สังคม

ไทยยังไม่ประกาศ โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น - 'อนุทิน' ตั้งเป้า 'COVID Free Country' ตายเป็นศูนย์

โดย weerawit_c

29 ม.ค. 2565

35 views

ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2565 รวม 8,618 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยจากในประเทศ 8,402 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 216 ราย ผู้ป่วยสะสม 200,655 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)





หายป่วยกลับบ้าน 8,358 ราย หายป่วยสะสม 149,512 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 83,939 ราย เสียชีวิต 19 ราย





วานนี้ (28 ม.ค.) นายแพทย์ เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันขณะนี้ประเทศไทยยังไม่ได้ประกาศ โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น





การประกาศล่าสุด เป็นการประกาศเกณฑ์ เพื่อทำแผนด้านต่างๆ เพื่อวางมาตรการและกลวิธี การรักษาโรคไม่ให้มีปัญหา ในเบื้องต้นตั้งเป้าว่าจะประกาศโรคโควิด19 ให้เป็นโรคประจำถิ่น ให้ได้ภายในปีนี้ โดยได้กำหนดแผนไว้ 2 เฟส เฟสแรกจะใช้เวลา 6 เดือน เฟส 2 ก็จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน หากประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นแล้ว การรักษาผู้ป่วยก็ใช้การรักษาตามสิทธิบัตรทองทั่วไป





การจะประกาศไม่ใช่เพิ่งคิด แต่ผ่านการติดตามประเมินผล จากการประชุม EOC มานานกว่า 2 ปีแล้ว ซึ่งในช่วง 2 ปี ประชุม EOC ไปแล้วกว่า 411 ครั้ง





ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางและระยะเวลาการทำให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ว่า เราประเมินสถานการณ์ ทั้งอาการผู้ป่วย สัดส่วนผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อ เราไม่ได้ต้องการดูที่ตัวเลข แต่เราต้องการลดความรุนแรงของโรคและสามารถอยู่กับมันได้ เราไม่อยากขี่ช้างจับตั๊กแตน หากมันไม่แรงก็ต้องรับมืออย่างเหมาะสม ไม่ใช่ทุ่มเทสรรพกำลังโดยที่ฤทธิ์ของมันยังอยู่เท่าเดิม ทุกอย่างจะได้ก้าวหน้าต่อไปได้



ส่วนเรื่อง COVID Free Country มีความหมายอย่างไร นายอนุทิน กล่าวว่า หมายถึงประเทศที่ปลอดโควิดหรือควบคุมโควิดได้ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการให้เป็นเช่นนั้นไม่ใช่หรือ ปลอดได้อย่างไร ก็ด้วยวัคซีน ยา ความร่วมมือของประชาชน Universal Prevention คำว่าโควิดฟรีไม่ได้หมายความว่าไม่มีในโลกนี้ แต่โควิดทำอะไรเราไม่ได้ ซึ่งเราพยายามทำให้ไปในทิศทางนั้นให้ได้ ไม่ได้ทำให้การติดเชื้อเป็น 0 แต่เป้าหมายการเสียชีวิตต้องเป็น 0 ซึ่ง 2 ปีที่แล้วก็ทำได้มาแล้ว เป็น 0 มาได้ถึง 6-7 เดือน


รับชมทางยูทูบที่ :https://youtu.be/6xh2DCIrul4

คุณอาจสนใจ

Related News