สังคม

ถกหาทางออก 'แอชตัน อโศก' ลูกบ้านโอดซื้อคอนโดถูกกฎหมาย แต่ตอนนี้กลายเป็นผิด

โดย nattachat_c

2 ส.ค. 2566

194 views

จากกรณี ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินว่า ใบอนุญาตการก่อสร้างคอนโอ แอชตัน อโศก ของบริษัท อนัน ผิดกฎหมาย จนต้องเพิกถอนใบอนุญาต จึงทำให้ลูกบ้านคอนโดต่างก็ร้อนใจ เนื่องจากอาจเกิดการทุบคอนโดทิ้ง ดังนั้น โหนกระแสวันนี้ (2 ส.ค. 66) จึงได้เชิญแขกรับเชิญหลายฝ่ายมาพูดคุยถึงเรื่องนี้


พรชัย (ตัวแทนลูกบ้าน) : ปัญหาคือเมื่อศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินแล้ว ก็ได้ประชุมออนไลน์กับเจ้าของโครงการ แต่ยังไม่มีทางแก้ปัญหา แล้วทางนั้นได้ขอเวลา 14 วัน ตอนนี้ แบงก์ยังไม่ได้ติดต่อ เพราะวุ่นวายกับปัญหาอยู่ คือเราอยากทราบทิศทางก่อนที่จะคุยกับแบงก์ นี่คือข้อกังวลใหญ่ ทางแอชตันยังไม่ได้เข้ามาคุยอะไร ในกลุ่มไลน์ บางคนก็วิตก ซึมเศร้า เหมือนไม่มีทางออก ไม่มีทิศทางที่แน่นอน


ชนิกา (กรรมการลูกบ้าน) : เมื่อ 2 ปีก่อน ตอนที่มีศาลชั้นต้น ก็ได้คุยกับทางอนันดา เพราะเราตกใจ สองปีต่อมา ก็ได้คุยกับอนันดา ทางนั้นมีคำตอบเหมือนเดิมคือไม่มีคำตอบ


พิสุทธิ์ (ทนายความคอนโด) : เราก็พยายามเรียกร้องให้ลูกบ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ขอไปอยู่โครงการอื่นได้ไหม ขอเงินคืนได้ไหม แต่ทางอนันดาก็ไม่ได้ตอบอะไร ตอนนี้หาทางอยู่ ให้ลุกบ้านได้ผลประโยชน์มากที่สุด


พรชัย (ตัวแทนลูกบ้าน) : ตอนนั้น ในสัญญาบอกว่า ทางเข้าออกอาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่เค้าไม่ได้บอกเราว่ามีเรื่องการฟ้องร้องกันอยู่ คือ ปี 59 คดี ที่ 1 ปี 60 คดีที่ 2 ถ้าเรารู้ก็จะไม่ซื้อหรอก เราต้องการทำให้มีทางเข้าออกถูกต้อง


ชลิดา (กรรมการนิติบุคคล) : เค้าไม่ยอมเซ็นเอกสารที่เรายื่นให้เลย คือ ศรีสุวรรณฟ้อง 5 หน่วยงานราช ซึ่งผลคือ 5 หน่วยงานราชมันผิด แต่สิ่งที่ได้ผลกระทบต่อมาคือลูกบ้าน ตอนนั้นที่มีข่าวออกคือเพื่อนร้องไห้เลยนะ กลัวไม่มีที่อยู่ คนมองว่าเราคอนโดหรู แต่ความไม่หรูเลย เราอยู่ห้องนิดเดียว เพราะเราเลือกที่ทำเล อยู่ใกล้รถไฟฟ้า


เยาวลักษณ์ (ทนายความ) : คือหมายศาล บอกว่า ถ้าอนันดาเดินหน้าต่อไป และมีการตัดสินว่าสร้างแบบผิดกฎหมาย ทางอนันดาต้องรับผิดชอบ ตอนหนึ่ง กทม.ไม่ออกใบ อ.6 ให้ ทางอนันดาก็เอาไปอ้างกับศาลว่าถ้าไม่ออกใบ อ.6 จะทำให้ 


