สังคม

‘จำคุกนอกเรือนจำ’ กรมราชทัณฑ์ ออกระเบียบใหม่ มีผลบังคับใช้ทันที

โดย thichaphat_d

12 ธ.ค. 2566

2.5K views

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.66 นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมราชทัณฑ์ มีหนังสือคำสั่งที่ ยธ.07043/41135 เรียน ผู้บัญชาการเรือนจำ ผู้อำนวยการทัณฑสถาน ผู้อำนวยการสถานกักขัง ผู้อำนวยการสถานกักกัน และ ที่ ยธ.07043/41138 เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัด เรื่องระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2566 ระบุว่า



ด้วยกรมราชทัณฑ์ได้ประกาศใช้ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขัง ในสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2566 โดยสาระสำคัญของระเบียบนี้เป็นการกำหนดสถานที่คุมขังอื่นที่มิใช่เรือนจำ ตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังแต่ละประเภทและ การอื่นตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 อธิบดีกรมราชทัณฑ์จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2560"

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ 3 ในระเบียบนี้ "สถานที่คุมขัง" หมายความว่า สถานที่คุมขังตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์

"ผู้กำกับสถานที่คุมขัง" หมายความว่า ผู้บัญชาการเรือนจำที่ทำหน้าที่กำกับสถานที่คุมขัง

"ผู้ดูแลสถานที่คุมขัง" หมายความว่า (1) ข้าราชการ พนักงานราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอธิบดีมอบหมายให้ทำหน้าที่ในการกำกับ ดูแลและรับผิดชอบผู้ต้องขังชื่งได้รับอนุญาตให้ไปคุมขังในสถานที่คุมขังหรือ (2) เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่คุมขัง ซึ่งได้ให้ความยินยอมและยอมรับที่จะปฏิบัติตาม

เงื่อนไขที่รวมถึงคำแนะนำของเจ้าพนักงานตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

"คณะทำงาน" หมายความว่า คณะทำงานพิจารณาการคุมขังในสถานที่คุมขัง

"อธิบดี" หมายความว่า อธิบดีกรมราชทัณฑ์

ข้อ 4 ให้มีคณะทำงานคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะทำงานพิจารณาการคุมขังในสถานที่คุมขัง" ประกอบด้วย รองอธิบตีที่กำกับดูแลกองทัณทวิทยาเป็นประธาน ผู้อำนวยการกองทัณฑวิทยา ผู้อำนวยการกองทัณฑปฏิบัติ ผู้อำนวยการกองพัฒนาพฤตินิสัย ผู้อำนวยการกองบริการทางการแพทย์ และผู้อำนวยการกองกฎหมาย และบุคคลภายนอกซึ่งอธิบดีแต่งตั้งจากบุคคลผู้มีความรู้ความเชี่ยวซาญทางต้านสาธารณสุข 1 คน และด้านสังคมสงเคราะห์หรืออุตสาหกรรม 1 คน เป็นคณะทำงาน โดยมีผู้อำนวยการกลุ่มงานมาตรการ ควบคุมผู้ต้องขัง สังกัดกองทัณฑวิทยา เป็นคณะทำงานและเลขานุการ และข้าราชการสังกัดกองทัณทวิทยา ที่ได้รับมอบหมายอีกไม่เกิน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ ให้คณะทำงานตามวรรคหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1 ) พิจารณากลั่นกรองการให้ผู้ต้องขังรายใตคุมขังในสถานที่คุมขัง และการเพิกถอนการคุมขัง

เสนอต่ออธิบตีเพื่อพิจารณาอนุมัติ

(2) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่นเกี่ยวกับการคุมขังในสถานที่คุมขังต่ออธิบดี

การประชุมของคณะทำงานตามวรรคหนึ่งต้องมีคณะทำงานมาประขุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะทำงานทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก คณะทำงานคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ข้อ 5 ให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติ รวมตลอดถึงการออกหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้

สำหรับระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ. 2566 มีการกำหนดรายละเอียดต่างๆไว้ 6 หมวด ดังนี้

หมวด 1 สถานที่คุมขัง

หมวด 2 คุณสมบัติผู้ต้องขังที่ได้รับการพิจารณาให้ออกไปคุมขังยังสถานที่คุมขัง

หมวด 3 การพิจารณา

หมวด 4 การคุมขังในสถานที่คุมขัง

หมวด 5 การเพิกถอนการคุมขังในสาถนที่คุมขัง

หมวด 6 เบ็ดเตล็ด

คุณอาจสนใจ

Related News