สังคม

กทม.จัดเสวนาดึงผู้เชี่ยวชาญ ร่วมถอดบทเรียนแผ่นดินไหวตุรกี จ่อติดตั้งเครื่องวัดแรงสะเทือนตึกสูง

โดย parichat_p

22 ก.พ. 2566

37 views

กรุงเทพมหานครจัดเวทีเสวนาถอดบทเรียนเหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกีสู่ความพร้อมของกรุงเทพมหานครในการรับมือเหตุแผ่นดินไหว ทั้งการประเมินสภาพภูมิศาสตร์ในตอนนี้ และ ผลกระทบที่อาจเกิดได้ หลังผู้เชี่ยวชาญชี้ชัดแล้วว่าประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้จากแผ่นรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง แม้ความกังวลในเรื่องการออกแบบอาคารที่สร้างหลังปี 2550 เป็นต้นมาจะมีการรองรับเหตุการแผ่นดินไหวแล้ว แต่สำหรับกลุ่มอาคารเก่าที่สร้างก่อนหน้านับว่ายังเป็นที่น่ากังวล ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพื่อหาแนวทางปรับปรุงให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น


นายภุชพงศ์ สัญญโชติ ทีมยูซ่าไทยแลนด์ ได้แบ่งปันประสบการณ์การจากปฏิบัติการช่วยเหลือหลังเหตุแผ่นดินไหวในตุรกีของทีมยูซ่าไทยแลนด์ บนเวทีเสวนาถอดบทเรียนแผ่นดินไหวตุรกี กรุงเทพมหานครพร้อมแค่ไหน ร่วมกับนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงความพร้อมของไทยจากนี้หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น โดยแบ่งปันมุมมองด้านภารกิจตุรกีสู่เหตุอาคารถล่มที่เคยเกิดขึ้นในไทย


รองศาสตราจารย์ ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารคณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยืนยันว่าไทยมีโอกาสประสบกับเหตุแผ่นดินไหวได้ แม้พิกัดภูมิศาสตร์ของประเทศไทยจะไม่ได้อยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก


จากการสำรวจพบว่าไทยมีรอยเลื่อนทั้งหมด 16 รอยที่ยังอยู่มีพลัง ใกล้สุดในจังหวัดกาญจนบุรีและเชียงราย ซึ่งมีโอกาสสร้างความเสียหายถึงพื้นที่ กทม.ได้ จากสภาพพื้นที่ที่มีดินอ่อน ทำให้แรงสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้น โดยขนาดรุนแรงมากที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่ระหว่าง 6-7 แมกนิจุด


ดังนั้นปัญหาของแผ่นดินไหวจึงประกอบด้วย อาคารและลักษณะของดิน ซึ่งศาสตราจารย์นคร ภู่วโรดม อาจารคณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยจัดทำแผนที่ข้อมูลดินในกทม.และพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลอาคารสร้างใหม่ที่สร้างภายหลังปี 2550 ที่มีการออกกฎหมายควบคุมอาคารให้รองรับแผ่นดินไหวได้ แต่สำหรับอาคารที่สร้างก่อนหน้า ยังเป็นที่น่ากังวลเนื่องจากยังไม่มีการจัดทำฐานข้อมูลนี้


สำหรับหลักการออกกฏกระทรวงควบคุมอาคารให้ได้มาตรฐานรองรับเหตุแผ่นดินไหว ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เคยพยายามผลักดันกฎกระทรวงให้ครอบคลุมแล้วตั้งแต่ปี 2550 และ 2564 แต่สำหรับอาคารที่สร้างก่อนปี 2550 ยังคงติดปัญหาเรื่องหลักเกณฑ์ที่ภาระอาจตกอยู่กับเจ้าของอาคาร


กรุงเทพมหานครมีอาคารที่เข้าข่ายการบังคับตามกฎกระทรวง กําหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2564 จำนวน 3,028 หลัง โดยยังมีอาคารเก่าที่สร้างก่อนกฎหมายบังคับใช้ 10,386 หลัง


ศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศตุรกีและซีเรีย เป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้ตระหนักและเตรียมพร้อมรับมือจากภัยพิบัติ โดย สำรวจอาคารและการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนบนอาคารสูงที่สร้างก่อนปี 2550 โดยเริ่มจากอาคารสังกัด กทม. เป็นอันดับแรก


สำหรับความพร้อมของหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธาณภัย กทม. ตอนนี้ได้ประสบการณ์ที่ดีจากภารกิจช่วยเหลือในตุรกี ซึ่งพร้อมปรับใช้ทันทีเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นในกรุงเทพมหานคร

คุณอาจสนใจ

Related News