เลือกตั้งและการเมือง

ย้อนดูโครงการแจกแท็บแล็บ 'ยุคยิ่งลักษณ์' กับปัญหาที่เกิด ก่อนถูกคสช.ยกเลิก

โดย panwilai_c

14 ก.ย. 2566

83 views

ย้อนไปดูนโยบาย แจกแท็บเล็ต ในสมัยรัฐบาล อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนถูก คสช.สั่งยกเลิก



เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2554 อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ได้แถลงนโยบายที่จะพื้นฐานการเรียนออนไลน์ในปัจจุบัน โดยการ จัดหาแท็บเล็ตให้แก่โรงเรียนและจัดทำระบบอินเตอร์เน็ตไร้สาย ตามมาตรฐานการให้บริการในสถานศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ภายใต้โครงการ "1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน (One Tabiet PC per Child) และจัดทำ"ไซเบอร์โฮม"ที่จะส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงที่บ้าน และจัดตั้งระบบการเรียนแบบอิเล้กทรอนิกส์แห่งชาติ เพื่อเร่งยกระดับคุณภาพการศึกษา



ต่อมา ปี 2555 นโยบาย "1 คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตต่อ 1 นักเรียน" ได้เกิดขึ้นจริง มีการจัดสรรแท็บเล็ตให้แก่ นักเรียนประถมปีที่ 1 นำร่อง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน (จำนวน 847,548 คน ในปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ขณะนั้น) โดยซื้อจากประเทศจีน จำนวน 860,000 เครื่อง ราคากว่า 1,900 ล้านบาท ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสพฐ.จัดสรรให้เด็ก และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีหน้าที่จัดหาและดูแลรับประกันแท็บเล็ต



และดำเนินโครงการได้ 2 ปี ก็ต้องยกเลิกไป ภายหลังการรับประหาร วันที่ 16 มิถุนายน 2557 โดย พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ ขณะนั้นที่ในฐานะรองหัวหน้าคสช. กำกับดูแลฝ่ายสังคมจิตวิทยา เป็นประธานให้มีมติยกเลิกโครงการ ด้วยเหตุผล นักเรียนไม่มีความพร้อมในการใช้งานจริง ครูต้องรับผิดชอบแท็บเล็ตจนไม่มีเวลาเตรียมการเรียนการสอน แท็บเล็ตที่มีอยู่ภายหลังจึงกลายเป็นขยะที่ใช้งานไม่ได้



ขณะเดียวกันก็มีข้อมูล รายงานจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือ สตง.ว่า แท็บเล็ตที่จัดสรรให้เด็กนักเรียนด้วยงบประมาณไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท แม้จะแจกให้เด็กแล้ว โครงการก็ยังต้องดำเนินการต่อไป ในอนาคตหากดำเนินต่อไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ก็จะไม่คุ้มค่างบประมาณ



พร้อมกันนี้ มีรายงานว่า มีการใช้งานแท็บเล็ตในขณะที่กำลังชาร์ตไฟไปพร้อมๆกัน โดยที่โรงเรียนใช้ปลั๊กพ่วงขึ้นมาวางบนโต๊ะให้เด็กชาร์ทไฟ เสี่ยงอันตราย เพราะเครื่องเกิดความร้อนมาก อาจเกิดระเบิดได้ และเป็นอันตรายต่อเด็ก



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/nSptmr8tijU

คุณอาจสนใจ

Related News