สังคม
ไทยเตรียมเปิดศูนย์ช่วยเหลือมนุษยธรรมแก่ประชาชนเมียนมา 'ปานปรีย์' ยันไม่ใช่ศูนย์อพยพผู้ลี้ภัย
โดย parichat_p
8 ก.พ. 2567
159 views
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ติดตามความพร้อมในการเปิดศูนย์ช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนเมียนมา ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพเปิดศูนย์แรกที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เตรียมส่งมอบสิ่งของช่วยเหลือให้แก่เมียนมา ภายใน 1 เดือนนี้ ยืนยันว่าไม่ใช่ศูนย์อพยพผู้ลี้ภัย แต่เน้นเรื่องมนุษยธรรม และไทยมีความเป็นกลาง เชื่อมั่นว่าจะส่งความช่วยเหลือไปยังกลุ่มชาติพันธ์ ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยงได้จริง รวมถึงการเปิดระเบียงมนุษยธรรมนี้เป็นไปตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน ที่จะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อสันติภาพในเมียนมา
นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลงพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อติดตามความคืบหน้าหลังจากไทยประกาศจะมีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือมนุษยธรรมแก่ประชาชนเมียนมา ซึ่งมีขึ้นหลังการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ที่ สปป.ลาว โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพในการสร้างระเบียงมนุษยธรรม Humaniterian Corrodor ซึ่งจะเริ่มจากการตั้งศูนย์ช่วยเหลือนำอาหาร สิ่งของจำเป็นและทางการแพทย์ ไปช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบในเมียนมา โดยเริ่มจากอ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งอยู่ตรงข้ามรัฐกะเหรี่ยง และเป็นหนึ่งในพื้นที่สู้รบระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมา กับกองทัพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU
โดยนายคมกฤช จองบุญวัฒนา ผู้อำนวยการกรมเอเชียตะวันออก 2 ได้ชี้แจงขั้นตอนของข้อริเริ่มในการยกระดับการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนเมียนมาแก่ประชาชนเมียนมาตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งจะมีการมีการตั้งศูนย์รับสิ่งของช่วยเหลือ ที่ด่านศุลกากรแม่สอด แห่งที่ 2 จุดผ่านแดนแม่สอด-เมียวดี สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 2 โดยสภากาชาดไทย จะนำสิ่งของ มอบให้สภากาชาดเมียนมา นำไปที่จุดพักสิ่งของช่วยเหลือ เพื่อเตรียมแจกจ่ายให้ประชาชนเมียนมา ขนส่งไปในทางเมียนมา แจกจ่ายไปให้ประชาชนเมียนมา โดยได้ประสานพื้นที่นำร่อง เป็นพื้นที่ที่มีผู้พลัดถิ่น หรือ IDPs 3 แห่งในรัฐกะเหรียง คาดว่ามีผู้ได้รับความช่วยเหลือประมาณ 2 หมื่นคน และจะดำเนินการได้ภายใน 1 เดือน
นายปานปรีย์ ยืนยันว่า ศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ไม่ใช่การเปิดศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยในชายแดนไทย เป็นเพียงการเปิดศูนย์ในการส่งของช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไปยังฝั่งเมียนมา ซึ่งเป็นไปตามหลักฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยเน้นหลักความเป็นกลางและไม่แทรกแซงกิจการภายในของเมียนมา และสนับสนุนอาเซียนในการแก้ไขสถานการณ์เมียนมาตามหลักฉันทามติ 5 ข้อ ซึ่งเชื่อว่าการเริ่มต้นในการตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม จะนำไปสู่การพูดคุยเพื่อสันติภาพเมียนมา โดย สปป.ลาวที่เป็นประธานอาเซียน ได้แต่งตั้งผู้แทนพิเศษไปดำเนินการในการประสานกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ เพื่อจะเปิดระเบียงมนุษยธรรมกับทุกกลุ่ม ก่อนนำไปสู่การพูดคุยเพื่อสันติภาพ
นายปานปรีย์ ยอมรับว่า ไทยทราบดีถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา โดยเฉพาะในรัฐกระเหรี่ยง ที่ผู้ได้รับผลกระทบจะเป็นประชาชนในความคุ้มครองของกองทัพกะเหรี่ยง KNU แต่การทำงานของรัฐบาลจะต้องประสานกับรัฐบาลกลาง และเชื่อมั่นในความเป็นกลางของสภากาชาดเมียนมา ในการดำเนินการเพื่อให้เข้าถึงผู้ได้รับผลกระทบที่แท้จริง ซึ่งจะทำงานร่วมกับ ICRC กาชาดสากลด้วย จึงขอให้เชื่อมั่นว่ารัฐบาลไทยจริงใจต่อการช่วยเหลือมนุษยธรรมนี้ และหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นต่อการทำงานร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ
ก่อนหน้านี้ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ในคณะกรรมาธิการกฏหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน โดยนายกัณวีร์ สืบแสง เป็นประธาน ได้ลงพื้นที่อ.แม่สอด จ.ตาก เมื่อวันที่ 4-6 ก.พ.ได้ติดตามสถานการณ์ไทยเมียนมาที่มีผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย จำนวนมากหลังการรัฐประหาร และได้เสนอให้ไทยมีบทบาทในการสร้างระเบียงมนุษยธรรม เห็นว่า รูปแบบการทำงานของไทยที่ตั้งตั้นกับรัฐบาลทหารที่เป็นคู่ขัดแย้งยังไม่ถูกหลักมนุษยธรรม และอาจจะไม่ถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง จึงขอให้รัฐบาลรอบคอบ ที่ต้องยึดหลักมนุษยธรรมนำการเมือง
นายปานปรีย์ ยืนยันว่าไทยมีความจริงใจที่จะเปิดระเบียงมนุษยธรรมในเมียนมา และจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการงบประมาณของศูนย์มนุษยธรรมนี้ หากทำสำเร็จทางสหภาพยุโรป เตรียมให้เงินสนับสนุนประมาณ 20 ล้านล้านยูโร หรือ 772 ล้านบาท เพื่อภารกิจมนุษยธรรมในเมียนมา