สังคม

กองทัพเรือ จัดตั้งศูนย์ป้องกันมลพิษทางน้ำ เร่งขจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลทะเลระยอง

โดย panisa_p

27 ม.ค. 2565

28 views

วันนี้ (27 มกราคม 2565) เวลา 10.00 น. พลเรือโท ปกครอง  มนธาตุผลิน  โฆษกกองทัพเรือ เปิดแถลงข่าวเกี่ยวกับจัดตั้ง "ศูนย์อำนวยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน กองทัพเรือ (ศอปน.ทร.)"   เพื่อเร่งขจัดคราบน้ำมันที่รั่วไหลในทะเลระยอง  ณ ห้องโพธิ์สามต้น หอประชุมกองทัพเรือ โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วย  นางสาวพรพิมล เจริญส่ง  ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพน้ำ  กรมควบคุมมลพิษ  นายพิทักษ์ วัฒนพงศ์พิศาล  ผู้อำนวยการสำนักความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ กรมเจ้าท่า  และ ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง







โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่าจากเหตุการณ์ ท่อน้ำมันดิบใต้ทะเล   ของ บริษัทสตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด(มหาชน) มีน้ำมันดิบรั่วไหล จากท่อใต้ทะเลของทุ่นรับน้ำมันดิบ กลางทะเล บริเวณละติจูด 12 องศา 29.3 ลิปดาเหนือ ลองติจูด 101 องศา 11.76 ลิปดาตะวันออก ซึ่งเกิดเหตุเมื่อเวลา 21.06 น ของวันที่ 25 มกราคม 2556 5 เป็นเหตุให้น้ำมันรั่วไหลลงสู่ทะเลในระดับ 2 ของแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ  นั้น กรมเจ้าท่าในฐานะศูนย์ประสานงานการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันได้ประสาน มายังกองทัพเรือ เพื่อขอให้จัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการขจัดคราบน้ำมันในบริเวณดังกล่าว ตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน พ.ศ. 2547







พร้อมขอรับการสนับสนุนอากาศยานเรือตรวจการณ์และเรือช่วยปฏิบัติงานขจัดคราบน้ำมันเพื่อปฏิบัติการในพื้นที่เกิดเหตุ ในการนี้กองทัพเรือจึงได้สั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือจัดตั้ง"ศูนย์อำนวยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน กองทัพเรือ"  หรือเรียกโดยย่อว่า ศอปน.ทร.ขึ้น  โดยมีหน้าที่ในการอำนวยการกำกับการ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    ในขณะเดียวกันก็สั่งการให้ทัพเรือภาคที่ 1 จัดตั้ง "ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการในการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน ทัพเรือภาคที่ 1 "  (ศคปน.ทรภ.1) หรือ On Scene Commander เพื่อทำหน้าที่กำหนดแผน และยุทธวิธีในการขจัดคราบน้ำมัน  ปฏิบัติการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันที่เกิดขึ้นในพื้นที่รับผิดชอบ   ตลอดจนอำนวยการประสานกับส่วนราชการ และหน่วยงานภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสั่งการหน่วยสนับสนุนต่าง ๆโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2565 เป็นต้นมาโดยจะปฏิบัติภารกิจจนกว่าเหตุการณ์จะคลี่คลาย



การดำเนินการที่ผ่านมา ทัพเรือภาคที่ 1 ได้ส่ง เครื่องบินลาดตระเวนขึ้นบินสำรวจคราบน้ำมันทางอากาศและจัดเรือต.273 กับเรือต.228 ออกตรวจสอบคราบน้ำมันบนผิวน้ำ นอกจากนั้นได้จัดเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ขึ้นบินตรวจสอบทิศทางการรั่วไหลของคราบน้ำมัน รวมถึงนำสารเคมี DASIC international SLICKGONE ขึ้นไปโปรยบริเวณพื้นที่เกิดเหตุหน้าท่าเรือมาบตาพุด นอกจากนั้นยังได้เตรียมกำลังพลและยุทโธปกรณ์พร้อมในการสนับสนุนหน่วยต่าง ๆ ในการขจัดคราบน้ำมัน



ด้าน พลเรือตรี วิฉณุ  ถูปาอ่าง  ผู้อำนวยการสำนักกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือ ได้เปิดเผยถึงการดำเนินการต่อไป สำหรับการดำเนินการต่อไปได้วางแผนการขจัดคราบน้ำมันในทะเล โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่   การขจัดกลุ่มคราบน้ำมันขนาดใหญ่ ดำเนินการโดยใช้ทุ่นลอบกัก แล้วใช้เครื่องดูดหรือ Skimmer ดูดคราบน้ำมันซึ่งถือว่าเป็นสารพิษอันตราย จากทะเลสู่ถังเก็บ แล้วนำส่งกรมอุตสาหกรรมเพื่อทำการทำลายต่อไป     สำหรับในส่วนของการขจัดกลุ่มคราบน้ำมันที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ที่เป็นอันตรายต่อชายฝั่งและพื้นที่เปราะบาง ดำเนินการโดยใช้ทุ่นล้อมเบี่ยงทิศการเคลื่อนที่ให้ออกห่างจุดเปราะบางไปสู่ทะเลเปิด แล้วทำการล้อมดักและดูดไปทำลายตามกระบวนการต่อไป



สำหรับแผนการขจัดคราบน้ำมันบริเวณชายฝั่ง แบ่งเป็น 2 ลักษณะ โดยแยกเป็นพื้นที่ชายฝั่งในทะเล ได้ประสานกับทางจังหวัด ในการใช้ทุ่นล้อมกันขึ้นฝั่ง ไม่ให้คราบน้ำมันขึ้นสู่ชายฝั่งซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก   พื้นที่ชายฝั่งบนบก บริเวณที่เป็นหินจะใช้การฉีดน้ำให้คราบน้ำมันรวมตัวกัน แล้วตักเก็บไปทำลายบริเวณที่เป็นหาดทรายจะใช้รถแบ็คโฮลตักคราบน้ำมันที่ปะปนกับทรายแล้วนำไปทำลาย ทั้งนี้การปฏิบัติของ




เจ้าหน้าที่จะต้องสวมชุดป้องกันและสามารถปฏิบัติงานได้เพียง 4 ชั่วโมง ต่อวันเท่านั้น เนื่องจากสารพิษจะเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน



ส่วนกรณีความผิด กรณี นี้ ใครเป็นผู้ทำให้รั่วไหล ก็ต้องรับผิดชอบ โดยการคำนวน ค่าเสียหาย บ่ายนี้ จะประชุมแผนฟื้นฟูทรัพยากร ส่วนความเสียหาย อาจจะใช้โมเดล ปี 56 หรือจากในสถานการณ์ อื่น ขณะนี้ยังไม่ได้ประเมินตัวเลข ขั้นตอนการเอาผิดทางกฎหมาย  ยืนยันได้หรือไม่ ว่าคราบน้ำมัน จะไม่มาถึงหาดแม่รำพึง ในวันที่ 28 ม.ค. 2565 ระบุว่า จะพยายาม ในการล้อมวงไม่ให้ขึ้นฝั่ง คาด สามารถ ป้องกันได้ แต่หากขึ้นหาด ก็เชื่อว่าไม่มากนัก แม่แผนรับมือ


คุณอาจสนใจ

Related News