สังคม

รมช.เกษตรฯ เผยวัคซีนป้องกัน 'ลัมปีสกิน' 6 หมื่นโดสแรกถึงไทย 28 พ.ค.นี้ โดยกระจายให้พื้นที่เสี่ยงก่อน

โดย panwilai_c

25 พ.ค. 2564

196 views

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน จะถึงไทยในวันศุกร์นี้ และคาดว่าจะกระจายไปยังพื้นที่เสี่ยงให้ครบทั้ง 6 หมื่นโดสได้เร็วสุดในสัปดาห์หน้า ขณะเดียวกัน ระหว่างนี้ได้กำชับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ลงตรวจและรักษาให้ฟรี โดยระบุว่าเป็นโรคที่รักษาหายได้ เนื้อวัวทานได้ และโรคไม่ระบาดสู่คน


คิก ออฟ การรณรงค์เพื่อป้องกันและกำจัดโรค ลัมปี สกิน ที่ระบาดในโค-กระบือ เริ่มต้นขึ้นเมื่อเช้านี้ ที่ตำบลพระลับ อำเภอเมือง ขอนแก่น ก่อนจะไปกิจกรรมลักษณะเดียวกันที่สกลนคร เพราะที่นั่นมีโคติดโรคลัมปี สกิน มากที่สุด ถึง 3500 ตัว ขณะที่ตัวเลขการติดเชื้อใน35 จังหวัด มีสัตว์ป่วย จำนวน 7,200 ตัว ตายแล้ว 53 ตัว


ซึ่งการรณรงค์ในเช้าวันนี้ เพื่อปล่อยขบวนสัตวแพทย์ไปตรวจรักษาโค-กระบือให้เกษตรกร ปล่อยขบวนพ่นยาทำลายเชื้อโรคและแมลงที่เป็นพาหะ และแจกยาเพื่อรักษาตามอาการของโค-กระบือ และสร้างความเข้าใจว่าโรคระบาดเฉพาะในโค-กระบือเท่านั้น รักษาหายขาดได้ และเนื้อวัวทานได้ และโรคนี้ไม่ติดจากสัตว์ไปสู่คน


ขณะที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ย้ำว่าวัคซีน6 หมื่นโดสที่สั่งซื้อจากแอฟริกา จะถึงไทยวันศุกร์นี้ เมื่อผ่านขั้นตอนและการพิจารณาจากคณะกรมการฯแล้ว คาดว่าจะกระจายไปถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือได้ไม่เกิน 2 สัปดาห์จากนี้


อย่างไรก็ตาม วัคซีนจะมีประสิทธิภาพป้องกันโค-กระบือ ที่ยังไม่ติดเชื้อ เพราะหากติดเชื้อแล้ว จะไม่เกิดประสิทธิภาพ และหากรักษาหายขาดแล้ว โค-กระบือตัวนั้นก็จะมีภูมิต้านทาน และไม่แพร่เชื้ออีก แต่ถึงอย่างนั้น วัคซีนที่จะนำเข้า 6 หมื่นโดส ทำให้ต้องมีการจัดสรรตามความรุนแรงของการระบาด


ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ระบุอธิบายว่า ระหว่างที่โรคนี้ไม่ยารักษาหายขาดโดยตรง จึงแนะนำแต่มีวิธีรักษาตามอาการ 4 ระยะคือ

ระยะที่ 1 สัตว์ป่วยแสดงอาการมีไข้ ให้ใช้ยาลดไข้

ระยะที่ 2 เริ่มแสดงอาการตุ่มบนผิวหนัง ให้ยาลดการอักเสบ

ระยะที่ 3 ตุ่มบนผิวหนังมีการแตก หลุดลอก ให้ยารักษาแผลที่ผิวหนังร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน 

ระยะที่ 4 แผลที่ผิวหนังตกสะเก็ด ใช้ยารักษาแผลภายนอกจนกว่าจะหายดี


การระบาดของโรคอุบัติใหม่ ลัมปีสกิน เริ่มปรากฎครั้งแรกในประเทศไทย ที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนจะขยายวงกว้างไปอีกหลายพื้นที่โดยมีแมลงวัน ยุง เห็บ หมัด เหลือบ ริ้นเป็นพาหะนำโรค และโดยปกติแมลงเหล่นี้จะเป็นพานะแพร่เชื้อไปไกลได้50 กิโลเมตร และเมื่อโค-กระบือติดโรคแล้วก็จะเริ่มแสดงอาการให้เห็น


ซึ่งสกลนคร เป็นพื้นที่ซึ่งมีโคติดเชื้อมากที่สุดกว่า 3,500 ตัว ขณะที่ทั้งประเทศมีโค-กระบือติดเชื้อรวม 7,200 ตัว ตาย 53 ตัว ในพื้นที่ 35 จังหวัด


ขณะที่หนึ่งมาตรการที่ถูกระบุถึงวันนี้คือนอกจาก ออกประกาศระงับการเคลื่อนย้ายโค-กระบือ อย่างน้อย 2 เดือนนับจากนี้แล้ว ยังจะของบกลางเพื่อจัดซื้อน้ำยา ยากำจัดวัชพื เครื่องพ่นยา และมุ้งตาถี่ เป็นต้น ซี่งรัฐมนตรี่ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระบุว่า จะเป็นการทั้งป้องกันและเยียวยาเกษตรกรที่เสียหายจากการระบาดของโรคนี้ดวย

คุณอาจสนใจ