สังคม

รัฐกำหนด 10 มาตรการรับน้ำท่วม พร้อมสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ

โดย parichat_p

21 ก.ค. 2567

63 views

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ยืนยันว่าฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน ในขณะนี้เป็นปรากฎการณ์จากร่องมรสุม ยังไม่ใช่ปรากฎการณ์ลานินญ่า ที่คาดการณ์กันว่าจะทำให้ฝนตกหนักในช่วงปลายเดือนสิงหาคม เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้รัฐบาลได้กำหนด 10 มาตรการรับน้ำท่วม ให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รีบดำเนินการ ซึ่งกรณีผลกระทบที่เกิดกับอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ จ.มหาสารคาม อาจเป็นสัญญาณเตือนได้อย่างดี


ฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน ถึงขั้นทำให้อ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม ที่ขณะนั้นมีน้ำเหลืออยู่ราว 2 ล้าน 7 แสนลูกบากศ์เมตร กลับไปมีน้ำมากกว่า 3 ล้านลูกบาศก์เมตร เพียงชั่วข้ามคืน ทำให้คันดินทำชุดและน้ำกัดเซาะขยายเพิ่มทันที


ปรากฎการณ์นี้ ไม่เพียงเตือนถึงความหนาแน่นของปริมาณน้ำฝนที่ตกไม่กี่ชั่วโมง ก็มีปริมาณมาก แต่ยังเตือนให้ตรวจสอบความพร้อมของอ่างเก็บน้ำอื่นๆที่เหลือ ก่อนจะกระทบหนักเช่นนี้


เพราะแม้ว่าจนถึงวันนี้กรมชลประทานได้เร่งปรับปรุงซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำห้วยเชียงคำ จนคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 70 แล้ว แต่ความเสียหายไปที่เกิดขึ้นไปแล้ว ยากที่จะชดเชยได้ เลขาธิการ สทนช. ระบุว่าการติดตามตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารบังคับน้ำ หรือคันดินของแต่ละอ่าง เป็นหนึ่งใน 10 มาตรการ รับมือน้ำท่วมของปีนี้ที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน


เลขาธิการ สทนช. ย้ำว่าปรากฎการณ์ลานินญ่า ที่คาดว่าจะส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก จะเริ่มในราวปลายเดือนสิงหาคม เป็นต้นไป แต่ระหว่างนี้มีการตั้งศูนย์ฯส่วนหน้าที่ จ.นครราชสีมาและระยอง เพื่อเตือน และประสานความร่วมมือในการรับมือเหตุการณ์


ขณะที่หัวหน้ากองจัดการทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระบุว่าเขื่อนใหญ่ในลุ่มน้ำภาคกลาง และภาคอีสานยังรับน้ำได้อีกมาก แต่เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น จัดว่ามีความเสี่ยงในแง่ที่วา แม้จะเป็นเขื่อนใหญ่รับน้ำได้ถึง 2431 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ก้ถือว่าน้อยมาก หากเทียบกับพื้นที่รองรับน้ำที่จะไหลเข้าอ่าง ซึ่งบางปีมีน้ำไหลเข้ามากเป้น 2 เท่าของความจุอ่าง จึงถือว่าอยู่ในเกณฑ์เฝ่าระวังใกล้ชิด


ตอนนี้นอกจากแผนเฉพาะหน้า เช่น 10 มาตรการรับมือฤดูฝนนี้แล้ว สทนช.ยังเร่งสร้างการรับรู้และความร่วมมือให้แต่ละท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชนได้ ด้วยวิธีคิดเรื่องการอาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน เช่นฝายชั่วคราว และการปลูกต้นไม้เพื่อรับมือทั้งน้ำแล้ง และน้ำหลาก แต่ในกรณีที่ต้องใช้กลไกที่มากขึ้น เช่นอาคารผันหรือบังคับน้ำ ต้องใช้การประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบมากขึ้น

คุณอาจสนใจ

Related News