สังคม

กรมฝนหลวงฯ ขึ้นบินสลายฝุ่นในกทม.-เชียงใหม่ หลัง PM 2.5 แตะระดับสีส้ม เริ่มมีผลต่อสุขภาพ

โดย panwilai_c

18 ธ.ค. 2567

39 views

เช้าวันนี้ GISTDA เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมพบค่าฝุ่นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และระบบทางเดินหายใจ (สีแดง) ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร 31 เขต เช่นเดียวกับศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพฯ

รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5ไมครอน หรือ PM 2.5 ระดับสีส้ม ที่เริ่มมีผลต่อสุขภาพ ประชาชนในหลายเขต



ขณะที่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดปฏิบัติการขึ้นบิน สลายฝุ่น PM2.5 ทั้งที่เชียงใหม่และกรุงเทพฯ



โดยปีนี้เป็นครั้งแรกที่กรมฝนหลวงฯ ได้รับอนุญาตให้เข้าปฏิบัติงานสลายฝุ่น PM2.5 ในเขตกรุงเทพฯได้ จากเดิมห้ามเข้าปฏิบัติการในรัศมี 60 ไมล์นับจากใจกลางกรุงเทพฯ



วันนี้ เครื่องบินแบบคาราแวน 2 ลำ ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขึ้นบินจากศูนย์ปฎับติการฝนหลวงหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อปฎิบัติการสลายฝุ่น PM 2.5 ไม่ให้เกินค่าที่จะกระทบต่อสุขภาพ



นี่เป็นสภาพท้องฟ้าที่มองเห็นจากครื่องบินกรมฝนหลวงฯ ซึ่งทีมข่าวขึ้นบินร่วมภารกิจ ระหว่างบินผ่านในพื้นที่สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และภาพบางช่วง ที่บินผ่านนครปฐม ปทุมธานี ในช่วงกลับดอนเมือง



มองด้วยตาเปล่าเหมือนท้องฟ้าบริเวณนี้โปร่ง หรือคล้ายไอหมอก แต่ความจริงคือฝุ่น PM2.5 ในปริมาณสะสมที่มีค่าแตกต่างกันออกไป และ PM 2.5 มีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ตรวจจับได้จากเครื่องมือตรวจวัด เช่นเรดาร์ของกรมฝนหลวงฯ และของหน่วยงานอื่น ที่ตรวจจับและรายงานให้ทราบผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ



การที่ฝุ่น PM 2.5 ลอยฟุ้งตลบอบอวลอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหรือแหล่งกำเนิดฝุ่น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเผชิญอุณหภูมิที่ผกผันหรือแปร ในอากาศ เพราะธรรมชาติของฝุ่นจากพื้นดิน ที่มีอุณหภูมิร้อน จะลอยขึ้นบนท้องฟ้าที่มีอุณหภูมิเย็นกว่า เหมือนคำว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาว แต่ปราฏว่าในบางช่วงความสูง เช่นระดับ 3- 4 พันฟุต อุณหูมิแทนที่จะเย็นขึ้น กลับร้อนกว่าช่วงที่อยู่ต่ำลงมา หรือเรียกว่างอุณหภูมิผกผัน หรือผันแปร นั่นคือเหตุผลที่ฝุ่นและอากาศไม่สามารถระบายออกไปสู่ที่สูงกว่านั้นได้ วิธีที่กรมฝนหลวงฯทำวันนี้คือใช้ความเย็น เข้าสลายชั้นอุณหภูมิที่ผกผันดังกล่าว



รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ระบุว่าวิธีดังกล่าวช่วยทำให้ค่าฝุ่น PM 2.5 ไม่เกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะหากเทียบกับการปฎิบัติการตั้งแต่วันที่ 2ธันวาคมเป็นต้นมา จะเห็นว่ามีค่าปริมาณฝุ่นน้อยกว่าวันเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ปัจจัยสำคัญคือต้องทำต่อเนื่อง แม้ค่าฝุ่นยังไม่มาก เพราะหากปล่อยให้ฝุ่นหนาแน่นจะยากต่อการสลาย



และปีนี้เป็นครั้งแรกที่กรมฝนหลวงฯได้รับอนุญาตให้เข้าไปปฎิบัติการดังกล่าวในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ จากเดิมห้ามเข้าไปปฎิบัติการนี้ในระยะ 60 ไมล์ จากใจกลางของกรุงเทพฯ



รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กำกับดูแลกรมฝนหลวง ระบุว่ารัฐบาลและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หาหลายมาตรการ จนปีนี้ได้รับอนุญาตให้ทำแผนเข้าไปแก้ปัญหาฝุ่นในกรุงเทพฯ และปริมณฑล กรุงเทพได้ โดยตั้งใจจะแก้ปัญหา

ให้เห็นผลชัดขึ้น



ตอนนี้กรมหลวงฝนและการบินเกษตร เปิดศูนย์ปฎิบัติการที่หัวหิน เพื่อรับผิดชอบกรุงเทพฯ และภาคกลาง และที่เชียงใหม่เพื่อรับผิดชอบภาค โดยมีแผนขึ้นบินถึง 30 เมษายนปีหน้า เพื่อร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ในการแก้ปัญหา PM 2.5 ให้เห็นผลที่สุด

คุณอาจสนใจ

Related News