สังคม

นักวิชาการจัดเวทีเสวนา วิเคราะห์การโหวตนายกฯรอบ 3 วอน 'เพื่อไทย' ฟังเสียงปชช.

โดย parichat_p

23 ก.ค. 2566

143 views

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดึง 4 นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์ จัดเวทีเสวนาวิเคราะห์การโหวตนายกรัฐมนตรีรอบที่ 3 และการจัดตั้ รัฐบาลประชาธิปไตย โดยระบุว่า พรรคเพื่อไทยควรยืนข้างประชาชน 27 ล้านเสียง ของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลปัจจุบัน หากข้ามขั้วไปอยู่กับพรรคขั้วรัฐบาลเดิม อาจประชาชนจะไม่ยอม ทำให้การบริหารราชการไม่ราบรื่น และอาจเกิดวามขัดแย้งรุนแรง


ในวงเสวนา มีนักวิชาการ ด้านนิติศาสตร์และด้านรัฐศาสตร์ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ / รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) / รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว จากคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา / และผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมเวที


หนึ่งในความเห็นของผศ.ดร.ปริญญา คือระบุว่าการลงมติเลือกนายกฯ รอบ 2 ที่ผ่านมา นั้น ไม่ใช่การตีความข้อบังคับการประชุม แต่เป็นการตีความรัฐธรรมนูญ ทำให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา อยู่เหนือรัฐธรรมนูญ /ผลที่เกิดขึ้น นอกจากพรรคอันดับ 1 จะเสนอชื่อนายกฯครั้งที่ 2 ไม่ได้ จะทำให้พรรคเพื่อไทย เสนอแคนดิเดตนายกแต่ละคน ได้เพียงครั้งเดียวด้วย


ขณะเดียวกัน ยังได้วิเคราะห์ทางเลือกของพรรคเพื่อไทย คือ 1.การจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ 8 พรรคการเมืองที่ทำ MOU ตกลงกันไว้ ซึ่งมีเสียงของประชาชนเลือกมา รวมกันทั้งหมด 27 ล้านเสียง /ขณะที่ฝั่ง ตรงข้ามคะแนนรวมกันไม่ถึง 10 ล้านเสียง ดังนั้น รัฐบาลที่เกิดขึ้นควรเป็นแนวทางแรก เพราะมาจากประชาชน 27 ล้านเสียง


สำหรับทางเลือกที่ 2 คือการยอมให้ฝั่งที่ได้10 ล้านเสียง มาตั้งเงื่อนไข และพรรคเพื่อไทยยอมรับเงื่อนไข คือการไม่เอาพรรคที่ได้คะแนนอันดับ 1 เนื่องจากมีการเสนอแก้ ม. 112 ซึ่งเพื่อไทยต้องระวัง เพราะอำนาจการต่อรองของพรรคเพื่อไทยจะน้อยลง และต้องรับให้ได้กับความรู้สึกของประชาชน ที่เชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นการเตรียมการมาแล้ว และจะถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ สว.


ส่วนทางเลือกพรรคก้าวไกล อ.ปริญญาวิเคราะห์ ในทางเลือกที่ 1 คือการยืนยันการแก้ไข ม.112 และยอมไปเป็นฝ่ายค้าน / ส่วนอีกทางเลือกหนึ่ง ยอมเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ใน ม.112 เช่นการเปลี่ยน จากการแก้ไข ม. 112 มาแก้ไขปัญหาของการบังคับใช้ ที่ไม่เหมาะสมและโทษที่ไม่ได้สัดส่วน ดังนั้น การตั้งรัฐบาล คนที่ควรเกี่ยวข้องน้อยที่สุดคือ สว.เพราะเป็นเรื่อง สส. / สว.ไม่ควรเข้ามา ตั้งเงื่อนไข ต่างๆ เพราะไม่มีความชอบธรรม อาจจะเกิดการเมืองบนท้องถนน


ด้านรศ.ดร.โอฬาร จากมหาวิทยาลัยบูรพา ระบุว่า วันนี้การเมืองของชนชั้นนำ กำลังถูกท้าทาย ด้วยพรรคการเมืองของประชาชนและระหว่างของชนชั้นนำ กับประชาชนพรรคเพื่อไทย จะเลือกเดิน เกมทางไหน ตอนนี้อยู่บนทาง 2 แพ่ง โดยอาจารย์โอฬาร กังวลว่า ถ้ายื้อกันแบบนี้ อำนาจของรัฐบาลเดิมจะไหลไปเรื่อยๆ บรรทัดฐานที่ผิดปกติในวันที่ 19 กรกฎาคม ถ้าก้าวไกลไม่ผ่าน แคนดิเดตนายกของเพื่อไทย 3 คนไม่ผ่าน ต่อไป อาจจะได้ประวิตรเป็นนายก การชุมนุมนอกสภา จะขัดแย้งรุนแรงมาก เพราะประชาชนไม่ต้องการ


ขณะที่ ผศ.ดร.วันวิชิต จากมหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความเห็นว่า ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองไทย ก่อนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม ขณะนี้พรรคเพื่อไทย กำลังถูกตั้งคำถามเชิงลบจากสังคม เพราะพรรคเพื่อไทย ก็รู้คำตอบจากพรรคการเมืองขั้วเดิมอยู่แล้ว การกระทำของพรรคเพื่อไทย เป็นการยืมปากพรรคการเมืองขั้วรัฐบาลเดิมมาพูดแทน


ในการเมืองขณะนี้เกม จะเปลี่ยนชัดเจนคือวันที่ 26 กรกฎาคมนี้ ก่อนวันโหวตนายกฯ / สิ่งที่ควรทำขณะนี้ เพื่อไทยควรอยู่กับ 8 พรรคร่วมเดิม แต่ก้าวไกลก็อาจต้องยอมถอย ม. 112 เพื่อขอคะแนนจาก สส.และ สว.แล้วมาร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปิดสวิตของ 3 ป.- แต่ถ้าเพื่อไทยเลือกไปรวมกับขั้วอำนาจเดิม ทิ้ง 27 ล้านเสียง เลือกไปรวมตั้งรัฐบาล 17 ล้านเสียงแทน จะทำให้เพื่อไทยทำงานลำบาก ถ้ายืนยันอยู่กับ 8 พรรคอยู่ ความชอบธรรมก็ยังอยู่

คุณอาจสนใจ