โกศลย์วัฒน์ (รองอัยการสูงสุด) : เรามีอัยการคุ้มครองสิทธิ์ กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค จะคอยช่วยลูกบ้าน ในเรื่องกฎหมายที่ถูกต้องว่าจะต้องทำอย่างไร และยุติธรรมกับทุกฝ่าย


ดร.โสภณ (ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาฯ) : ถ้าแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นๆ คงไม่บานปลายขนาดนี้ มีคอนโดแบบนี้เยอะ


โกศลย์วัฒน์ (รองโฆษกอัยการสูงสุด) : เวลาจะซื้อคอนโด ต้องดูเอกสารว่ามีทางเข้าออกของตัวเอง ถ้าดีที่สุด ต้องมีนักกฎหมายคอยช่วยดูเลย นี่คือบทเรียนทั้งบริษัทและผู้ซื้อเลย นี่คือบรรทัดฐานในการทำหรือซื้อคอนโดต่อไป ตอนนี้อยากให้ผู้แทนลูกบ้านและบริษัทต้องจับมือไปหา กทม. เพื่อหาทางเรื่องสัญญาการก่อสร้าง อนันดาสามารถยื่นเอกสารขอสร้างใหม่อีกรอบได้ เราสามารถช่วยเรื่องการเจรจาได้ครับ เมื่อมาถึงหน่วยงาน สำนักงานอัยการสูงสุด


พรชัย (ตัวแทนลูกบ้าน) : ตอนประชุมปี 65 ทางอนันดาเค้าก็บอกว่าจะรับผิดชอบ เราไม่ได้เข้าไปปากเปล่า เรามีบันทึก มีหลักฐาน ซึ่งตอนนี้ ก็อยากให้เค้ารับผิดชอบได้แล้ว


ลูกบ้านคนอื่น : ตอนนี้ทำไรไม่ได้เลย ปล่อยเช่าก็ยากเพราะเหตุมันเกิดมาแล้ว จะกู้แบงก์ก็ไม่ได้


ชลิดา (กรรมการนิติบุคคล) : ลูกบ้านไม่เคยรู้เลยว่าเอกสารของแอชตันกับทางหน่วยงานราชการต่างๆ เป็นอย่างไร เราเสียทุกอย่างเหมือนทุกคน


หนังสือ อนันดา : โดยสรุปเขียนว่า ภาครัฐต้องรับผิดชอบให้อนันดาและลูกบ้าน


พรชัย (ตัวแทนลูกบ้าน) : หนังสือนี้เราได้รับก่อนประชุม พอเข้าประชุม เราก็บอกว่าอยากให้มีหนังสือรับรองความรับผิดชอบ แต่เราก็ไม่เคยได้ ในหนังสือมันเหมือนอนันดาเอาลูกบ้านเป็นตัวประกัน


ดร.โสภณ (ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาฯ) : ตอนนี้อยู่คอนโดได้เรื่อยๆ อยากให้ลองไปเจรจากับ รฟม. ดู


พิสุทธิ์ (ทนายความคอนโด) : คือเอาพื้นที่ รฟม.ไปทำอย่างอื่นไม่ได้ เพราะจะโดนคนที่โดนเวนคืนที่ดินฟ้องเอา เนื่องจากเวนคืนเอาที่ดินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์


กรรชัย : ขอสรุปว่า ลูกบ้านอยากได้ความรับผิดชอบ เป็นหนังสือที่บอกว่าจะดูแลถ้าประเด็นนี้ถึงที่สุด และไม่แฮปปี้ที่อนันดาจะไปเอาตังค์ของภาครัฐมาจ่ายลูกบ้าน

-------------







คุณอาจสนใจ

Related News