สังคม

มหาดไทย ใช้กฎหมายเก่าแก้ปัญหากักตุน "เนื้อสุกร" พร้อมเปิดแผนการบังคับขาย

โดย pattraporn_a

6 ก.พ. 2565

35 views

กระทรวงมหาดไทย เดินหน้าใช้กฎหมายสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ ปี 2497 เพื่อร่วมสำรวจโกดังและห้องเย็นที่แช่แข็งเนื้อสุกร ที่เผชิญวิกฤติราคาแพงจากโรคระบาด พร้อมเปิดแผนการบังคับขาย หากผลพิจารณาของคณะกรรมการพบว่ามีการกักตุน


ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา คณะกรรมการกลางสำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ประกาศเขตการสำรวจการกักตุน ทั่วราชอาณาจักรแล้ว และขณะนี้ทุกจังหวัดกำหนดให้เนื้อสุกร เป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการที่มีครอบครองเกิน 5 พันกิโลกรัม ต้องแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บ ต่อนายอำเภอท้องที่ ซึ่งเป็นมาตรการเพิ่มเติมจาก พรบ.ควบคุมโรคระบาด ของกรมปศุสัตว์ และประกาศกระทรวงพาณิชย์ แต่เข้มงวดกว่าตรงที่ หากคณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาว่า การกักเก็บนั้น เข้าข่ายกักตุน จะมีอำนาจนำไปสู่การบังคับขาย ต่อผู้บริโภคได้ คุณมนตรี อุดมพงษ์ มีรายละเอียดครับ


เจ้าหน้าที่กรมการปกครอง ได้เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการร่วมสำรวจสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะเนื้อสุกร ที่กำลังเผชิญวิกฤติราคาสูงเป็นประวัติการณ์จากรโรคระบาดอหิวาต์แอฟฟริกาในสุกร ซึ่งที่จริงแล้ว พระราชบัญญัต สำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2497 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยไว้ตั้งแต่ปี 2497 หรือ 68 ปีก่อน


กระทั่งวิกฤติราคาเนื้อสุกรครั้งนี้ ทำให้กระทรวงมหาดไทยประกาศเขตสำรวจทั่วราชอาณาจักร และผู้ว่าราชการทุกแห่งประกาศให้เนื้อสุกร เป็นสินค้าที่ต้องสำรวจ


นับจากนี้ผู้ที่มีเนื้อ หรือซากสุกรไว้ในครอบครอง น้ำหนักตั้งแต่ 5 พันกิโลกรัมขึ้นไป ต้องแจ้งสถานที่ครอบครอง และปริมาณที่มีต่อนายอำเภอในท้องที่ และผู้ที่มีเนื้อสุกรตังแต่ 5 พันกิโลกรัมขึ้นไป ต้องแจ้งทั้งพาณิชย์จังหวัด ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ ต้องแจ้งขออนุญาตเคลื่อนย้ายจากปศุสัตว์จังหวัด และแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่


นายรณรงค์ ทิพย์ศิริ ผู้อำนวยการศูนย์ปฎิบัติการบังคับใช้กฎหมายพนักงานฝ่ายปกครอง กรมการปกครอง ให้เหตุผลว่าแม้ที่ผ่านมา มีการสำรวจพบเนื้อสุกรเก็บไว้ตามห้องแช่แข็ง แต่เมื่อผู้ประกอบการเสียค่าปรับ และศาลไม่ริบของกลาง หรือพนักงานอัยการไม่ริบของกลาง ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นก็ยังถูกเก็บที่เดิม โดยไม่ถ่ายเทออกสู่ผู้บริโภค พรบ.สำรวจการกักตุนโภคภัณฑ์ นี้จึงมีบทบาทที่จะนำไปสู่การพิจารณาว่าเข้าข่ายกักตุน หรือไม่ หากใช่ จะนำไปสู่การบังคับขายได้


ตอนนี้การสำรวจพบเนื้อสุกรที่อยู่ระหว่างจับตาที่สุด คือกรณีการอายัดเนื้อสุกกว่า 9 แสนกิโลกรัม ที่ห้องเย็นแห่งหนึ่ง ที่อ.เมืองนครปฐม ที่หากถึงที่สุดแล้วชี้แจงการครอบครองไม่ได้ และหากเข้าข่ายกักตุน อาจเป็นกรณีแรกที่จะถูกบังคับขาย โดยนายอำเภอเมืองนครปฐม ระบุว่าหากบังคับขชาย คือรัฐกำหนดสถานที่และเวลาให้ ส่วนราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด โดยให้ผู้ครอบครองเป็นผู้ขายเอง


กรมปศุสัตว์รายงานผลการตรวจหองเย็นสินค้าปศุสัตว์สะสมตั้งแต่ 20 มกราคม ถึง 5 กุมภาพันธ์ ทั้งสิ้น 1320 แห่ง พบเนื้อสุกรคิดเป็ฯ 25 ล้านกิโลกรัม ขณะที่ผลการดำเนินคดีส่วนใหญ่ ศาลสั่งปรับ และไม่ริบของกลาง ส่วนกรณีที่นครปฐมล่าสุด ไดรับการยืนยันว่ากระทรวงมหาดไทยให้ตรวจสอบว่าเนื้อสุกรมีเชื้อ ASF หรือไม่ หากพบว่ามี อาจมีคำสั่งทำลายทิ้ง

คุณอาจสนใจ

Related News