สังคม

เปิดข้อเท็จจริงชัดๆ หลังฉีดซิโนแวค เข็ม 1 และ 2 ระดับภูมิคุ้มกันต่าง แต่ยังเสี่ยงติดโควิดทั้งคู่

โดย panwilai_c

10 ก.ค. 2564

51 views

ประเทศไทย มีแผนนำเข้าวัคซีนซิโนแวคอีกล็อตใหญ่ในปีหน้า ท่ามกลางคำถามและข้อสงสัยของหลายคนว่า วัคซีนซิโนแวค มีประสิทธิภาพอย่างไรเมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่น ซึ่งก่อนหน้านี้แม้จะมีการอ้างอิงผลการวิจัยในประสิทธิภาพก่อนสั่งซื้อและนำเข้า แต่ปรากฎว่าภายหลังพบหลายคนที่ได้รับวัคซีนแล้วติดเชื้อรวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์


ทีมข่าว 3 มิติ พยายามหาคำอธิบายที่จะทำให้เห็นภาพได้ชัดขึ้น ถึงประสิทธิภาพหรือภูมิคุ้มกันหลังการฉีดวัคซีนซิโนแวค โดยไม่ได้เปรียบเทียบหรือนำไปอ้างอิงใดๆ และยืนยันว่านี่เป็นผลตรวจเฉพาะตัวบุคคลเท่านั้น เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มและอีกตัวอย่างฉีดเข็มแรกผ่านไปเกือบ 1 เดือน ผลจะต่างกันอย่างไร


ปัจจุบันนอกจากโรงพยาบาลของรัฐแล้ว ยังมีโรงพยายามของเอกชนหลายแห่งที่มีเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน สำหรับการตรวจหาภูมิหลังการฉีดวัคซีน


หนึ่งในนั้นคือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และมีเครื่องมือที่เป็นที่ยอมรับ ไม่ด้อยกว่า แบบอีลิซ่า นี่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ทีมข่าว 3 มิติ ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็มแล้ว เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม และผ่านมา 33 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทางการแพทย์ ระบุว่า ภูมิในร่างกายมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะต่อต้านโควิด-19 ได้000000000ผลตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น ปรากฏค่าอยู่ที่ 1249.1 โดยค่าที่ได้นี้ ต่างกันไปตามเทคโนโลยีของสถานที่ตรวจนั้นๆ แต่ผลดังกล่าว ยังไม่ถูกแปลเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อการคุ้มกันในร่างกาย แพทย์ที่จึงแนะนำให้นำผลไปตรวจให้ละเอียดขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลา 3-4 วัน


ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมาปรากฎว่า ระดับภูมิคุ้มกัน 1249.1 สามารถยับยั้งไวรัสได้ 76.11% จากมาตรฐานที่กำหนดไว้ 20%


รศ.ดร.นพ.กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาและวิจัยกระบวนการติดเชื้อโควิด 19 มาตั้งแต่ช่วงการระบาดในปี 2563 อธิบายว่า ที่ผ่านมาได้เก็บข้อมูลระดับภูมิคุ้มกันของวัคซีนต่างๆ เพื่อจัดทำงานวิจัย


ซึ่งพบว่าผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 โดส ส่วนใหญ่จะมีระดับภูมิคุ้มกันขึ้นตั้งแต่ระดับต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้ 50 ไปจนถึง 3,000 และพบระดับภูมิยับยั้งการติดเชื้อสูงสุดเกือบ 99%


อย่างไรก็ตามผลที่ได้ไม่ได้แสดงถึงประสิทธิผลของการป้องกันการติดเชื้อ แม้เราจะมีภูมิคุ้มกันหรือไม่ ก็มีโอกาสเสี่ยงที่เราจะติดเชื้อโควิด-19 และ แพร่เชื้อต่อไปได้


ขณะที่ปัจจุบันมีไวรัสหลายสายพันธุ์ระบาดในประเทศ ทั้งสายพันธุ์อังกฤษอัลฟ่า และ สายพันธุ์อินเดียเดลต้า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุว่า ในอดีตเคยคาดการณ์ระดับภูมิยับยั้งการติดเชื้อไว้ที่ 68% แต่เมื่อเจอกับสายพันธุ์เดลต้า ก็ต้องกลับมาพิจารณาถึงชนิดของวัคซีนที่ได้รับอีกครั้ง


ทั้งนี้ระดับสูงที่สุดคือ 99% แต่ถ้าเป็นวัคซีนต่างชนิดกันจะให้ผลกับเดลต้าได้ไม่ดี ดังนั้น 76.11% ของเรายังมีโอกาสติดเชื้อได้สูง


ขณะเดียวกันก็มีคำถามด้วยว่า ขณะที่ผู้ฉีควัคซีนซิโนแวคเพียง1 เข็ม ภูมิคุ้มกันจะค่อยๆเพิ่มขึ้น สามารถลดอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิดระหว่างรอฉีดเข็มที่ 2 ได้หรือไม่ เพื่อดูว่าหากฉีดวัคซีนซิโนแวค 1 เข็ม จะมีภูมิคุ้มกันอย่างไร


นายจตุรงค์ สุขเอียด ทีมข่าวของเราจึงอาสา เข้ารับการตรวจ หลังฉีดซิโนแวคผ่านไปครบ 28 วันเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา หรือก่อนรับเข็ม 2 เพียง 2 วันเท่านั้น ค่าที่ออกมามา 12.9 ซึ่งยังไม่ได้คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์


แพทย์อธิบายเบื้องต้นว่า ค่าที่ได้ อาจไม่แตกต่างจากคนที่ยังไม่ฉีดมากนัก ทำให้ต้องกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งหลังฉีดเข็มที่ 2 ผ่านไปครบ 1 เดือนแล้ว

คุณอาจสนใจ

Related News