สังคม

ไทยเตรียมรับมือ “อาหารสัตว์ขาดแคลน” พิษวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน กระทบเกษตรกร

โดย pattraporn_a

16 มี.ค. 2565

48 views

ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน และวิกฤติราคาพลังงานที่สูงขึ้น กดดันให้ธุรกิจทั้งด้านส่งออกและนำเข้าของไทย ได้รับผกระทบหนัก ซึ่งสถานบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ แนะนำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนรับมือ ส่วนกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรฯ เห็นชอบที่จะผ่อนปรนเงื่อนไขให้สะดวกต่อการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ เพื่อผลิตอาหารสัตว์ ทดแทนข้าวโพดอาหารสัตว์ในประเทศที่ทั้งเริ่มขาดแคลน และราคาสูงเป็นประวัติการณ์


นายบุญยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันระหว่างแถลงการประชุมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรับมือผลกระทบทางด้านการเกษตรของไทยที่เกิดจากความขัดแย้งรัสเซียยูเครน และจากวิกติโควิด-19 ว่าในประเทศยังเหลือข้าวโพดที่จะเปนวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์อยู่ไม่กี่เดือน เนื่องจากทังประสบปัญหาการนำเข้าจากต่างประเทศ และยังไม่ถึงฤดูเพาะปลูก ทำให้ราคาขาวโพดสูงสุดเป็นประวัติการณ์


ที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า คณะทำงานเห็นชอบร่วมกันที่จะผ่อนปรนไม่ใช้มาตรการ 3 ต่อ 1 สำหรับผู้นำเข้าเป็นการชั่วคราว เพื่อเปิดช่องให้นำเขาข้าวสาลีจากต่างประเทศมาผลิตอาหารสัตว์ ก่อนจะเกิดวิกฤติอาหารสัตว์ขาดแคลน


ซึ่งเดิมมาตรการนี้ กำหนดว่าผู้ประกอบการที่นำเข้าขาวสาลีจากต่างประเทศ 1 ส่วน ตองซือขาวโพดในประเทศ 3 ส่วน แต่ตอนนีขาวโพดในประเทศทังราคาแพงและเริ่มมีนอย จึงเหนชอบที่จะผ่อนปรนไม่ใหต้องซือขาวโพดตามาตรการดังกล่าว แต่กจะผ่อนปรนถึง31 กรกฎาคมปีนีเท่านัน และต้องกำหนดปริมาณที่จะนำเข้า เพื่อไม่ให้กระทบสินค้าในประเทศ


รายละเอียดที่ชัดเจนและกำหนดเวลาที่จะประกาศได้ ยังต้องรอการประชุมชุดเล็กของกรมการค้าภายใน ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กเตรียมแผนรับมือผลไมไทยที่กำลังจะออกสู่ตลาด เช่นทุเรียน มังคุด ซึ่งตลาดใหญ่ยังเป็นจีน ขณะที่จีนยังคงมาตรการ ซีโร่ โควิด ทำให้การส่งออกยังเข้มงวด


ปัญหาจากวิกฤติโควิด และราคาพลังงานที่สูงขึ้นจนกระทบต่อการขนส่ง บวกกับวิกฤติขัดแย้งของรัสเซียยูเครน ทำให้ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจระหว่งประเทศและการพัฒนา ของทีดีอาร์ไอ มองว่าจะกระทบทั้งการผลิตอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศ โดยเฉพาะรายเล็กที่จะหายไปจากระบบ และอาจเอื้อให้รายใหญ่ผูกขาด ขณะที่การนำเขา หรือส่งออก ก้มีต้นทุนที่สูงขึน


ปรากฎการณ์สินค้านำเข้าที่ราคาสูงขึนเหนได้ชัดจากราคาเหล็ก ,ปุ๋ยเคมี หรือเคมีภัณฑ์เกษตร ไปจนถึงวัตถุดิบอาหารสัตว์ ขณะที่ผลิตภัณฑ์ส่งออกของไทย โดยเฉพาะผลไมตามฤดูกาล ต้องเผชิญตนทุนขนส่งที่สูงขึ้นเข่นกัน

คุณอาจสนใจ

Related News