สังคม

สั่งยกระดับ 5 อุทยานฯ ป้องกัน "ลัมปีสกิน" ระบาดในสัตว์ป่า

โดย pattraporn_a

15 ก.ค. 2564

29 views

กรมปศุสัตว์ และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ยกระดับความเข้มงวดในการเฝ้าระวังการระบาดของโรคลัมปีสกิน ในสัตว์ป่า หลังพบกระทิง 1 ตัว ที่คาดว่าตายจากการต่อสู้กันเอง มีเชื้อโรคลัมปีสกินด้วย ล่าสุด กรมปศุสัตว์อนุมัติวัคซีน 2 พันโด้ส ส่งไปให้ปศุสัตว์ประจวบคีรีขันธ์ เร่งฉีดโค-กระบือ กว่า 2 พันตัว ที่อยู่ใกล้แนวเขตอุทยานฯ


เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดและไล่แมลง บริเวณที่กระทิงมักออกมาหาอาหาร เพื่อป้องกันการระบาดของโรคลัมปีสกิน หลังจากมีกระทิง 1ตัว ของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีที่ตายเมื่อวันที่ 15 เดือนที่แล้ว ได้รับการยืนยันว่ามีโรคลัมปีสกิน ส่วนอีก 1ตัวที่ตายเมื่อวันที่ 13 ที่ผ่านมา อยู่ระหว่างรอผลพิสูจน์


สัตวแพทย์ประจำกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งลงพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และมีกระทิงอยู่ที่นั่นเช่นกันระบุว่า กระทิงตัวที่ตาย มีสาเหตุมาจากการต่อสู้และขวิดกันด้วยเขา ไม่ได้ตายจากลัมปีสกิน แต่โรคลัมปีสกินอาจโน้มน้าวให้สัตว์ที่บาดเจ็บจากการต่อสู้กันอ่อนแอลง ขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องเร่งสำรวจว่ามีการระบาดในฝูงมากน้อยเพียงใด โดยชุดลาดตระเวนของอุทยานฯ ต้องบันทึกข้อมูลเหล่าด้วย


ตอนนี้สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ประสานกับปศุสัตว์จังหวัดและอุทยานแก่งกระจาน จัดทีมติดตามสอบสวนโรค เพื่อป้องกันการระบาดเป็นวงกว้าง


ขณะที่อธิบดีกรมอุทยานฯ สั่งให้พื้นที่ 5 แห่ง ยกระดับเฝ้าระวังเข้มงวด คืออุทยานแห่งชาติกุยบุรี, อุทยานแห่งชาติแก่งกระจา, /อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ –เขาแผงม้า, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดยวิธีตั้งจุดสกัด และลาดตระเวนกันสัตว์ป่าออกมานอกเขต หรือไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้าไปใกล้แนวเขตป่า


อธิบดีกรมปศุสัตว์ ระบุว่า ส่งวัคซีนกว่า 2 พันโด้สให้ปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เร่งฉีดให้โค-กระบือ ของเกษตรกรที่อยู่ใกล้อุทยานกุยบุรีแล้ว พร้อมเพิ่มระดับการคุมเข้มการระบาด


มาตรการเร่งด่วนที่ถูกกำหนดระหว่างนี้คือ ห้ามเคลื่อนย้ายโค กระบือ รัศมี 50 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค,และทุกจังหวัดที่ประกาศเขตโรคระบาดลัมปีสกิน , ประสานท้องถิ่น กำจัดแมลงพาหะนำโรคใน โค-กระบือ , เร่งฉีดวัคซีนป้องกันลัมปีสกิน ในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบอุทยานกุยบุรี , แจ้งเกษตรกรเฝ้าระวังสังเกตสัตว์ป่วย , แจ้งอุทยานฯ ป้องกันไม่ให้สัตว์ป่าออกมาใกล้แนวเขต และป้องกันสัตว์เลี้ยงไม่ให้เข้าไปหากินใกล้แนวเขตป่า และอุทยานฯ ฉีดพ่นยากำจัดแมลงพาหนะ จะกลายเป็นพาหะนำโรคได้

คุณอาจสนใจ

Related News