สังคม

ผลักดัน "แม่ฮ่องสอนโมเดล" ยกระดับโบราณคดี สู่งานวิจัยข้ามพรมแดน

โดย pattraporn_a

20 มี.ค. 2565

53 views

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา พร้อมยกระดับโบราณคดี แม่ฮ่องสอน สู่งานวิจัยข้ามพรมแดน จากการค้นพบ ถ้ำผีแมนโลงลงรัก ขณะที่นักวิจัย พัฒนาสู่ "บอร์ดเกมนักสืบของอดีต" จุดประกายความรู้ท้องถิ่น เพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์


นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมรับฟังกานนำเสนอ แม่ฮ่องสอนโมเดล ภูมิทัศน์พิเศษทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ต่อยอดจากการค้นพบ ถ้ำผีแมนโลงลงรัก ที่มีทั้งกระดูกมนุษย์โบราณ อายุกว่า 2,000 ปี ที่ และวัฒนธรรมโลงไม้โบราณ ที่สามารถนำงานวิจัยไปใช้ในการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์


และนายเอนก ได้ลงพื้นที่ไปเยี่ยมชมภายในถ้ำผีแมนโลงลงรัก และเผิงผาถ้ำลอด ยอมรับว่า มองเห็นอนาคตการพัฒนาของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เปรียบเหมือนรัฐฉานของไทย และอาจอธิบายถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ จากการตรวจดีเอ็นเอโครงกระดูกมนุษย์โบราณในถ้ำผีแมนโลงลงรัก พบว่า ใกล้เคียงกับตนในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก เช่น มอญ กัมพูชา ละเวือะ และปะล่อง ทั้งยังมีพันธุกรรมใกล้เคียงกับตระกูลไตด้วย จึงอยากยกระดับแหล่งโบราณคดีในแม่ฮ่องสอน ไปสู่งานวิจัยข้ามพรมแดนความรู้ ยกระดับโบราณคดีไทยนำหน้าอาเซียนหรือแนวหน้าของเอเชีย ซึ่งจะต่อยอดไปถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วย


การวิจัย มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์และพลวัตทางวัฒนธรรมบนพื้นที่สูงในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ยังมีการนำไปออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมชุดนักสืบของอดีต เพื่อหวังจุดประกายให้คนท้องถิ่น ได้มีความรู้จากวัฒนธรรมโลงไม้ในถ้ำผีแมน ไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์


สำหรับบอร์ดเกมนักสืบของอดีต ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือ สกสว.ตั้งแต่ปี 2562 มีทั้งนักสืบชาติพันธุ์ เพื่อศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรม และชาติพันธุ์ ปริศนาโลงไม้ สะท้อนขั้นตอนและกระบวนการทำงานของนักโบราณคดี เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญของการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น


นายวริศ โดมทอง หนึ่งในผู้ออกแบบบอร์ดเกมนักสืบของอดีต คาดหวังด้วย การออกแบบให้สอดคล้องกับองค์ความรู้ ทำให้คนทุกระดับเล่นได้ ยังลดความเหลื่อมล้ำต่อความเข้าใจของคนนอกพื้นที่ ให้เข้าใจเรื่องชาติพันธุ์มากขึ้น

คุณอาจสนใจ