เลือกตั้งและการเมือง

กมธ.พัฒนาฯสื่อ เชิญตัวแทนสื่อถกมาตรการป้องกัน หลัง 'บิ๊กป้อม' หยุมหัวนักข่าว

โดย panwilai_c

22 ส.ค. 2567

16 views

คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนรวมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร เชิญสื่อร่วมหามาตรการทำงานร่วมกันกับนักการเมือง หลังเกิดเหตุการณ์ พลเอกประวิตร วงษ์สวุรรณ ตีหัวผู้สื่อข่าว โดยมีผู้บริหารฝ่ายข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสและตัวแทนสื่อมวลนจากหลายสำนัก เข้าร่วมเสนอแนะแนวทางการคุ้มครองสื่อถูกคุกคาม



นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ ประชุมศึกษาแนวทางการทำงานของสื่อมวลชนในอนาคต ภายหลังเกิดเหตุการณ์ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสถูกคุกคามขณะปฎิบัติหน้าที่จาก พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ



โดยมีนายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสื่อมวลชนหารือด้วย เบื้องต้นนายก่อเขต ขอบคุณ คณะกรรมาธิการและเพื่อนสื่อมวลชนที่แสดงความเป็นห่วงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และรู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากมีนักข่าวที่ถูกกระทำ โดยมีสภาพจิตใจไม่ดี จากการสอบถามส่วนตัว ทราบว่า ไม่ได้มีการแจ้งความดำเนินคดี เพราะพลเอกประวิตรได้โทรมาขอโทษแล้ว แต่มองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ และองค์กรเห็นว่าการใช้มาตรการทางสภาฯ ในการตรวจสอบจริยธรรมเป็นช่องทางควรจะเป็น ไม่ใช่เรื่องบุคคลต่อบุลคล แต่เป็นเรื่องของสถาบัน เชื่อว่ากระบวนการนี้จะนำไปสู่ทางคลี่คลายได้



นายก่อเขต ระบุว่า กลไกที่มีอยู่คือกฎหมายและองค์กรวิชาชีพได้ทำตามบทบาทหน้าที่ที่ปกป้องผู้ประกอบวิชาชีพสื่อฯ และกรณีดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม การคุกคามมีหลายระดับ แทรกแซง แทรกซึม เกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย หากคิดว่าโลกนี้ควรมีผู้สื่อข่าว ต้องมองเชิงระบบ และติดตามผลักดันให้เกิดกระบวนการทางกฎหมาย ส่วนสื่อมีการกับกำกับเองแม้ไม่ตรงความคาดหวังแต่ก็ดีขึ้น และชี้ว่านี่คือการถูกคุกคามโดยปัจเจกบุคคล



ด้านตัวแทนสื่อมวลชน เช่น นางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งเพจ The Reporters และผู้สื่อข่าว 3 มิติ ระบุว่า การทำหน้าที่ของนักข่าวคนดังกล่าวเป็นการทำหน้าที่อย่างสุภาพ แต่มองเรื่องความปลอดภัยทางร่างกาย ท่ามกลางการทำหน้าที่ภายใต้สถานการณ์กดดัน จึงต้องวางมาตรฐาน การทำหน้าที่แม้จะไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งทุกคนต้องการปกป้องศักดิ์ศรีของตัวเองและต้องการได้รับความเป็นธรรมการคุ้มครองในการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าว



ขณะที่นายสเถียร วิริยะพรรณพงศา ผู้บริหาร PPTV กล่าวว่า นักข่าวภาคสนามต้องทำงานสัมภาษณ์พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณอีก ต้องเผชิญหน้ากัน จึงต้องหาวิธีปกป้องผู้สื่อข่าวภาคสนาม และยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเคยมีเหตุการณ์ปาเปลือกกล้วยก็เคยมี นักข่าวเจ็บปวดกับเรื่องเช่นนี้ ชี้กรณีนี้สังคมจะต้องจัดการหรือสร้างกลไกให้ต่างคนต่างเคารพสิทธิ์ต่อกัน ไม่ให้สื่อถูกกระทำความรุนแรง



จากนั้น นายพริษฐ์ ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ สรุปว่า มี 3 ส่วนดำเนินการ คือ เรื่องถูกยื่นที่ประธานสภาฯแล้ว ตามประมวลจริยธรรมมีกรอบเวลาพิจารณา 60 วัน กมธ.จะติดตามความคืบหน้า แต่ยังไม่มีผู้นำฝ่ายค้านซึ่งอยู่ในองค์ประกอบของคณะกรรมการ โดยจะทำหนังสือถามประธานสภาว่าคณะกรรมการ จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ส่วนข้อกฎหมาย จริยธรรมหากไม่ร้ายแรง แค่ตักเตือน หรือการขอโทษจากผู้กระทำ หากเป็นเรื่องร้ายแรง สภาฯจะส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการ



นอกจากนี้ยังเห็นว่าจะต้องสร้างวัฒนธรรมรับผิดรับรับผิดชอบทางการเมือง ขั้นต่ำขอโทษต่อที่สาธารณะ เปรียปประเทศอื่น สส.ลาออกแล้ว หวังว่า เมื่อเวลาผ่านไปจะมีการกำกับจริยธรรมที่เข้มแข็งขึ้น โดยสรุปคือ กรรมาธิการจะส่งหนังสือถึงประธานสภาฯ สอบถามในข้อกฎหมาย พร้อมติดตามความคืบหน้า และขอคำชี้แจงจากพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณต่อไป

คุณอาจสนใจ

Related News