สังคม

'หมอประสิทธิ์' คาดปลายเดือน พ.ค. ผู้ติดเชื้อจะเริ่มลดลง พบผู้เสียชีวิตโดนทำลายปอดน้อยลง

โดย weerawit_c

24 เม.ย. 2565

264 views

วานนี้ (23 เม.ย.) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ระบุถึง การประกาศโควิด สู่โรคประจำถิ่นว่า ตั้งแต่โควิด-19 ระบาด ตอนนี้ เป็นครั้งแรก ที่องค์การอนามัยโลก ออกมาประกาศ ว่าภายในปลายปีนี้ มีโอกาสที่บางประเทศ สามารถเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นได้ โดยก่อนหน้านี้ ยังดูท่าทีของการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน และการกลายพันธุ์ต่างๆ ที่เร็วขึ้นแต่ไม่รุนแรง



ส่วนตัว มองว่า การที่ประเทศไทยจะตั้งเป้าหมาย ในเดือนกรกฎาคม ให้โควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น มีความเป็นไปได้ แต่ต้องดูควบคู่กับ ข้อมูลการระบาด และสถานการณ์โควิดด้วย โดยเฉพาะหลังสงกรานต์ หากสมมติพุ่งสูงถึง 2-3 แสนรายต่อวัน เดือนกรกฎาคม สถานการณ์การติดเชื้อคงลงไม่ทัน



อย่างไรก็ตาม คงต้องดูว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ 4 หลักเกณฑ์หรือไม่ คือ ติดเชื้อต่อวันน้อยกว่า 1 หมื่น อัตราการเสียชีวิตต่ำ ผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลอัตราครองเตียงอยู่ที่ร้อยละ10 และการฉีดวัคซีนที่มากพอ หากไทยเข้าสู่ 4หลักเกณฑ์ดังกล่าว การเข้าสู่โรคประจำถิ่นในเดือนกรกฎาคม มีโอกาส



โดย ส่วนตัวมองว่า ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม ถึง ปลาย พฤษภาคม จำนวนผู้ติดเชื้อคงเริ่มลดลง แต่สถานการณ์ตอนนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อคงจะพุ่งสูงไปอีก 2-3 สัปดาห์ ส่วนอัตราการเสียชีวิต อย่างช้าปลายเดือนพฤษภาคม จะเห็นตัวเลขที่ค่อยๆลดลง อาจจะทำให้ปลายพฤษภาคม เริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวก



ขณะที่การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ของศิริราชพยาบาล พบว่า ลักษณะอาการของผู้ป่วยโควิดในปีนี้จะแตกต่างจากปีที่แล้ว โดยในช่วงเดลตาระบาด กลุ่มผู้ป่วย ติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มสีแดง ปัญหาใหญ่ที่พบและทำให้สูญเสียผู้ป่วย อันดับ1 คือ ปอดและเรื่องระบบทางเดินหายใจ โดยมีผู้ป่วยที่อาการหนักมากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน



แต่ปีนี้ จากข้อมูลล่าสุด ผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19ที่ศิริราชรับดูแล แบ่งเป็นร้อยละ 30 คือผู้ป่วยที่มีปัญหา เกี่ยวกับทางเดินหายใจ อัพเดท เช่น มีภาวะปอดอักเสบ แต่อีกร้อยละ70 เป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิค 19 ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคร่วมของตัวเอง เช่น เบาหวานกำเริบ ไตวาย หัวใจทำงานแย่ลง โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้เนื่องจากมีโรค ประจำตัวอยู่แล้วพอติดเชื้อ โควิด-19 ทำให้ภูมิในร่างกาย ทำงานได้ไม่เต็มที่และแย่ลง แต่พบว่าในส่วนของปอดไม่ได้ถูกทำลาย ซึ่งไม่เหมือนช่วงเดลตาระบาดปีที่แล้ว โดยสอดคล้องกับข้อมูลจากทั่วโลกที่ระบุว่า โอมิครอน ไม่ค่อยลงปอด



ส่วนสถานการณ์ทั่วโลก จากการรวบรวมข้อมูลทั่วโลก ถึงวันที่13 เมษายน พบว่าสถานการณ์การติดเชื้อทุกทวีปเริ่มลดลง แต่อัตรการการติดเชื้อจะลงหรือช้า อาจจะแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยการฉีดวัคซีนของแต่ละที่ แต่อัตราการเสียชีวิตยังคงสูงอยู่ ขณะเดียวกันทั่วโลก ก็ยังมี ประชาชนจำนวนหนึ่ง ที่ไม่ยอมฉีดวัคซีน โดยประเทศที่จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงก็เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆมากขึ้นเช่นการไม่ต้องใส่หน้ากากอนามัยทำให้โอกาสที่เชื้อจะแพร่กระจาย ก็ง่ายขึ้นทำให้คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนกลับกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงมากยิ่งขึ้น


รับชมผ่านยูทูบ : https://youtu.be/JfMfAoYp63w

คุณอาจสนใจ

Related News