สังคม
ย้อนเส้นทางโรค ASF ในไทย พบหมูตายด้วยโรคระบาดตั้งแต่ 2 ปีก่อน
โดย pattraporn_a
13 ม.ค. 2565
69 views
ย้อนเส้นทางโรคระบาดในสุกรของไทย แม้กรมปศุสัตว์แถลงยืนยันพบ ASF หนึ่งตัวอย่างที่นครปฐม เมื่ 2 วันก่อน แต่กลับพบสุกรตายด้วยโรคระบาดตั้งแต่ 2 ปีก่อนแล้ว ส่วนฟาร์มที่เคยมีโรคระบาด ต้องรอปศุสัตว์ยืนยันจึงจะกลับมาเลียงได้
ย้อนกลับไปเมื่อกันยายน 2563 และอาจจะช่วงก่อนหน้านั้นด้วย เวปไซต์ข่าวเชียงใหม่นิวส์ เผยแพร่ภาพและข่าว กรณีพบสุกรลอยตายมากับแม่น้ำโขง บ้านสบรวก ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ตรงข้ามเขตเศรษฐกิจพิเศษคิงส์โรมันของจีน เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ซึ่งพบอย่างน้อย 7-8ตัวและยังลอยมาเป็นระยะ การตายของสุกรที่ถูกทิ้งลอยมากับน้ำ ทำให้ขุดลาดตระเวน ศปปข.แจ้งให้ปศุสัตว์เชียงแสนทราบ
จริงอยู่การพบซากสุกรช่วงนั้นไม่มีประกาศว่าเป็นโรค ASF และผลการตรวจฟาร์มสุกรส่วนใหญ่ที่ตาย ก็ระบะว่าเป็นโรคเพิร์ส หรือ PRRS แต่บริบทรอบข้างช่วงนั้น โดยเฉพาะจีน ที่พบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟฟริกามาตั้งแต่ปี 2561 ก่อนพบมากขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านของไทย
กระทั่ง วันที่ 9 เมษายน 2562 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกรของประเทศไทยเป็น “วาระแห่งชาติ” และอนุมัติะงบประมาณการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคเร่งด่วน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 53,604,900 บาท
แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ได้ประกาศว่ามีโรคระบาด จนกระทั่งปีที่สุกร เริ่มตายมาขึ้นในปี 2564 นำมาสู่วิกฤติเนื้อสุกรราคาแพง และหนึ่งในต้นตอคือสุกรขาดตลาดเพราะตายจากโรคระบาด
ตอนนี้ฟาร์มสุกรโดยเฉพาะที่เลี้ยงแบบครัวเรือน และเผชิญโรคระบาดไปแล้วต้องหยุดเลี้ยงไปโดยปริยาย จนกว่าจะมีความชัดเจนเรื่องการควบคุมโรคระบาด ที่สำคัญคือฟาร์มแบบระบบเปิดยังมีความเสี่ยงต่อการระบาดได้อีกตลอดเวลา
ฟาร์มของนางประกาย ชัยหงส์ เป็นหนึ่งในฟาร์มที่ต้องแจ้งทำลายสุกรทั้งหมดหลังติดเชื้อโรคระบาด เจ้าหน้าที่ได้คำณวนเงินชดเชย ซึ่งจะได้ร้อยละ 75 ตามราคาจริงของสุกรตามระเบียบกรมปศุสัตว์โดยไม่เสียค่าดำเนินการใดๆ ต่อเจ้าหน้าที่ แต่เกษตรกร ยอมรับว่า หากจะเลี้ยงต่อ ต้องลงทุนปรับปรุงฟาร์มขึน้ใหม่
กรณีของนางนิตยา นาดี ก็เช่นกันเมื่อประเมินราคาสุกรก่อนทำลายแล้ว จะได้เงินร้อยละ 75 ตามระเบียบโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆในการทำลาย แต่การจะเลี้ยงใหมในระบบฟาร์มเดิม ยังเสี่ยงอยู่มาก
วิกฤติโรคระบาดในสุกร จะเป็นหนึ่งปัจจัยบังคับโดยธรรมชาติ ให้การเลี้ยงสุกรเดินหน้าเข้าสู่ระบบปิด ที่มีโรงเรือน และระบบควบคุมมิดชิด ซึ่งผู้เลี้ยงรายใหญ่เดินหน้าไปก่อนแล้ว และต่อให้เสียหายจากโรค ก็ยังน้อยกว่าและมีทุนมากกว่าหากเทียบกับรายย่อย ที่สูญเสียทังฟาร์มและใช้เวลานานกว่าจะฟืนตัวกลับมาเลี้ยงได