สังคม

ศาลฉะเชิงเทรา สั่งเอกชนจีน จ่ายค่าเสียหาย 1,770 ล้านบาท คดีปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำ

โดย panwilai_c

31 ก.ค. 2567

224 views

กรณีที่อ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจน ที่ 16 จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่สามารถเก็บน้ำได้ถึง 2 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่มีสารเคมีอันตรายร้ายแรงหลายชนิดปนเปื้อนจนใช้ประโยชน์ไม่ได้ กระทั่งมีการสำรวจเมื่อปี 2562 พบว่าสารเคมีดังกล่าวมาจากบริษัททีเอชเอช โมลีโพรเสสซิ่ง ที่ตั้งอยู่ห่างอ่างเก็บน้ำราว 500 เมตร ทำให้ภาครัฐโดยกรมควบคุมมลพิษเป็นโจทก์ที่ 1 ฟ้องบริษัทดังกล่าวตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นม ล่าสุดวันนี้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทดังกล่าว ชดใช้ค่าเสียหาย และฟื้นฟู เป็นเงินกว่า 1770 ล้านบาท



ศาลฉะเชิงเทรา อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ พ.1014/2565 ที่กรมควบคุมมลพิษ เป็นโจทก์ที่ 1 ฟ้องกรรมการบริษัท ทีเอชเอช โมลีโพรเสสสิ่ง รวม 3 คน เป็นจำเลย ในประเด็นประกอบกิจการโดยปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารเคมีที่เกิดจากการผลิตและกวนแร่โมลิบดินัม ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวก่อให้เกิดกสารเคมีหลายชนิด กระทั่งศาลเคมีนั้นปนเปื้อนแหล่งน้ำบาดาล และอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำโจนที่ 16 อ.สนามชัยเขต จนเสียหายหนัก



คำพิพากษาส่วนหนึ่งระบุว่าบริษัทประกอบกิจการโดยไม่คำนึงถึงมาตรการของรัฐที่จะกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม และการเบิกความของพยานโจทก์ทั้งหมดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือว่าจำเลย ก่อให้เกิดการปนเปื้อนมลพิษสู่ชั้นดินและน้ำใต้ดิน



พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตาม มาตรา 96 และ 97 แห่ง พรบ.ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นเงินรวม 1770,976839 บาท



แยกเป็นให้โจทก์ที่ 1 คือกรมควบคุมมลพิษกว่า 851 ล้าน เพื่อฟื้นฟูดินในบ่อดินรูปตัวแอล (L) และบ่อยืมดิน และฟื้นฟูน้ำในบ่อยืมดิน



-ชำระให้โจทก์ที่ 2 (กรมทรัพยากรน้ำบาดาล) 553 ล้าน เพื่อฟื้นฟูน้ำใต้ดิน

-ชำระให้โจทก์ที่ 3 (กรมชลประทาน) 365 ล้าน เพื่อฟื้นฟูน้ำในอ่างเก็บน้ำ และชำระให้โจทก์ 4 (สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) 499,130 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้แต่ 2562 เป็นต้นมา กว่าจะชำระแล้วเสร็จ



คดีนี้ต่อสู้ด้วยข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จนได้ข้อเท็จจริงที่เชื่อได้ว่าโรงงานของจำเลย ตั้งอยู่บนที่สูง และทิศทางการไหลของน้ำบาดาล ไหลจากที่ตั้งโรงงานมายังอ่างเก็บน้ำ ชนิดของสารเคมีอันตรายที่พบในอ่างเก็บน้ำเป็นชนิดเดียวกับที่โรงานจำเลยประกอบกิจการ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำให้ความจริงปรากฎได้



ขณะที่ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 ระบุว่าการเก็บหลักฐานที่ผ่านมาแม้มีอุปสรรคมาก แต่ทำให้ความจริงปรากฎได้ และจะเป็นแนวทางต่อสู้ปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมอีก



ขณะที่ผู้อำนวยการชลประทานจังหวัดฉะเชิงเทราก็ระบุว่า อ่างเก็บน้ำนี้มีประชาชนใช้ประโยชน์หลายพันครอบครัว เมื่อมีการปนเปื้อนก็ทำให้เกิดความเสียหาย แต่หลังจากนี้จะเดินหน้าผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูโดยเร็ว



บริษัท THH เป็นบริษัทของนักลงทุนชาวจีน หลังเกิดคดีได้เปลี่ยนผู้บริหารคนใหม่ ส่วนบริษัทนี้ ก็ถูกกรมโรงงานอุตสาหกรรม สั่งหยุดประกอบกิจการเพื่อปรับปรุงซึ่งขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ ขณะเดียวกัน กรมโรงงานได้แจ้งความเอาผิดอาญาต่อบริษัทนี้ด้วย ฐานกระทำให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะ

คุณอาจสนใจ

Related News