพศ

อายุเฉลี่ย 38 ปี 41% มีการติดเชื้อHIV ร่วมการแพร่ 95% เป็นไปได้ว่าเกิดในขณะที่กำลังมีเพศสัมพันธ์

ผื่น ตุ่ม (skin rash) พบในผู้ป่วย 95% และ 64% ผื่นผิวหนัง มีจำนวนน้อยกว่า 10


73% พบในตำแหน่งที่ทวารหนักและอวัยวะสืบพันธุ์ 41% มีในเยื่อบุ ซึ่งในจำนวนนี้ 54 รายมีผื่นตุ่มที่อวัยวะเพศตำแหน่งเดียวอาการที่พบได้บ่อยก่อนหน้าที่จะมีผื่นขึ้นคือไข้พบได้ 62% ซึม 41% ปวดกล้ามเนื้อ 31%


และปวดหัว 27% ต่อมน้ำเหลืองโตพบได้ 56%และพบโรคอื่นที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใน 109 จาก 377 รายหรือ 29%จากการสืบสอบประวัติที่ได้ค่อนข้างชัดเจนใน 23 รายพบว่ามีระยะฟักตัวอยู่ประมาณเจ็ดวัน โดย อยู่ในระหว่างสามถึง 20 วัน พบดีเอ็นเอของไวรัสในน้ำอสุจิ 29 ใน 32 ราย ผู้ป่วยจำนวน 5% ได้ยาต้านไวรัส มีผู้ป่วย 13% ที่ต้องอยู่โรงพยาบาลคิดเป็นจำนวน 70 ราย เหตุผลที่ต้องเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากมีการปวดที่แผลผื่นอย่างรุนแรงในบริเวณทวารและอวัยวะสืบพันธ์ 21 ราย มีการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่เนื้อเยื่อ 18 ราย ผนังลำคออักเสบทำให้กินอาหารลำบากห้าราย มีความผิดปกติในตาสองราย มีอาการทางไต 2 ราย


กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบสองราย และอีก 13 รายเป็นเพื่อในการควบคุมโรค ทั้งนี้ไม่มีผู้ใดเสียชีวิต



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/jdkx3ILNfDM

คุณอาจสนใจ

Related News