เลือกตั้งและการเมือง

อธิบดีกรมการแพทย์แจง ให้ยาโมลนูพิราเวียร์ ‘อนุทิน’ รักษาโควิด เพราะอ้วน น้ำหนักเกิน

โดย JitrarutP

29 มิ.ย. 2565

118 views

ไม่ใช่สิทธิพิเศษ! อธิบดีกรมการแพทย์ แจงเกณฑ์ให้ยาโมลนูพิราเวียร์ “อนุทิน” รมว.สาธารณสุข รักษาโควิด-19 เพราะมีภาวะอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์


นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุถึงกรณี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข การให้ยาโมลนูพิราเวียร์ รักษาโควิด-19 ว่า เป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งนายอนุทิน มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือ โรคอ้วน ซึ่งเป็นหนึ่งในภาวะเสี่ยง ซึ่งแพทย์ที่ทำการรักษาได้ประเมินแล้ว ว่าต้องได้รับยาดังกล่าว ยืนยันการให้ยาโมลนูพิราเวียร์ กับ นายอนุทิน ไม่ใช่สิทธิพิเศษ แต่อย่างใด


ทั้งนี้เกณฑ์การให้ยาผู้ป่วยโควิด-19 กรมการแพทย์ ตอนนี้ หากมีอาการเล็กน้อยมาก ไม่มีปัจจัยเสี่ยง และน้ำหนักเกินเกณฑ์ จะให้ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นหลัก แต่หากอาการเล็กน้อย ปานกลาง หรือมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างร่วม เช่น โรคอ้วน หรือโรคประจำตัวเรื้อรังอื่นๆ รวมถึงกลุ่มเสี่ยง 608 แพทย์สามารถพิจารณาการให้ยาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เช่น ยาโมลนูพิราเวียร์ หรือ แพล็กโลวิด รวมถึงยาฉีดบางชนิด แต่ถ้าเริ่มมีอาการปอดอักเสบ เชื้อลงปอด แพทย์อาจพิจารณาให้ยาฉีดได้เลย ในกลุ่ม ยาสเตียรอยด์ บางอย่างได้เลย



โดยคำแนะนำกรมการแพทย์ การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากไม่มีอาการอะไรเลย ให้รักษาตามอาการ เช่น ยาฟ้าทะลายโจร และชนิดอื่นๆ



สำหรับเกณฑ์การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 นพ.สมศักดิ์ ระบุว่า มีการปรับเกณฑ์การรักษามาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ฉบับตามสถานการณ์ อย่างช่วงแรก หสกพบผู้ป่วยโควิด จะให้รักษาในโรงพยาบาลทั้งหมด แต่ปีนี้ได้มีการปรับการรักษา โดยเน้น OPDHI หรือ เจอ แจก จบ โดยสิ้นเดือนนี้อาจจะมีการพิจารณายกเลิกการรักษา แบบ HI ให้เน้นการรักษาแบบผู้ป่วยนอกแทน แต่หากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อสูงอยู่ อาจจะยังคงการรักษา HI ซึ่งสปสช. กับประกันสังคมได้มีการพูดคุยกันอยู่



ขณะนี้ที่มีการพบการระบาดของสายพันธุ์ BA.4, BA.5 ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ป่วย เพราะจากข้อมูลการศึกษาวิจัยจากต่างประเทศ พบว่า เชื้อดังกล่าวลงปอดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ส่วนสถานการณ์ความรุนแรงของสายพันธุ์BA.4, BA.5 จะเป็นไปตามข้อมูลทางห้องปฏิบัติการหรือไม่ ให้รอดูสถานการณ์ผู้ป่วยจริงในไทยก่อน ซึ่งตอนนี้สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาบราชวิถีเพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราครองเตียงเพิ่มขึ้นด้วย ผู้ป่วยใส่ท่อหายใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนมากสัดส่วนผู้ป่วยอาการหนักที่เพิ่มขึ้น คือ กลุ่ม 608 และคนที่มีโรคประจำตัว ซึ่งได้มีการประชุม ในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ และหากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น อาจจะพิจารณาการเปิดวอร์ดโควิด-19 เพิ่มเติม

คุณอาจสนใจ

Related News