สังคม

นักวิชาการแนะรัฐ บูรณาการรับมือ "วิกฤตผู้ลี้ภัย" คาดยืดเยื้อถึงฤดูร้อนปีหน้า

โดย pattraporn_a

26 ธ.ค. 2564

21 views

จังหวัดตากปรับแผนรองรับผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมากว่า 4,700 คน ขณะที่นักวิชาการแนะรัฐ บูรณาการรับมือวิกฤตผู้ลี้ภัยที่คาดว่าจะยืดเยื้อถึงฤดูร้อนปีหน้า


หลังจากเมื่อวานนี้ (25 ธ.ค.) มีอาวุธหนักจากการสู้รบในเมียนมา ตกมายังฝั่งไทย ทำให้วันนี้ยังไม่มีปฏิบัติการทางอากาศ ซึ่งทางการไทย มีการวางกำลังดูแลความปลอดภัยไม่ให้กระทบกับประชาชนไทย ขณะที่ผู้หนีภัย ยังอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราวของไทย กว่า 4,700 คน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้ปรับแผนดูแล ย้ายผู้ลี้ภัยมาอยู่ริมชายแดน และยังไม่เปิดให้เอกชนเข้าไปภายในเพราะต้องป้องกันโรคโควิด-19 ในขณะที่นักวิชาการ เสนอรัฐบูรณาการช่วยเหลือ รับมือวิกฤตผู้ลี้ภัยที่อาจยืดเยื้อถึงฤดูร้อนปีหน้า


คอกวัวมหาวัยเมยโค้ง ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว แห่งใหม่ หลังจากทางการไทย เนื่องจากด้านหลังมีภูเขาที่เป็นกำแพงป้องกันอาวุธหนักได้ จึงเป็นพื้นทีปลอดภัย จึงอพยพผู้หนีภัยการสู้รบชาวเมียนมา จากโรงเรียนบ้านแม่ตาวกลาง มาไว้ที่นี่ซึ่งเป็นพื้นที่เอกชน ที่อยู่ติดชายแดน จำนวนกว่า 3,000 คน เนื่องจากที่โรงเรียนบ้านแม่ตาวกลาง ต้องเตรียมการในการเปิดเรียน โดยที่นี่อยู่ห่างจากชุมชน และมีการตั้งด่านความจากทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง สนธิกำลังดูแลปลอดภัยป้องกันโรคโควิด-19 ด้วย




แม้จะเป็นพื้นที่ปิด แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ยืนยันว่าไทยยังให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับผู้หนีภัย ทั้งเรื่องอาหาร ที่ได้รับบริจาคจากประชาชน ภาคเอกชน รวมถึงสภากาชาดไทย มีการจัดอาสาทำกับข้าว 20 คน เครื่องปั่นไฟ 2 เครื่อง และทำห้องส้วมแบบขุดหลุม 20 ห้อง และการแพทย์ โดยโรงพยาบาลแม่สอด เข้ามาดูแล เพราะยังห่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิดเป็นสำคัญ จึงยังไม่อนุญาตให้เอกชนหรือองค์กรต่างๆเข้าไป หากต้องการบริจากคสิ่งของให้มอบได้ที่หน้ากองอำนวยการร่วมหน้าคอกวัวมหาวัยเมยโค้าง และที่ว่าการอำเภอแม่สอดหรืออำเภอพบพระ


เหตุสู้รบครั้งใหญ่ในรัฐกะเหรี่ยง พื้นที่กองพล 6 KNLA สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU กับกองทัพเมียนมา เป็นที่จับตาของทั่วโลก จากผู้ลี้ภัยกว่า 5 พันคนในประเทศไทย และอีกหลายพันคนในเขตรัฐกะเหรี่ยง ทำให้นักวิชาการด้านชาติพันธุ์เป็นห่วงวิกฤตผู้ลี้ภัยที่จะเกิดขึ้นจากท่าทีรัฐบาลเมียนมา ที่ต้องการกวาดล้างกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหาร โดยเฉพาะกลุ่ม CDM ที่ลี้ภัยทางการเมือง และกองกำลัง PDF ที่ฝึกการใช้อาวุธโดย KNU ซึ่งมีคนกลุ่มนี้กระจายอยู่ตามชายแดนไม่ต่ำกว่า 7 พันคน รวมถึงผู้ลี้ภัยในค่ายผู้อพยพของไทยเกือบแสนคนที่อยู่มา 40 ปี ทำให้ไทยต้องรับมือวิกฤตผู้ลี้ภัย จึงต้องทบทวนนโยบายทำงานบูรณาการกับสังคมท้องถิ่น ผ่านการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับผู้ลี้ภัย ที่คาดว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อถึงฤดูร้อนปีหน้า




สถานการณ์ที่เริ่มยืดเยื้อมาเกือบ 2 สัปดาห์ทำให้หลายฝ่ายเป็นห่วงระบบการจัดการผู้ลี้ภัยของไทย ที่ยังไม่ได้เปิดทางให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาช่วยดำเนินการ หลังประเมินสถานการณ์จะวิกฤตถึงปีหน้า ขณะที่ผู้อพยพก็ยังคาดเดาสถานการณ์ไม่ได้ มีจำนวนไม่น้อยที่หลบหนีอยู่ในป่าฝั่งเมียนมา และริมชายแดนไทย แต่จะมาชั่วคราว เพราะกลางวันต้องกลับไปดูสัตว์เลี้ยและบ้านฝั่งตรงข้าม แต่สำหรับหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงชั้น ต้องทิ้งหมู่บ้าน มาอยู่ฝั่งไทยเพื่อความปลอดภัย


ขณะที่ศูนย์สั่งการชายแดนไทยเมียนมา สรุปยังไม่มีสถานการณ์การสู้รบและการใช้อากาศยานในวันนี้ หลังมีเหตุอาวุธหนักมาตกฝั่งไทย ได้แจ้งเตือนไปยังรัฐบาลเมียนมาแล้ว และกองกำลังนเรศวรจัดกำลังทหารลาดตระเวนดูแลความปลอดภัยให้คนไทย ในขณะที่ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จัดยานเกราะล้อยาง มาสนับสนุนด้วย ส่วนผู้หนีภัยชาวเมียนมาได้จัดอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว 5 แห่ง มากสุดที่คอกวัวเมยโค้ง 3,625 คน ที่บ้านหมื่นฤาชัย คงเหลือ 148 คน และที่บ้านแม่กุหลวง เหลืออีก 1,015 คน รวมกว่า 4,700 คน 

คุณอาจสนใจ

Related News