เลือกตั้งและการเมือง

นักวิชาการวอน 'เพื่อไทย' ฟังเสียงปชช. หวั่นการเมืองลงถนน หากข้ามขั้วอาจเกิดความขัดแย้งรุนแรง

โดย parichat_p

23 ก.ค. 2566

130 views

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดึง 4 นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์ จัดเวทีเสวนา "วิเคราะห์ การโหวตนายกรัฐมนตรีรอบที่ 3 และการจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตย" ชี้ พรรคเพื่อไทยควรยืนข้างประชาชน 27 ล้านเสียง ของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลปัจจุบัน หากข้ามขั้วไปอยู่กับพรรคขั้วรัฐบาลเดิมประชาชนจะไม่ยอม บริหารราชการไม่ราบรื่น อาจเกิดวามขัดแย้งรุนแรง


ในวงเสวนา มีนักวิชาการ ด้านนิติศาสตร์และด้านรัฐศาสตร์ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) / รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว จากคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา / และผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมเวที


โดย ผศ.ดร.ปริญญา กล่าวว่า การลงมติเลือกนายกฯ รอบ 2 ที่ผ่านมา นั้น ไม่ใช่การตีความข้อบังคับการประชุม แต่เป็นตีการตีความรัฐธรรมนูญ ทำให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ /ผลที่เกิดขึ้น นอกจากพรรคอันดับ 1 จะเสนอชื่อนายกฯครั้งที่ 2 ไม่ได้ จะทำให้พรรคเพื่อไทย เสนอแคนดิเดตนายกแต่ละคน ได้เพียงครั้งเดียวด้วย


อ.ปริญญาได้วิเคราะห์ทางเลือกของพรรคเพื่อไทย คือ 1.การจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ 8 พรรคการเมืองที่ทำ MOU ตกลงกันไว้ ซึ่งมีเสียงของประชาชนเลือกมา รวมกันทั้งหมด 27 ล้านเสียง /ขณะที่ฝั่งตรงข้าม คะแนนรวมกันไม่ถึง 10 ล้านเสียง ดังนั้นรัฐบาลที่เกิดขึ้นควรเป็นแนวทางแรก เพราะมาจากประชาชน 27 ล้านเสียง /


สำหรับทางเลือกที่ 2 คือการยอมให้ฝั่งที่ได้ 10 ล้านเสียง มาตั้งเงื่อนไข และพรรคเพื่อไทยยอมรับเงื่อนไข คือการไม่เอาพรรคที่ได้คะแนนอันดับ 1 เนื่องจากมีการเสนอแก้ ม. 112 ดังนั้นจุดนี้เพื่อไทยต้องระวัง เพราะอำนาจการต่อรองของพรคเพื่อไทยจะน้อยลง และต้องรับให้ได้กับความรู้สึกของประชาชน ที่เชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นการเตรียมการมาแล้ว และจะถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ สว. ดังนั้นเพื่อไทยต้องคิดให้รอบครอบ อำนาจต่อรองทางกระทรวงต่างๆ ก็จะถูกขั้วรัฐบาลเดิมต่อรองสูงทั้งหมด


ส่วนทางเลือกพรรคก้าวไกล อ.ปริญญาวิเคราะห์ ในทางเลือกที่ 1 คือการยืนยันการแก้ไข ม.112 และยอมไปเป็นฝ่ายค้าน  ส่วนอีกทางเลือกหนึ่ง ยอมเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ใน ม.112 เช่นการเปลี่ยนจากการแก้ไข ม. 112 มาแก้ไขปัญหาของการบังคับใช้ ที่ไม่เหมาะสมและโทษที่ไม่ได้สัดส่วน


ดังนั้นในเรื่องการตั้งรัฐบาล คนที่ควรเกี่ยวข้องน้อยที่สุดคือ สว.เพราะเป็นเรื่อง สส. / สว.ไม่ควรเข้ามาตั้งเงื่อนไขต่างๆ เพราะไม่มีความชอบธรรม อาจจะเกิดการเมืองบนท้องถนน


ด้าน รศ.ดร.พิชาย จาก นิด้า กล่าวว่า ในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ เกิดปัญหามากมาย เช่น อำนาจของ สว.ต้องการหยุดการพัฒนาประชาธิปไตย ที่ไม่ต้องการให้พรรคอันดับ 1 จัดตั้งรัฐบาล แม้จะมาตามรัฐธรรมนูญ / การกระทำของ สว.ไม่สะท้อนหลักประชาธิปไตย แต่สะท้อนอำนาจและเครือข่ายเป็นหลัก เป็นการทำลายหลักนิติธรรมสูงสุดของประเทศอย่างรุนแรง คือการให้ข้อบังคับอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังทำลายศักดิ์ศรีของประชาชน



