เลือกตั้งและการเมือง

ถกแก้ รธน. ปิดสวิตซ์ ส.ว. รัฐสภาไปไม่ถึงครึ่งทาง รัฐบาล-ส.ว.แท็กทีมไม่อภิปราย

โดย nattachat_c

7 ก.ย. 2565

13 views

เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อวานมีการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด 4 ฉบับ ซึ่งเป็นร่างของฝ่ายค้านและของประชาชน ประเด็นที่น่าสนใจ คือ เรื่องที่มานายกฯ และให้ตัดอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี

บรรยากาศการประชุมดุเดือดในช่วงการอภิปรายของ ส.ส.รังสิมันต์ โรม จากพรรคก้าวไกล ที่อภิปรายสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ให้นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. และให้ตัดอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี

นายรังสิมันต์ อภิปรายชี้ถึงการแต่งตั้ง ส.ว. โดย คสช. ว่ามีแก๊งนั้นแก๊งนี้ ทำให้ ส.ว.กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ลุกขึ้นประท้วงและขอให้ถอนคำว่า "แก๊ง" พร้อมกล่าวหาว่านายรังสิมันต์ ไม่ใช้หนี้ กยศ. และต่อว่าถ้อยคำที่ดุเดือด

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมขณะนั้นจึงต้องรีบห้ามทัพ

แต่สุดท้ายนายพรเพชร ต้องปิดไมโครโฟนของ ส.ว.กิตติศักดิ์ และสั่งห้ามพูด

จากนั้น นายรังสิมันต์ ได้ชี้แจงกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าไม่จ่ายหนี้ กยศ. ว่า เป็นการใส่ความเท็จ ยืนยันว่าตอนนี้ใช้หนี้ กยศ.ไปหมดแล้ว

ขณะที่ นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ต้องพยายามแก้มาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกฯให้ทันการเลือกตั้งครั้งหน้า เพื่อสะท้อนเสียงประชาชนอย่างแท้จริงในการเลือกนายกฯ หากไม่สามารถตัดอำนาจ ส.ว.ได้สำเร็จ เชื่อว่าการเลือกตั้งใหญ่ครั้งหน้าที่จะมาถึงอีกไม่กี่เดือนนี้ก็จะไม่มีความหมายใดๆทั้งสิ้น

ส่วนภาพรวมการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวาน ส่วนใหญ่เป็นการอภิปรายของฝ่ายค้าน จนทำให้การประชุมยุติเร็วว่าที่วางแผนไว้หลายชั่วโมง และจะมาประชุมต่อและลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่ในวันนี้ั

ในการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับในช่วงแรกมีเพียง ส.ส.พรรคฝ่ายค้านอภิปราย จนกระทั่งฝ่ายค้านไม่พอใจและเรียกร้องให้ ส.ส.รัฐบาลและ ส.ว.ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นด้วย ในช่วงหลังจึงมี ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและ ส.ว.ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นด้วยประปราย

หนึ่งในนั้น คือ ส.ว.เฉลา พวงมาลัย บอกว่าทนไม่ได้ที่มีผู้อภิปรายให้ร้ายวุฒิสภา ยืนยันว่า ส.ว.ทั้ง 250 คน ไม่ใช่เลวร้าย แต่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และการที่ ส.ว.เลือก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ เพราะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

และเนื่องจากมี ส.ส.รัฐบาลและ ส.ว.ร่วมอภิปรายเพียงเล็กน้อย ทำให้การประชุมเมื่อวานต้องยุติลงตั้งแต่เวลา 17 นาฬิกา 40 นาที จากเดิมวางแผนจะประชุมจนถึงเที่ยงคืน / และจะกลับมาประชุมต่อในวันนี้ (7 ก.ย.) เวลา 9 นาฬิกา และจะลงมติว่าจะรับหลักการในวาระที่ 1 หรือไม่ในช่วงค่ำ

ซึ่งในการลงมติ จะเป็นการชื่อทีละคน มติรับหลักการต้องมีเสียงเห็นชอบไม่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกที่ทีอยู่ และต้องมี ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ ส.ว.ทั้งหมด คือ 84 คน

และจากที่ทีมข่าวการเมืองตรวจสอบข้อมูลล่าสุด มีแนวโน้มว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับจะไม่ได้รับความเห็นชอบในขั้นรับหลักการทั้งหมด โดย ส.ส.รัฐบาลและ ส.ว.ส่วนใหญ่จะลงมติ "งดออกเสียง"


รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/MeL2PRok2Cw

คุณอาจสนใจ

Related News