สังคม

ค้นโรงงานขยะอิเลกทรอนิกส์ ปราจีนฯ ลอบหลอมเครื่องใช้ไฟฟ้ากว่า 3,000 ตัน ฝ่าฝืนคำสั่งปิดกิจการ

โดย panwilai_c

12 ธ.ค. 2567

107 views

วันนี้ข่าว 3 มิติ เกาะติดภารกิจของเจ้าหน้าที่ไปตรวจค้นโรงงานทีแอนด์ที เวสต์ แมเนจเม้จ อำเภอศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี หลังจากมีหลักฐานชัดเจนว่า ยังฝ่าฝืนคำสั่งปิดกิจการด้วยการลักลอบเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรม และประกอบการ ทั้งที่มีคำสั่งปิดและยึดอายัดตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา



ล่าสุด เครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่เอี่ยมหลายชนิด ที่กลายมาเป็นขยะอิเลกทรอนิกส์หรือ E waste มากกว่า 3 พันตัน ถูกนำมาชำแหละ หลอมและหล่อที่โรงงานนี้ ทั้งที่ไม่ได้รับอนุญาต และชี้แจงไม่ได้ว่า ได้ขยะอิเล็กทรอนิกส์นี้มาอย่างไร ในเมื่อประเทศไทยห้ามนำเข้า



โรงงานนี้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งปิดที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมสั่งเมื่อเดือนกันยายน ตอนนี้คำอุทธรณ์ เพื่อขอกลับมาเปิดใหม่ ถูกปฎิเสธจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ รอเพียงรัฐมนตรีกระทรววงอุตสาหกรรมลงนามยกคำอุทธรณ์เท่านั้น ระหว่างนี้ โรงงานต้องหยุดประกอบกิจการเด็ดขาด



แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะโรงงานยังฝ่าฝืนลักลอบประกอบกิจการ และเคลื่อนย้ายของกลาง จนต้องขอหมายค้นเป็นครั้งที่ 3



การค้นวันนี้ ยิ่งทำให้เห็นกากอุตสาหกรรม ที่เป็นขยะอิเล็กทรอนิสก์ เฉพาะในโกดังเดียวนี้มากกว่า 3 พันตัน



ข่าว 3 มิติพบว่าวัตถุดิบหลายชนิดนี้ที่แทบไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ว่าเป็นของที่ใช้ประเทศไทย เช่น แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์เก่า เครื่องคอมพิวเตอร์เก่า เครื่องปรินต์ เครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสารจำนวนมาก และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่เป็นสินค้าใหม่ แต่ปลั๊กไฟที่ไม่สอดคล้องกับที่ใช้ในประเทศไทย ของเหล่านี้อยู่ในโกดังในฐานะเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกชำแหละแยกชิ้นส่วน ระหว่างเหล็กตะกั่ว อลูมิเนียม ทองแดง ทองคำ พลาสติก และสิ่งที่ค่าอื่นๆ เพราะบริษัทนี้ที่มีอาคารโรงงานหลายหลัง ถูกวางแผนออกแบบให้จัดการขยะอิเล็กทรอนิสก์เหล่านี้ให้นำสิ่งที่มี่ค่าออกไปให้ได้มากที่สุด แต่ทิ้งสิ่งที่ไร้ค้าและมีอันตราย เช่นน้ำปนเปื้อนสารเคมี และเศษฝุ่นถูกปล่อย ทิ้ง ข้างๆโรงงานนั่นเอง



จนถึงขณะนี้โรงงานยังไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆมาชี้แจงว่า รับขยอิเล็กทรอนิกส์มาจากที่ใด และคำให้การของคนที่อ้างว่ารับผิดชอบก็ยังขัดแย้งกัน เช่นชายคนนี้ อ้างว่าพวกเขาได้มาจากการประมูลซื้อจากโรงานในเขตฟรีโซน หรือได้มาจากสินค้าที่ผลิตจากจีนไม่ได้มาตรฐานแล้วส่งมาไทย พวกเขาก็ไปประมูลซื้อมา



ขณะที่หญิงคนนี้อ้างว่า ประมูลซื้อมาจากเว็บไซต์จากต่างประเทศ โดยมีเอเยนต์บริการส่งให้ถึงโรงงาน



อย่างไรก็ตาม ช่องทางที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะสืบหาว่าขยะอิเล็กทรอนิสก์เหล่านี้มาจากที่ใด คือเบาะแสที่กรมโรงงานฯ พบหมายเลขตู้สินค้าในสมุดบันทึประมาณ 10 ตู้คอนเทนเนอร์ ที่ส่งไปให้กรมศุลกากรตรวจสอบ เพราะหากมีหมายเลขตู้ ย่อมขยายผลไปถึง ใบ BL ที่ระบุต้นทางปลายทาง และผู้ส่งผู้รับ ซึ่งจะไขปริศนาที่มาของขยะอิเล็กทรอนิสก์เหล่านี้ได้ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า อยู่ระหว่างประสานกับกรมศุลากรตรวจสอบที่มาของกากอุตสาหกรรมเหล่านี้



ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของประเด็นสำคัญที่เจ้าหน้าที่กำลังตามหา ว่านำเข้ามาอย่างไรต้นทางที่ใด เพราะไทยเป็นประเทศสมาชิกอนุสัญญาบาเซล ที่หากพบว่ามีกากอุตสาหรกรมต้องห้ามถูกนำเข้ามาต้องรายงานต่อชาติสมาชิกเพื่อเร่งป้องกัน และสืบหาไปจนถึงต้นตอ

คุณอาจสนใจ

Related News