ส่วนการจัดตั้งรัฐบาล จากพรรคร่วม 8 พรรค ถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชน ที่ไม่ต้องการรัฐบาลเก่า ขณะที่พรรคก้าวไกลส่งไม้ต่อให้เพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาล แต่ยังคงต้องการยึดหลักการเดิม แต่ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นของพรรคเพื่อไทย ทำให้เกิดความคลางแคลงใจของประชาชนเมื่อวานนี้ ที่เชิญพรรคอื่นมาคุย ทั้งที่แต่ละพรรคมีเป้าหมายอยู่แล้ว / มองว่า พรรคเพื่อไทยทำข้ามขั้นตอนที่ควรไปหาเสียงกับ สว.แต่กลับไปหาพรรคขั้วรัฐบาลเดิม ที่ประกาศไม่เอาก้าวไกล


ฉากทัศน์ที่เกิดขึ้น สังคมจึงมองว่า เพื่อไทยข้ามขั้ว เป็นการยืมปาก พรรคขั้วรัฐบาลเดิม ให้ขับไล่ก้าวไกลออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ปรากฎการณ์นี้คนอาจจะมองว่า เพื่อไทยกำลังร่วมกับขั้วอำนาจเก่าบทขยี้คะแนนเสียงประชาชน


สิ่งที่เพื่อไทยควรจะทำตอนนี้ ไม่ต้องแสดงละคร เพราะทราบอยู่แก่ใจว่า พรรคขั้นรัฐบาลเดิมไม่เอาก้าวไกล /ทั้งนี้ หากวันที่ 27 กรกฎาคม นี้ โหวตนายกฯแล้วไม่ผ่าน ก็มาแถลงกับประชาชน แต่ยังต้องจับมือกันให้เหนียวแน่น ส่วน 5 พรรคร่วมจะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย ก็ให้ทำไป


ดร.พิชาย กล่าวด้วยว่า หากสมมติถ้าตั้งรัฐบาลได้โดยไม่มีพรรคก้าวไกล เพื่อไทยจะเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ ประชาชนไม่ต้อนรับ อาจจะมีชุมนุมรายวันหรือรายสัปดาห์ พร้อมชี้ อีกแนวทางว่า ถ้าเพื่อไทยได้เสียงโหวตนายกฯจากพรรครัฐบาลขั้วเดิมแล้ว สามารถดัดหลังพรรคร่วมรัฐบาลเดิม แล้วก็ปรับ ครม. ดึงก้าวไกลมาร่วมรัฐบาลแทน


ด้านรศ.ดร.โอฬาร จากมหาวิทยาลัยบูรพา ระบุว่า วันนี้การเมืองของชนชั้นนำ กำลังถูกท้าทาย ด้วยพรรคการเมืองของประชาชน และระหว่างของชนชั้นนำ กับประชาชน พรรคเพื่อไทยจะเลือกเดินเกมทางไหน ตอนนี้อยู่บนทาง 2 แพ่ง


อ.โอฬาร กังวลว่า ถ้ายื้อกันแบบนี้ อำนาจของรัฐบาลเดิมจะไหลไปเรื่อยๆ บรรทัดฐานที่ผิดปกติในวันที่ 19 กรกฎาคม ถ้าก้าวไกลไม่ผ่าน แคนดิเดตนายกของเพื่อไทย 3 คนไม่ผ่าน ต่อไป อาจจะได้ประวิตรเป็นนายก การชุมนุมนอกสภา จะขัดแย้งรุนแรงมาก เพราะประชาชนไม่ต้องการ


ขณะที่ ผศ.ดร.วันวิชิต จากมหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นว่า ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองไทย ก่อนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม ขณะนี้พรรคเพื่อไทย กำลังถูกตั้งคำถามเชิงลบจากสังคม เพราะพรรคเพื่อไทย ก็รู้คำตอบจากพรรคการเมืองขั้วเดิมอยู่แล้ว การกระทำของพรรคเพื่อไทย เป็นการยืมปากพรรคการเมืองขั้วรัฐบาลเดิมมาพูดแทน


ในการเมืองขณะนี้เกม จะเปลี่ยนชัดเจนคือวันที่ 26 กรกฎาคมนี้ ก่อนวันโหวตนายกฯ / สิ่งที่ควรทำขณะนี้ เพื่อไทยควรอยู่กับ 8 พรรคร่วมเดิม แต่ก้าวไกลก็อาจต้องยอมถอย ม. 112 เพื่อขอคะแนนจาก สส.และ สว.แล้วมาร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปิดสวิตของ 3 ป.


แต่ถ้าเพื่อไทยเลือกไปรวมกับขั้วอำนาจเดิม ทิ้ง 27 ล้านเสียง เลือกไปรวมตั้งรัฐบาล 17 ล้านเสียงแทน จะทำให้เพื่อไทยทำงานลำบาก ถ้ายืนยันอยู่กับ 8 พรรคอยู่ ความชอบธรรมก็ยังอยู่



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/ogWSPwqsFpM

คุณอาจสนใจ

Related News