สังคม

เครือข่ายจะนะฯ ตั้งคำถาม 6 เดือน SEA ไม่คืบ สะท้อนรัฐไม่จริงใจแก้ปัญหา ซ้ำ 37 ชาวบ้านถูกสั่งฟ้อง

โดย panwilai_c

3 มิ.ย. 2565

37 views

เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จัดกิจกรรมสะท้อนฐานทรัพยากรและความมั่นคงทางอาหาร ที่หน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร ยืนยันไม่ต้องการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ พร้อมตั้งคำถามถึงรัฐบาล 6 เดือนไม่มีความคืบหน้าในการจัดทำ SEA ตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ขณะเดียวกันการดำเนินคดีกับชาวบ้านกลับรวดเร็ว ซึ่งล่าสุดตำรวจได้สั่งฟ้องชาวบ้าน 37 คน ต่ออัยการแล้ว



เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จัดงาน อะโบ๊ยมะ เลจะนะบุกกรุง ครั้ง ที่ 7 ที่หน้าหอศิลป์ กรงเทพมหานคร นำอาหารทะเล และอาหารพื้นเมืองจากชุมชน เช่นข้าวดอกลาย ซูชิที่ทำจากข้าวกล้อง และข้าวลูกปลา รวมถึงปลาเส้นตากแห้ง โคมไฟกรงนก และสินค้าที่ทำจากฐานทรัพยากรชุมชนมาขายเพื่อหาทุนในการเดินทางกลับอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังเดินทางมาต่อสู้คดีที่ตำรวจสั่งฟ้อง เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จำนวน 37 คน คดีการชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2564 ซึ่งอัยการได้รับสำนวนไว้โดยยังไม่ลงความเห็น นัดฟังคำสั่งฟ้องของอัยการอีกครั้งในวันที่ 23 กันยายน แต่ชาวบ้านสามารถมอบหมายทนายมาได้จะได้ไม่ลำบากในการเดินทาง



ถือเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างหนึ่งที่ชาวบ้านจะต้องเดินทางมารายงานตัวทุกเดือน งานอะโบ๊ยมะ เลจะนะบุกกรุง จึงจัดขึ้นเพื่อยืนยันถึงเป้าหมายของชาบ้านที่ต้องการให้มีการประเมินยุทธศ่าสตร์ sea มาตัดสินว่าจะนะต้องพัฒนาอย่างไร



นางสาวนูรี โต๊ะกาหวี ตัวแทนเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ยอมรับว่า ชาวบ้านเห็นว่ารัฐบาลไม่จริงใจในการจัดทำ sea ที่ทำขึ้นเพื่อซื้อเวลาเท่านั้น และจากมติคณะรัฐมนตรีที่ให้หยุดทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่กลับพบหน่วยงานราชการในพื้นที่ยังจัดเวทีรับฟังความเห็น SEa จึงอยากให้สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชติในฐานะเจ้าภาพจัดทำเอสอีเอจะนะ เร่งให้ความชัดเจนว่าจะจัดตั้งคณะกรรมการอย่างไร



ในขณะที่ชาวบ้าน ก็เดินหน้าในการจัดทำ มินิเอสอีเอ ฉบับชาวบ้าน ร่วมกับกรีนพิช ในการศึกษาการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมกับฐานทรัพยากรและการสร้างรายได้ ซึ่งมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน



ซึ่งนางสาวณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ จากกรีนพีช ประเทศไทย นายอมรินทร์ สายจันทร์ จากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม หรือ เอ็นลอว์ และ ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู จากทีดีอาร์ไอ เห็นตรงกันว่า เอสอีจี เป็นมาตรฐานสากลที่รัฐบาลหลายประเทศกำหนดให้จัดทำก่อนมีโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งในไทยรัฐบาลกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติและแผนของสภาพัฒน์ แต่การปฏิบัติกลับย้อนแย้ง เพราะไม่ผลักดันให้เกิดขึ้นจริง จนทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจ และอาจจะมองได้ว่ารัฐใช้ เอสอีเอ เป็นเครื่องมือในการฟอกข่าวโครงการของรัฐ



เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ก็คาดหวังให้เอสอีเอ เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งนอกจากทำการศึกษาให้เกิดขึ้นจริงแล้ว รัฐต้องผลักดันให้มีการรับรองทางกฏหมายเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการพิจารณาโครงการต่างๆเหมือนอย่างอีไอเอ และเอเอชไอเอด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News