เลือกตั้งและการเมือง

'ก้าวไกล' ไม่ก้าวล่วง 'เสรีรวมไทย' ร่วม 'บิ๊กป้อม' บอกจะได้เห็นว่าควรจับมือกับใคร

โดย weerawit_c

19 ก.พ. 2566

64 views

19 ก.พ.2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่หลายพรรคการเมืองมองไปถึงการเลือกตั้งแล้ว เมื่อวานนี้ (18 ก.พ.) พรรคเสรีรวมไทย ระบุว่า พร้อมจับมือกับพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เพื่อล้มพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรคก้าวไกลมองอย่างไร



นายพิธา ตอบว่า คงไม่ก้าวล่วงแต่ละพรรคการเมือง เพราะอยู่กันคนละพรรค แต่พรรคก้าวไกลพูดชัดเจนว่าไม่จับมือกับทหารจำแลง ทั้งพลเอกประยุทธ์และพลเอกประวิตร อย่างไรก็ตามเป็นจุดยืนของแต่ละพรรค สิ่งที่ดีสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ก็คืออย่างน้อยก็เห็นถึงความโปร่งใส



“ก็คือพูดกันออกมาให้ประชาชนรู้ก่อนชัดๆ กลัวพรรคไหนเหมาะสมที่จะจับมือ เราเห็นว่าเราทำงานร่วมกับพรรคไหน เราเห็นได้ว่าไม่ร่วมมือกับพรรคไหน ถ้าเป็นอย่างนี้ตนคิดว่าประชาชนก็น่าชื่นใจ แต่ก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละพรรคการเมืองว่าจะมีจุดยืนอย่างไร” นายพิธากล่าว



ขณะที่นายรังสิมันต์ โรม โฆษกและส.ส.พรรคก้าวไกล แสดงคสามเห็นหลังจากฝอภิปรายทั่วไปเรื่อง "ส.ว.ทรงเอ" เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ผ่านไปเพียง 2 วัน สิ่งที่ผมคาดหมายว่าจะตามมาก็มาอย่างเร็วไว ส.ว.อุปกิต ปาจรียางกูร ได้ฟ้องร้องผมในคดีอาญาฐานดูหมิ่นและหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวน 100 ล้านบาท



โดยระบุว่าการถูกฟ้องหลังการอภิปรายใหญ่ๆ แบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผมแล้ว เมื่อ 3 ปีก่อนตอนผมอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เรื่องมูลนิธิป่ารอยต่อฯ ตนก็ถูกมูลนิธิฯ ฟ้อง หรือ 1 ปีครึ่งก่อนตอนตนอภิปรายคุณชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ (รัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลฯ) เรื่องสัมปทานดาวเทียมไทยคม ตนก็ถูกบริษัทกัลฟ์ฯ ฟ้อง



โดยแต่ละครั้งข้อหาก็จะอยู่กับเรื่องการดูหมิ่น-หมิ่นประมาทต่างๆ หรือพยายามเรียกค่าเสียหายสูงๆ หวังจะเชือดไก่ให้ลิงดู ไม่ให้ใครกล้ามาวิพากษ์วิจารณ์ตัวเองอีกแม้จะเกี่ยวพันกับเรื่องการใช้อำนาจรัฐหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมก็ตาม และไม่ใช่แค่ตนเท่านั้น เพื่อน ส.ส. คนอื่นของพรรคก้าวไกล เช่นนางสาวเบญจา แสงจันทร์ ก็เคยถูกบริษัทกัลฟ์ฯ ฟ้องจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเรื่องนโยบายพลังงานด้วยเช่นกัน



ตนขอยืนยันอีกครั้งว่าการอภิปรายของตนและพรรคก้าวไกลเป็นการทำหน้าที่เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจ การปฏิบัติหน้าที่ หรือพฤติกรรมอื่นใดของรัฐบาล ว่าเป็นการบริหารงานที่ผิดพลาด เป็นการทุจริตคอร์รัปชัน หรือเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ ซึ่งบ่อยครั้งจำเป็นต้องพาดพิงบุคคลภายนอก นั่นก็เพราะการกระทำเหล่านี้ของรัฐบาลมักดึงเอาบุคคลภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย



แต่ถึงที่สุดแล้วการอภิปรายของพวกเรายังมุ่งเป้าไปที่รัฐบาลเป็นสำคัญ การโต้ตอบโดยใช้วิธีฟ้องร้องคดีกันแบบนี้ แน่นอนว่าย่อมกระทบถึงประสิทธิภาพในการตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาล ไม่ใช่แค่โดยตัวผมแต่รวมถึงผู้แทนราษฎรทุกคน แต่ถึงกระนั้นตนยังยืนยันที่จะต่อสู่คดีหมิ่นประมาทดังกล่าวโดยไม่มีการหลบหนี ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะชนะ เหมือนที่ผมสู้ในทุกๆ คดีที่ผ่านมา



อย่างไรก็ตามในกรณีของ ส.ว.อุปกิตนั้น เห็นว่ามีความต่างจากเอกชนรายอื่นๆ ที่ถูกพาดพิงไปก่อนหน้านี้ เพราะตัวส.ว.อุปกิตเป็นถึงสมาชิกของวุฒิสภา หนึ่งในองค์กรผู้ใช้อำนาจสูงสุดของประเทศ และแม้ก่อนหน้านี้ตอนที่ทุนมินลัตถูกจับใหม่ๆ ส.ว.อุปกิตจะเคยออกมาชี้แจงต่างๆ นานา แต่จากที่ตนได้อภิปรายไปนั้นก็พบว่ามีข้อมูลหลายอย่างที่ขัดแย้งกับข้อกล่าวอ้างที่ส.ว.อุปกิตเคยชี้แจงไว้ ดังนั้นคุณอุปกิตในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กินภาษีประชาชนจึงควรต้องออกมาชี้แจงต่อสังคมเพิ่มเติมด้วย



ส่วนตัวนั้นในช่วงเวลาต่อจากนี้จะเร่งดำเนินการต่างๆ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในกรณีของ ส.ว.อุปกิตและกรณีจีนเทาต่อไป โปรดติดตามชม


ชมผ่าน YouTube ได้ที่นี่ : https://youtu.be/x8LGaeGt18E

คุณอาจสนใจ

Related News