สธ.แถลง พบหญิงไทยรายแรก ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในประเทศ

สังคม

สธ.แถลง พบหญิงไทยรายแรก ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในประเทศ

โดย panisa_p

20 ธ.ค. 2564

77 views

กระทรวงสาธารณสุข ยืนยัน พบหญิงไทยติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนรายแรกในประเทศ เป็นการติดเชื้อนำเข้าขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขเตรียม เสนอพิจารณาชะลอการเดินทางเข้าประเทศในระบบ Test and go ทุกประเทศ  หลังช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบกันแพร่ระบาดโอมิครอน เพิ่ม 2 เท่า


ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา กระทรวงสาธารณสุข นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุขณะนี่ไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนรายแรก ในประเทศเป็นหญิงคนไทยที่ติดเชื้อโควิด สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเป็นการสัมผัสกับสามีชาวโคลัมเบีย อาชีพนักบิน


โดยประวัติการสอบสวนโรค สามีซึ่งเป็นนักบินได้เดินทางถึงไทยวันที่ 26 พ.ย. และได้รับการตรวจเชื้อครั้งแรกถึงไทย ผลเป็นลบ จากนั้นเข้าพักในโรงแรมแห่งหนึ่ง โดยเข้ามาในระบบsand box และเข้าพักในโรงแรมแห่งหนึ่ง ผลตรวจเป็นลบ

29 พ.ย. ไปตรวจหาเชื้อที่โรงพยาบาล

30 พ.ย. อยู่ในโรงแรมตลอด

1 ธ.ค. สามีไปฉีดวัคซีน หลังฉีดมีไข้ ตัวร้อน

2 ธ.ค. สามีตรวจ ATK ที่โรงแรมผลเป็นลบ แต่ยังมีไข้จึงไปโรงพยาบาล ผลตรวจเป็นลบ เอ็กซเรย์ปอดปกติ

3 ธ.ค. ออกจากโรงแรมที่กักตัว รถโรงแรมมาส่งห้าง และกลับบ้านแถวลำลูกกา

4 - 6 ธ.ค. อยู่บ้าน มีไข้ เจ็บคอ ภรรยาดูแลคนเดียว

6 ธ.ค. ตรวจ ATK ผลเป็นลบ

7.ธ.ค. อาการไม่ดีขึ้น เหนื่อย ภรรยาพาไปโรงพยาบาล ผลตรวจเป็นบวก แพทย์สงสัยเป็นโอมิครอน ส่งตรวจสายพันธุ์ และรับตัวเจารักษา ส่วนภรรยากกักตัวที่บ้าน

10 ธ.ค. ภรรยารับการตรวจที่โรงพยาบาล ผลตรวจติดเชื้อ ผลตรวจสายพันธุ์ยืนยันโอมิครอน

12 - 19 ธ.ค. ภรรยาเข้ารับการรักษาโรงพยาบาล ผลตรวจสายพันธุ์ยืนยันเป็นเชื้อโอมิครอน จึงนับเป็นคนแรกรายแรกที่ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในประเทศ แต่ยังเป็นการคืดเชื้อจากผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ


ส่วนรายละเอียดกลุ่มผู้เดินทางกลับมาจากการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาประเทศซาอุดิอาระเบียจำนวน 133 ราย มีประวัติรายละเอียดคณะเดินทางถึงไทยเมื่อวันที่ 13 - 14 ธันวาคมและเข้าพักโรงแรมที่จังหวัดภูเก็ตในรูปแบบ Test and go จำนวน 133 ราย ทำการตวจคัดกรองพบติดเชื้อ โควิด-19 จำนวน 3 ราย อยู่ในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวา โดย 3 ราย พบติดเชื้อ คือ สายพันธุ์ โอมิครอน  1 ราย และอีก 2 ราย เป็นสายพันธุ์เดลต้า ทั้งหมดได้รับวัคซีนโควิด-19  แล้ว


