สังคม

'ธรรมนัส' เผย คปก. เคาะเปลี่ยนชื่อ 'สปก.4-01' เป็น 'โฉนดเพื่อเกษตรกรรม' มั่นใจแจกโฉนดฉบับแรก 15 ม.ค.67

โดย parichat_p

24 ต.ค. 2566

241 views

เป็นที่สนใจของเกษตรกรทั่วประเทศตอนนี้ คือความคืบหน้านโยบายเปลี่ยนเอกสารสิทธิ์ สปก.4-01 เป็นโฉนด ซึ่งวันนี้มีการประชุมคณะกรรมการปฎิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ คปก. ซึ่งได้ข้อสรุปชื่อโฉนด ส.ป.ก. จะเรียกว่า เป็นโฉดนเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยืนยันขั้นตอนคืบหน้าไปมาก มั่นใจว่าจะแจกโฉนดเพื่อเกษตรกรรมฉบับแรกได้ทัน 15 มกราคมปีหน้า


การประชุมคณะกรรมการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครั้งที่ 6/2566 เมื่อบ่ายวันนี้ มีความชัดเจนหลายประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนโฉนด สปก.4-01 เป็นโฉนดที่ดิน เริ่มจากที่ประชุม สรุปชื่อโฉนดนี้ว่า โฉนดเพื่อเกษตรกรรม / นัยยะสำคัญของโฉนดเพื่อเกษตรกรรม ที่ยังอยู่ภายใต้การดูแลของสปก. ไม่ใช่ฉโนดที่ดินภายใต้กรมที่ดินกระทรวงมหาดไทย


กรอบเบื้องต้นของผู้ถือสปก.4-01 ที่จะได้เปลี่ยนเป็นโฉนดเพื่อเกษตกรรมคือ ครอบครองทำการเกษตรกรมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยจะนับย้อนหลัง นับจากที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่นหากระเบียบประกาศในวันที่ 15 ธันวาคม ก็นับย้อนหลังไปว่า ผู้ที่ถือครองนับจาก 15 ธันวาคมปีนี้ไปแล้วเกินกว่า 5 ปี จะมีสิทธิ์เปลี่ยน สปก.เป็นโฉนดเพื่อเกษตกรรม ซึ่งตามข้อมูลพบว่า มีที่ดินเข้าข่ายดังกล่าวราว 22 ล้านไร่


แต่ไม่ใช่ทุกแปลงทุกฉบับจะได้รับการเปลี่ยนพร้อมกัน แต่จะมีการตรวจสอบนำร่องทะยอยออกเป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรรในแต่ละพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่พิพาทเรื่องการบุกรุก บกฎหมายอื่นๆเช่น วังน้ำเขียว ทับลาน เป็นต้น ยังไม่อยู่ในการพิจารณา


แนวปฎิบัติตอนนี้คือมีการร่างระเบียบคณะกรรมการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 3 ฉบับ เพื่อนำไปทำประชาพิจารณ์จากเกษตรกรทั่วประเทศ และผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมาย แล้วนำความเห็นกลับมาให้ คปก.เห็นชอบร่างสุดท้าย เพื่อให้รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนามในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังใช้ทัน 15 ธันวาคมปีนี้ เพื่อเริ่มแจกโฉดเพื่อเกษตรกรรมแปลงแรกให้ทัน 15 มกราคมปีหน้า


อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความชัดเจนว่า เจ้าของโฉนด สปก.ที่จะได้สิทธิ์เปลี่ยนเป็นโฉนด ต้องถือครองมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี แต่ยังไม่ชัดเจนว่า ทันทีที่ได้รับการเปลี่ยนเป็นโฉนดแล้ว จะซื้อขายเปลี่ยนมือในทันทีเลยหรือไม่ จำเป็นต้องหารือให้ชัดเจนในระเบียบนี้


ตามเป้าหมาย โฉนดสปก.ที่เปลี่ยนเป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรรม ยังต้องการให้นำไปจำนองกับธนาคารของรัฐแห่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก ธกส.อย่างเดียว /รวมถึงหากจะขาย ก็ทำได้ แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ซื้อก็ต้องเป็นเกษตกรด้วยเช่นกัน


ข้อมูลเหล่านี้เป็นกรอบปฎิบัติเบื้องต้นระดับหนึ่งที่ได้จากที่ประชุม แต่ยังมีความคลุมเครือบางประเด็นที่ยังต้องรอการประชุม คปก.ให้ชัด เช่นเมื่อกำหนดว่าผู้ครอบครองสปก.ครบ 5 ปี จะมีสิทธิ์เปลี่ยนเป็นโฉนดในปีนี้ เท่ากับว่าผู้ที่ครอบครองทำกินมาแล้ว 4 ปี ก็มีสิทธิ์ในปีถัดไป โดยจะเปลี่ยนเช่นนี้ทุกๆปี ขณะเดียวกันก็ต้องมีการติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยอาจตั้งคณะทำงานนำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อตรวจสอบทุกๆ 5 ปี เป็นต้น

คุณอาจสนใจ

Related News