สังคม

คนบันเทิงทวงถามสิทธิ หลังถูก ตร.เรียกสอบโพสต์ call out ยันเดินหน้าแสดงจุดยืน

โดย pattraporn_a

22 ก.ค. 2564

255 views

กระแสการคอลเอ้าท์เรียกร้องและวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในปัจจุบันเริ่มมีมากขึ้นจากกลุ่มของคนบันเทิง ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ออกมาเตือนว่าการกระทำดังกล่าว อาจเข้าข่ายความผิดตาม พรบ.คอมพิมเตอร์และหมิ่นประมาท ล่าสุด อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยืนยันว่าเป็นการกระทำที่ทำได้ตามหลักรัฐธรรมนูญมาตรา 26 การแสดงสิทธิและเสรีภาพทางความเห็น


โดย นางสาวดนุภา คณาธีรกุล หรือ มิลลิ แรพเปอร์สาว วัย 18 ปี พร้อมทนายความเข้ารับทราบข้อหาตามหมายเรียก ที่ สน.นางเลิ้ง ในข้อหาดูหมิ่นโดยการโฆษณา กรณี Call out ผ่านทวิตเตอร์ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของรัฐบาล ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา จากการประกาศยกระดับมาตรการของรัฐบาล ในช่วงเวลาตี 1


ซึ่งปรากฎการณ์นี้ทำให้ เกิดแฮชแทคเซฟมิลลิ ติดเทรนด์ 1 ใน 5 ที่มีคนทวิตมากกว่า 2 แสนครั้ง บนโลกทวิตเตอร์ และสูงถึงเกือบ 7 แสนครั้งในขณะนี้


ทนายความ บอกว่า มิลลิ รับสารภาพว่าโพสต์ทวีตเตอร์จริง โดยยืนยันว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ก่อนจะเสียค่าปรับ 2,000 บาท


นอกจากนี้ยังมีคนในวงการบันเทิงอีกอย่างน้อย 12 คนที่ถูกฟ้องข้อหาดังกล่าว ท่ามกลางความสงสัยว่า การวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่อยู่คู่สังคมไทยมานานกว่า 89 ปี ทำได้จริงหรือไม่


หลังนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ออกมาเตือนกลุ่มคนบันเทิงและ Influencer ต่างๆ ที่ออกมา Call Out ว่าอาจจะมีความผิดข้อหาให้ข้อมูลเท็จ หรือ Fake News


ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความระบุว่าการดำเนินคดีกับผู้ออกมาวิจารณ์รัฐบาลนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามที่รัฐธรรมนูญรับรองและคุ้มครอง ว่าแต่ละบุคคลมีความคิดเห็นอย่างไรกับการทำงานของรัฐบาล ตราบใดที่ไม่มีการด่าทออย่างไร้เหตุผล และ รัฐบาลถือเป็นองค์การรัฐ


ประชาชนทุกคนจึงมีสิทธิตามอำนาจอธิปไตย ในรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 26 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่ารัฐห้ามจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มากจนเกินเหตุ รัฐจึงมีหน้าที่รับหังความเห็นจากประชาชน แม้ในสถานกาณ์ที่มีพระราชกำหนดควบคุมอยู่ก็ตาม


อย่างไรก็ตามการวิจารณ์และออกความเห็นที่เหมาะสมจะทำให้เราลดความเสี่ยงที่จะเข้าข่ายหมิ่นประมาท หรือ ความผิดตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ เช่น การไม่วิพากษ์ วิจารณ์ หรือ ดูหมิ่นโดยใช้คำหยาบกล่าวหาบนพื้นฐานส่วนตัว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกสิ่งขึ้นอยู่กับเจตนาอันเป็นใจความสำคัญ


ล่าสุด รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ยอมรับว่ามีโพสต์ของดาราและนักร้อง อีก 25 คนที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อความ ที่อาจเข้าข่ายความผิด 2 ข้อหา คือ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พรบ.คอมพิวเตอร์


แต่จากปรากฎการในวันนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงกระแสเรื่องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก หลังเกิดการคอลเอ้าท์ของกลุ่มดารานักแสดงออกมามากขึ้น รวมทั้งภาคสังคมที่มีการเคลื่อนไหวมาโดยตลอด

คุณอาจสนใจ

Related News