ทั้งนี้ข้อมูลผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรทางอากาศ ในพฤศจิกายน มีผู้ติดเชื้อจากการเดินทางเข้าประเทศทางอากาศ  171 ราย แบ่งเป็น ในระบบTest & go 83  ราย  Sandbox 44 ราย เข้าสถานกักกัน 44 ราย ได้ ในช่วงเดือนธันวาคม มีผู้ติดเชื้อ 348 ราย แบ่งเป็น ระบบ Test & go 204 ราย   Sandbox  49 ราย  สถานกักกัน 95 ราย จะเห็นได้ว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในเดือนธันวาคม


ทั้งนี้ในกลุ่มผู้เดินทางมาจากประเทศเยอรมนี เข้ามาในประเทศไทยเป็นอันดับ 1 รองลงมาสหราชอาณาจักร  รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สิงคโปร์ ซาอุดิอาระเบีย นอร์เวย์ เกาหลีใต้ พบการติดเชื้อมากที่สุด คือการเดินทางมาจากสหราชอาณาจักร 60 ราย หรือ คิดเป็นร้อยละ 0.5 นายแพทย์ จักรัฐระบุเพิ่มเติมว่าหลังปีใหม่ทางกระทรวงสาธารณสุขจะจัดทำข้อเสนอ ให้ ศปก.ศบค. พิจารณา  ถึง การชะลอ เดินทางเข้าประเทศ ในรูปแบบ Test and go สำหรับผู้เดินทางมาจากทุกประเทศ และพิจารณาปรับใช้มาตรการกักตัวในระบบ 7-10 วันแทน พร้อมย้ำในช่วงปีใหม่ขอให้ทุกสถานที่ยึดแนวทาง covid free setting มาบังคับใช้และการตรวจหาเชื้อด้วย ATK และขอให้ประชาชนชะลอการเดินทางไปต่างประเทศ ไม่มีเหตุจำเป็น  แต่หากจำเป็นต้องเดินทางขอให้ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด


และกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีนขอให้เขารับวัคซีน covid 19 โดยด่วนรวมทั้งการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ตามเกณฑ์ระยะเวลาที่ต้องเข้ารับนอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้บริการประชาชนรับการตรวจหาเชื้อ covid 19 ด้วยชุดตรวจแอนติเจนเทสคิด  รวมทั้งให้บริการฉีดวัคซีน covid19 ที่โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศและเพิ่มจุดให้บริการบริเวณสถานีขนส่งในจังหวัดที่มีผู้เดินทางจำนวนมากด้วย


ขณะที่นายแพทย์ศุภกิจ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ระบุว่า ไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน แล้ว 63 คน โดยพบมากสุดที่เขตสุขภาพที่ 13 จำนวน 42 คน  รองลงมาเขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 9 คน  เขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 4 คน  เขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 4 คน เขตสุขภาพที่ 4 จำนวน 3 คน และเขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 1 คน โดยทั้งหมดเป็นผู้ติดเชื้อที่มีความเชื่อมโยงกับต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ติดเขื้อเข่าข่ายสายพันธุ์โอมิครอนอีก 20 รายที่ยังรอผลตรวจสายพันธุ์ยืนยันอีกครั้ง


นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติม จากข้อมูลการแพร่ระบาดของโอมิครอนนั่นหากผู้ติดเขื้อ 1คน สามารถแพร่เชื้อให้ผู้สัมพัสได้ 8.54 คน ในกรณีที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยรับวัคซีน ซึ่งอัตราการแพร่สูงกว่า สายพันอื่นๆที่เคยระบาดมาก่อนหน้า นอกจากนั่น ทาง WHO ได้สำรวจ ยืนยันแน่จัดว่า โอมิครอนมีผลต่อระดับภูมิคุ้มกันจากการรับวัคซีน ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องรับวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน


แท็กที่เกี่ยวข้อง  โอมิครอน ,โควิด19

คุณอาจสนใจ

Related News