สังคม

อุตุฯ ยันแผ่นดินไหวที่อินเดีย ไม่เกิดสึนามิ - ภูเก็ตย้ำพร้อมรับมือคลื่นยักษ์

โดย nattachat_c

6 ก.ค. 2565

36 views

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "คลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันตอนบน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2565)" ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 06 กรกฎาคม 2565


มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ส่วนอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่น 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 ก.ค. 65

--------------

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศและใกล้เคียง ว่า 

  • มีแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางที่หมู่เกาะอันดามัน และนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย
  • ทางตะวันตกเฉียงเหนือ อ.เมือง จ.พังงา ประมาณ 506 กม.
  • ครั้งแรก วันที่ 4 ก.ค. 65 เวลา 14.35 น ขนาด 4.4 ลึก 10 กม.
  • ครั้งล่าสุด ครั้งที่ 28 วันที่ 5 ก.ค. 65 เวลา 21.50 น. ขนาด 4.5 ลึก 10 กม.
  • รุนแรงสุด วันที่ 5 ก.ค. 65 เวลา 07.27 น. ขนาด 4.9 ลึก 10 กม.


  • วันที่ 5 ก.ค. 65 เวลา 23.29 น. มีแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางที่เมียนมา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ขนาด 4.1 ลึก 10 กม.

-------------

กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า การเกิดแผ่นดินไหวบริเวณนอกชายฝั่งนิโคบาร์ช่วงสองวันนี้ (4-5 ก.ค. 2565) เป็นการเกิดในช่วงความรุนแรงที่ 4.0-5.6 ในโซนแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แบบแนวระนาบ และความลึกที่ 10 - 250+ กม. 


แผ่นดินไหวชุดนี้ไม่อาจก่อให้เกิดสึนามิได้ แม้จะมีการเชื่อมโยงถึงแรงลมและระดับน้ำที่ท่วมล้นหาดทรายแก้วก็ตาม ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้เป็นเพียงแค่เหตุการณ์ที่บังเอิญมาพร้อมกัน ถ้าเป็นน้ำที่มาจากสึนามิจริง ก่อนน้ำล้นจะต้องลดก่อน


แน่นอนว่า สึนามิทุกครั้งเกิดในทะเล แต่ไม่ใช่จะเกิดทุกครั้งหลังแผ่นดินไหว ซึ่งแผ่นดินไหวที่จะทำให้เกิดสึนามิได้นั้น จะต้องประกอบด้วย 3 ประการ คือ

  • ความรุนแรงระดับ 6.5 ขึ้นไป
  • เกิดจากการงัด/มุดของแผ่นเปลือกโลก
  • ความลึกสู่ผิวน้ำ


ทั้งนี้ ความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหว ที่จะทำให้เกิดสึนามิได้ มีดังนี้

  • ความรุนแรงระดับ 6.5-7.5 สามารถก่อให้เกิดสึนามิได้ แต่ไม่รุนแรงขนาดสร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน คงทำให้เกิดดินสไลด์หรือเรือดำน้ำวูบๆ
  • ความรุนแรงระดับ 7.6-7.9 จะทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนได้อย่างมากโดยเฉพาะบริเวณใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ไกลออกไปอาจเห็นได้เพียงน้ำทะเลผิดปกติ
  • ความรุนแรงระดับ 7.9 ขึ้นไป โดยเฉพาะระดับ 9.0 จะทำให้เกิดความวินาศไปในบริเวณกว้าง และอาจแถมด้วยอาฟเตอร์ช็อกระดับ 7.5+ ตามมาอีกหลายครั้ง

-----------

จากเหตุการเมื่อวานนี้ (5 ก.ค. 65) ได้นำเสนอข่าว เหตุการณ์ที่มีคลื่นขนาดใหญ่พัดเข้ามาอย่างแรง ท่าเรือในหมู่ 2 ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่ โดยไกด์นำเที่ยว วิ่งเข้าช่วยเหลือ นักท่องเที่ยวต่างชาติขณะเดินอยู่ที่สะพานทุ่นลอย เพื่อจะเข้าฝั่ง ต้องเกาะเสาไว้สุดชีวิต เกือบโดนซัดไปกับคลื่นด้วย


ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ข้อมูลกับทีมข่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อาจจะเข้าข่ายผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวบริเวณหมู่เกาะอันดามัน อินเดีย ที่มีขนาด 4.0-4.9 ริกเตอร์


องค์ประกอบที่ 1 คือ จะต้องมีคลื่นประมาณ 4-5 ลูกซัดเข้าฝั่งและก็จะสงบลง ซึ่งในประเด็นนี้สอดคล้องกับผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ให้ข้อมูล


องค์ประกอบที่ 2 คือ จุดเกิดเหตุแผ่นดินไหวจะต้องห่างจากประเทศไทยไม่เกิน 600 กม. (ในช่วงระยะทาง 500-600 กม.) ถึงจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากเป็นการเกิดเหตุแผ่นดินไหวในขนาดไม่เกิน 6 ริกเตอร์ ในประเด็นนี้ก็มีข้อมูลสอดคล้องกัยคือจุดเกิดเหตุแผ่นดินไหวห่างจากประเทศไทยประมาณ 500 กม.


องค์ประกอบสุที่3 คือ คลื่นที่ซัดเข้าฝั่งไทยประมาณ 4-5 ลูกนั้นจะต้องเกิดเหตุหลังจากเหตุแผ่นดินไหว 1 ชั่วโมงเท่านั้น โดยเวลาคลื่นซัดสะพานทุ่นที่กระบี่ ประมาณ ก่อน 12.00 น.


เมื่อนำเอาองค์ประกอบสุดท้ายมาเทียบว่า ถ้าคลื่นซัดสะพานทุ่นที่กระบี่ ประมาณ 12.00 น. จะต้องมีแผ่นดินไหวบริเวณหมู่เกาะอันดามัน อินเดีย เวลาประมาณ 11.00 น. แต่จากข้ออมูลที่มีการรายงานเข้ามาพบมีเพียงการเกิดแผ่นดินไหวในช่วงเวลา 09.35 น. ซึ่งทำให้เหตุคลื่นซัดสะพานทุ่นที่กระบี่อาจไม่เข้าข่ายผลกระทบแผ่นดินไหว

----------

นายอุดมพร กาญจน์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงความพร้อมของจังหวัดภูเก็ตในการรับมือหากเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ


หลังจากประชาชนมีความกังวล เนื่องจากในช่วง 1-2 นี้มีรายงานการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณหมู่เกาะอันดามัน จำนวนร่วม 30 ครั้ง และห่างจากภูเก็ตประมาณ 400-500 เมตร โดยกล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตมีความพร้อมในการจะรับมือเหตุการณ์ดังกล่าว


โดยเรามีหอเตือนภัยรอบเกาะ 19 หอ ซึ่งจะมีการทดสอบสัญญาณจากการเปิดเพลงชาติเวลา 08.00 น. ของทุกวันพุธ ซึ่งที่มีผ่านมามีเสียงสัญญาณดี หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะสามารถส่งสัญญาณเตือนภัยผู้ที่อยู่บริเวณชายฝั่งได้เป็นอย่างดี โดยมีเสียง 5 ภาษา อาทิ ไทย อังกฤษ จีน รัสเซีย เป็นต้น รวมทั้งในเรื่องของเส้นทางหนีภัยต่างๆ ซึ่งมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ


ขณะเดียวกัน เมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้มีการปรับปรุงในส่วนของสัญลักษณ์เส้นทางการหนีภัยไปยังจุดปลอดภัยในพื้นที่ต่างๆ รอบเกาะ และในวันที่ 20 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ จะมีการฝึกซ้อมอพยพหนีภัยสึนามิ ในพื้นที่ อ.ถลาง เพื่อเตรียมความด้านต่างๆ ทั้งการสั่งการการเตรียมความและการอพยพหนีภัย

--------------

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ฝนตก ดังนี้

  • ภาคเหนือ : ร้อยละ 40 ของพื้นที่
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ร้อยละ 40 ของพื้นที่
  • ภาคกลาง : ร้อยละ 40 ของพื้นที่
  • ภาคตะวันออก : ร้อยละ 60 ของพื้นที่
  • ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) : ร้อยละ 60 ของพื้นที่
  • ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) : ร้อยละ 60 ของพื้นที่
  • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล : ร้อยละ 60 ของพื้นที่         


รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/Rt-OyjL70bw

คุณอาจสนใจ

Related News