เลือกตั้งและการเมือง

'บิ๊กตู่' สั่งการเร่งด่วน แก้ปัญหายาเสพติด-อาวุธปืน - 'หมอโอภาส' ชี้คนเคยเสพ กลับมาเสพยาใหม่กว่า 70%

โดย nattachat_c

13 ต.ค. 2565

16 views

วานนี้ (12 ต.ค. 65) พลเอกประยุทธ์​ จันทร์โอชา​ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าวภายหลังการเป็นประธานการประชุม เพื่อกำหนดมาตรการเร่งด่วน ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและอาวุธปืน​ ว่า​ ในวันนี้มาตรการสำคัญที่เราได้มีการหารือร่วมกันในวันนี้ เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติด


เรื่องอาวุธปืน จะมีการกวดขันการบังคับใช้กฎหมายเครื่องกระสุนอาวุธปืน

  • เรื่องการออกใบอนุญาตและการต่อใบอนุญาต และการพกพา
  • โดยผู้ที่ขออนุญาตจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน มีการตรวจสอบรับรองทาง ไม่วิกลจริตฟั่นเฟือน
  • มีการรับรองจากผู้บังคับบัญชา ชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่ รวมถึงไม่มีพิษภัยต่อสังคม
  • มีมาตรการตรวจสอบทบทวนคุณสมบัติทุกวงรอบและเวลาที่เหมาะ
  • มีการหารือในเรื่องการเพิกถอนใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน เมื่อพบปัญหาทางจิตพฤติการณ์มีพิษภัยต่อสังคม
  • การใช้ยาเสพติด กวาดล้างจับกุมอาวุธเถื่อน การซื้อขายออนไลน์อย่างจริงจัง
  • ทบทวนกฎหมายบางฉบับ กฎกระทรวง บางเรื่องที่จำเป็นให้มีความทันสมัย และสอดคล้องต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน


โดยได้มีการมอบหมายไปแล้วว่าจะดำเนินการอะไรอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องของคณะทำงานที่ต้องเร่งดำเนินเรื่องนี้ออกมาให้ชัดเจนยิ่ง


ส่วนเรื่องการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ได้มีการทำอย่างเต็มที่

  • ควบคุมการนำเข้าและส่งออกสารเคมี
  • การเร่งติดตามขยายผล ทำลายนักค้ายาเสพติดและเร่งอายัดทรัพย์สิน
  • การดำเนินการนำผู้เสพเข้าสู่ระบบข้อมูล
  • ทบทวนกรณีผู้เสพเป็นผู้ป่วย และประเด็นปริมาณครอบครองเพื่อนำไปสู่การฟื้นฟู​
  • วันนี้ก็มีการหารือเรื่องจำนวน 5 เม็ด หากจำเป็นก็ต้องมีการปรับแก้กฎหมายพวกนี้ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีการ
  • ในส่วนของเจ้าหน้าที่ข้าราชการที่เข้าไปมีส่วนข้องเกี่ยวกับยาเสพติด จะต้องมีการลงโทษโดยเด็ดขาดในทุกกรณีทันที


ส่วนการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด

  • จะต้องเร่งค้นหาคัดกรองผู้ป่วยเข้าสู่ระบบ กลุ่มภาคีเครือข่าย จัดตั้งศูนย์คัดกรองให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบล ทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ท้องถิ่น และมีมาตรฐานสากล และกระบวนการบำบัด
  • วันนี้ต้องหาให้ได้ว่าในพื้นที่ ท้องถิ่นในชุมชนในหมู่บ้าน มีผู้ที่ติดยาเสพติดมากน้อยแค่ไหนอย่างไร โดยจะเข้าไปเอกซเรย์คัดคนเหล่านี้ออกมา เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้
  • ซึ่งชุมชนเป็นส่วนสำคัญที่ต้องช่วยกันกับหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่มีพฤติกรรม ชอบความรุนแรง มีปัญหาส่วนตัว ติดยาเสพติด
  • มีการเสนอว่าจะต้องมีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อที่จะติดตามดูแลคนเหล่านี้


ด้านการดูแลและพัฒนาแก้ไขสุขภาพ

  • เน้นย้ำในเรื่องการดูแลสุขภาพจิตในสถานศึกษาโรงเรียนทุกแห่ง สถานประกอบการต่างๆ ที่มีพนักงานจำนวนมาก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาวุธร้ายแรงจะต้องหารือร่วมกัน
  • ในส่วนของการบำบัดฟื้นฟูนั้นจะต้องดำเนินการให้ทัน ทั้งหน่วยงานจิตเวช มีการดำเนินการตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดในทุกอำเภอ
  • มีการตั้งหน่วยงานจิตเวชฉุกเฉินทุกอำเภอ ในการดูแลเบื้องต้นทางจิตแพทย์ทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โดยใช้วิธีการชุมชนบำบัด มีสิทธิประโยชน์อะไรต่างๆในการรักษาจิตเวชทางไกล


ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า มีเรื่องหารือกันหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งความจริงแล้วได้ให้ความเข้มงวดในเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ วันนี้เป็นปัญหาซ้อนปัญหา ไปในเรื่องการใช้อาวุธปืนก่อเหตุรุนแรง และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากผู้ที่ติดยาเสพติด และผู้ที่ไม่ได้ติดยาเสพติด อันนี้เป็นเรื่องที่ตนห่วงใย ในฐานะของรัฐบาล ตนก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด


และในวันนี้ หลายอย่างได้มีการทบทวนและใช้เวลาในการดำเนินการ แต่อะไรที่ทำได้ก็จะทำในทันที เพราะฉะนั้นก็ขอเตือนไว้ด้วยว่าทุกคนต้องช่วยกัน วันนี้ก็มีการแจ้งข่าวในช่องทางพิเศษอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ขอให้แจ้งเข้ามาในช่องทางและจะดำเนินการโดยทันที


ก่อนที่จะยืนยันว่ารัฐบาลให้ความสำคัญ อย่างที่สุดและยิ่งยวด ที่มีการคุยกันถึงเรื่องความต้องการซื้อและความต้องการขาย การแก้ไขปัญหาผู้เสพรายใหม่ การดูแลจัดทำอย่างไรในชุมชน ทั้งหมดเป็นระบบทั้งในเรื่องป้องกันป้องปราม ปราบปราม บำบัดรักษา อย่างครบถ้วน ขอให้สื่อมวลชนช่วยทำความเข้าใจด้วยและก็แล้วกัน รัฐบาลไม่เคยปิดกั้นใคร ในการที่จะรับข้อมูลโดยขอให้แจ้งมาจะได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้


ส่วนจะต้องมีการเร่งรัดการดำเนินการในสถานศึกษาหรือไม่นั้นได้ยกรัฐมนตรีเพียงแต่พยักหน้ารับ และเดินขึ้นตึกไทยคู่ฟ้าในทันที ก่อนที่สื่อมวลชนจะถามย้ำว่าคณะกรรมการชุดนี้แตกต่างจากคณะกรรมการชุดอื่นอย่างไร นายกรัฐมนตรีกล่าวสั้นๆเพียงว่า เดี๋ยวให้เลขาฯเป็นผู้ชี้แจง

-------------

วานนี้ (12 ต.ค. 5) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุถึงกรณีการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด ที่กลับมาเสพยาเสพติด ว่า


ผู้ติดยาเสพติดถือเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และมีโอกาสกลับเป็นซ้ำค่อนข้างสูง โดยในระบบการรักษาของกระทรวงสาธารณสุข และคณะทำงานที่พูดคุยกัน จะมีศูนย์คัดกรองที่จะมีในทุกตำบล โดยจะแบ่งคนไข้ออกเป็น ผู้ป่วยอาการรุนแรงจะต้องรักษาในโรงพยาบาล ของกรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์ศูนย์บำบัดรักษาโดยเฉพาะ ที่จะต้องมีการบำบัดรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยสีแดง


ส่วนผู้ที่ติดแต่อาการไม่มากนัก จะรักษาในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไป เป็นระบบการรักษาผู้ป่วยนอก ส่วนผู้ที่มีอาการน้อยหรือใช้ไม่มากนัก ก็จะรักษาในชุมชน โดยการรักษาจะมีระยะเวลาการรักษาและกระบวนการ แต่ที่สำคัญคือหลังการรักษาตามกระบวนการในระยะแรกแล้ว


อย่างที่ทราบดีว่า ผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยเรื้อรังจะมีโอกาส กลับมาเป็นซ้ำสูงในเชิงวิชาการทั่วโลกผู้ป่วยเหล่านี้พอรักษาไป 1 ปีโอกาสกลับมาเสพใหม่มีสูงกว่า 70% เพราะฉะนั้นระบบการรักษาในชุมชนฟื้นฟูถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะหากผู้ป่วยรักษาแล้ว สภาพแวดล้อมยังเหมือนเดิมเป็นแบบเดิมไม่เปลี่ยนก็จะกลับมาเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นจะต้องมีการดูแลทั้งวงจร เพราะฉะนั้นกระทรวงสาธารณสุขจะดูแลรักษาผู้ป่วยสีแดง พอรักษาหายสุดท้ายก็มีสภาพทางสมองและจิตใจ ก็จะต้องมีการติดตาม


นายแพทย์โอภาส ยังระบุอีกว่า เป็นโอกาสดีที่จะมีเงินในกองทุนฟื้นฟูเข้ามาช่วยด้วย จากเดิมค่าประเมินการรักษาทั้งหมดจ ะใช้งบประมาณสูงถึงหลายพันล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณเพียง 200 ล้านบาท และในปี 2565 ได้เงินเพียง 400 กว่าล้านบาท ซึ่งก็จะพยายามดูแลรักษา ถือเป็นโอกาสดีที่ได้มีเงินเข้ามาปรับปรุงฟื้นฟูระบบการรักษาให้ได้มากขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญคือต้องร่วมมือกัน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก

--------------





รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/HZEp3p0Xr-E

คุณอาจสนใจ

Related News