สังคม

สธ. เตรียมปรับแผนรักษาผู้ป่วยโควิดเป็นผู้ป่วยนอก

โดย sujira_s

28 ก.พ. 2565

108 views

ก.สาธารณสุข เตรียมปรับแผนรักษาผู้ป่วยโควิด -19 เป็น ผู้ป่วยนอก สามารถกลับไปรักษาที่้บ้านได้ ส่วนที่เข้ารับการรักษา เน้นปอดอักเสบ-ใช้ท่อหายใจ เตรียมพร้อมสู้โรคประจำถิ่น


นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลง สำหรับสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย ขณะที่ผู้ติดเชื้อในแถบยุโรป สหรัฐอเมริกามีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้ยังพบจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคและผู้เดินทางระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกภูมิภาค ทำให้มีผู้ป่วยปอดอักเสบ ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป กลุ่มที่มีโรคเรื้อรังและผู้ที่ยังได้รีบวัคซีนไม่ครบโดส และเข็มกระตุ้น



จากข้อมูล ผู้เสียชีวิต 666 รายตั้งแต่ 1 มกราคม -18 กุมภาพันธ์ 2565 พบผู้เสียชีวิตเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 82 โดยในจำนวน 666 รายนั่น ไม่มีประวัติการรับวัคซีน 387 ราย รับวัคซีนแล้ว 1 เข็ม 66 ราย รับวัคซีนครบ2 เข็ม 197 ราย และรับวัคซีน3เข็มขึ้นไป 16 ราย



แต่ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิต ในช่วงการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ยังน้อยกว่าช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา


ด้านการคาดการณ์ จำนวนผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและมีอาการปอดอักเสบยังอยู่น้อยกว่าการคาดการณ์ซึ่งระบบสาธารณสุขยังรองรับได้


ด้านการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ ยืนยันว่ามียาเพียงพอ โดยทางองค์การเภสัชกรรมสำรองยาไว้ 16.9 ล้านเม็ด มีการแจกจ่ายไปทั้ง 12 เขตสุขภาพ ประมาณ 13.3 ล้านเม็ด และใน กรุงเทพ มหานคร ประมาณ3.49 ล้านเม็ด คงสำรองไว้ยังคลังองค์การเภสัชกรรม ประมาณ 65000 เม็ด นอกจากนี่ยังมีแผนจัดหาและผลิตยาได้เพิ่มอีก 87.6 ล้านเม็ด โดยจะได้รับในช่วงเดือน กุมภาพันธุ์ จนถึงเดือน เมษายน 2565



หลังจากนี่แนวทางการรักษา ผู้ป่วยโควิด -19 ในข่วงขาขึ้นตอนนี้ ที่ผู้ติดเชื้อไม่มีอาการหรือกลุ่มอาการน้อย ใช้ระบบ ATK First คือตรวจเจอผลบวกด้วย ATK และส่งต่อสู่ระบบรักษา OPD หรือเป็นแบบ ผู้ป่วยนอกเข้ามารับยา และ HI First คือกลับไปรักษาตัวที่บ้าน ส่วนในกลุ่มที่ต้องรับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล จะเน้นกลุ่มปอดอักเสบและต้องใช้ท่อช่วยหายใจ ทั้งนี้จะเริ่มปรับใช้แนวทางปฏิบัตินี้ตั่งแต่ 1 มีนาคม เป็นต้นไป


ด้าน นายแพทย์ สมศักดิ์ อรรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผย แนวทางเตรียมพร้อมการรักษาโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น จะปรับเป็นรูปแบบการนักษาผู้ป่วย หรือ OPD



ข้อมูลถึงวันที่ 25 พบว่ามีผู้ป่วยโควิด-19 ที่อยู่ในระบบรักษาตัวที่บ้านกว่าร้อยละ 56.36 และทำการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ในเตียงระดับหนึ่ง คือ เตียงผู้ป่วยสีเขียวร้อยละ 36.10  ทำให้เห็นว่าการระบาดรอบนี้ผู้ป่วยโควิด-19 เกินครึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวไม่มีอาการเหลือการน้อยมาก ซึ่งสามารถรับยา ทำการรักษาตัวที่บ้านได้ ซึ่งสามารถเข้ารับการรักษาได้ที่คลีนิคทางเดินหายใจของแต่ละโรงพยาบาลได้



การรักษาโควิด-19 รูปผู้ป่วยนอกOPD จะเป็นการรักษาเสริม กับระบบการรักษาตัวที่บ้าน HI และในศูนย์พักคอย  CI หรือในฮอลพิเทล หรือในโรงพยาบาลสนาม



ทั้งนี้ หากประชาชนที่ติดเชื้อ เข้ารับการรักษาแบบ OPD ยังคงต้องแยกกักตัวที่บ้าน, จ่ายยาตามอาการ, โทรติดตามอาการ ครั้งเดียว คือภายใน 48 ชั่วโมง, จะไม่มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน, แต่จะมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง



ส่วนการเข้ารักษาตัวที่บ้านหรือ  ยังคงแยกกักตัวที่บ้าน, จ่ายยาตามอาการ, จะมีการโทรติดตามอาการทุกวัน, มีอุปกรณ์ตรวจประเมิน, และมีระบบส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง และจะมีบริการอื่นๆเช่นนำส่งอาหาร



ขณะที่นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุ ขณะนี้การระบาดของโควิด -19 เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอาการป่วยน้อย และไม่มีอาการ ทางกรมควบคุมโรค ได้ปรับแนวทางการป้องกันควบคุมโรค สำหรับผู้สัมพัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง กับผู้ตืดเชื้อโควิด -19 ให้แยกกักตัว 7 วัน และตรวจ ATK ในช่วงวันที่ 5-6 จากวันที่สัมพัสผู้ป่วย หลังจากนั่นสามารถออกนอกบ้านได้ แต่ให้คงมาตรการป้องกันควบคุมโรค และสังเกตึอาการต่ออีก 3 วัน ให้ตรวจ ATK ในวันที่ 10 นับจากสัมพัสผู้ติดเชื้อ อีก1ครั่ง หากไม่พบเชื้อถือว่าครบระยะกักตัว



ทั่งนี้ข้อมูลในต่างประเทศ  จะพบการระบาดสูงสุด 1-2 เดือน และจะค่อยๆ ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับประเทศไทยที่พบการติดเชื้อโควิคที่เพิ่มขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา  อาการเด่นที่พบในผู้ป่วยโควิดในช่วงนี้ คือ พบผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอมากขึ้น



นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมการแพทย์ อธิบายเพิ่มเติมถึงแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ เน้นการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยต้องแยกกักตัวที่บ้าน ให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์  กลุ่มนี้จะไม่ให้ยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ เนื่องจากส่วนมากหายเองได้  อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรแต่จะไม่ให้ยาฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาต้านไวรัสเนื่องจากอาจมีผลข้างเคียง และจะไม่มีการให้ยาฟาวิพิลาเวียร์ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากผลศึกษาพบว่ายามีผลต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลอง



ผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรงไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือภาพถ่ายเอกซเรย์ปอดปกติอาจพิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวีย์ เร็วที่สุด



หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัสต่อผู้ป่วย เนื่องจากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน



ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วม หรือ เป็นผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบเล็กน้อย แต่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน แนะนำให้ยาต้านไวรัสเพียง 1 ชนิดโดยพิจารณาจากโรคประจำตัวของผู้ป่วย

คุณอาจสนใจ

Related News