สังคม

จุฬาฯ พัฒนาแพลตฟอร์ม 'ฝ่าพิบัติ ดิจิทัลวอร์รูม' ทำนายพื้นที่เสี่ยง รับมือน้ำท่วม-ดินถล่ม

โดย panwilai_c

9 ต.ค. 2567

91 views

นวัตกรรมทำนายพื้นที่น้ำท่วมและแนวดินถล่มจากอุทกภัย บูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการ ในการป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น โดยสามารถชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมแก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ได้อย่างแม่นยำและทันสมัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือและแก้ปัญหาได้ตรงจุดและทันท่วงที ซึ่งก็เตรียมเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนหน้านี้



ทีมผู้พัฒนาแพตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ ดิจิทัลวอร์รูม สาธิตวิธีการใช้งานนวัตกรรมนี้ ร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ประสบภัย โดยสามารถโต้ตอบกันได้ เพื่อประสานขอความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย ซึ่งเป็นการบูรณาการความรู้ทางวิชาการในการป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัย ของภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร กับ ภาควิชาเทคโนโลยี ละสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย แพลตฟอร์มนี้มีรายละเอียดแผนที่จุดเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัย และการแจ้งเตือนล่วงหน้า ซึ่งระบบแผนที่ทางภูมิศาสตร์ในแพลตฟอร์ม จะมีรายละเอียดเฉพาะเจาะจงเพื่อประโยชน์ในการอพยพและการเตือนภัยในรูปแบบต่าง ๆ



โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือระบบเตือนภัยและช่วยเหลือแบบเจาะจงตำแหน่ง / ระบบจัดการทรัพยากรให้ตรงตามความต้องการ / และระบบถอดบทเรียนและการเรียนรู้เพื่อการฟื้นฟู



ศ.ดร.สันติ ภัยหลบลี้ ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม ระบุว่า ข้อมูลนี้จะถูกเผยแพร่สู่สารธารณะให้ประชาชน ได้รับทราบโดยอ้างอิงจากข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศจากดาวเทียม มาวิเคราะห์สภาพภูมิศาสตร์ ด้วยเทคโนโลยี GIS ซึ่งมีความแม่นยำ 100% ในพิกัด คลาดเคลื่อนไม่เกิน 30 เมตร



นี่เป็นตัวอย่างของรายละเอียดชุดข้อมูลเตือนภัยดินโคลนไหลหลากและน้ำป่า ซึ่งมีทั้งตำแหน่งรูรั่วของมวลน้ำจากภูเขาสูงที่ราบ แนวไหลหลากของมวลน้ำ และหมู่บ้านที่อ่อนไหวต่อภัยพิบัติดินโคลนไหลหลาก



นอกจากนี้ยังมี ชุดข้อมูลเตือนภัยน้ำท่วมและน้ำหลาก แสดง แนวร่อง แนวเนิน จุดเสี่ยงถนนขาด จุดแนะนำในการอพยพ และ การวางแผนสร้างแนวคันดิน



โดยศ.ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม ระบุว่า การทำงานของแพลตฟอร์มนี้ ก็จะมีเครือข่ายชุมชนและท้องถิ่นเข้ามาร่วมด้วย เพราะสิ่งสำคัญคือการรับมือ และแจ้งเตือนสู่ภาคประชาชนให้รับมือได้ทันท่วงที



ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน จึงสามารถทราบถึงสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ ว่ามีโอกาสได้รับภัยใดบ้าง และ มีโอกาสหนักเบาแค่ไหน เมื่อประชาชนรู้ตัวและปฏิบัติตาม รวมทั้งหากภาครัฐมีนโยบายหรือแนวทางการอพยพที่มีประสิทธิผล จะช่วยลดผลกระทบจากภัยพิบัติทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้



ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลันก็เตรียมเปิดให้บริการแพลตฟอร์มนี้อย่างเป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งก็มีแผนจะจัดทำชุดข้อมูลเพิ่ม เพื่อสื่อสารและเตือนภัยพิบัติดินถล่ม สึนามิ และแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตร่วมด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News