สังคม

เตือน! อย่ากิน 'ไส้กรอก' ไม่มียี่ห้อ ไม่มีฉลาก หลังทำเด็กป่วยเมทฮีโมโกลบิน 6 ราย

โดย passamon_a

29 ม.ค. 2565

244 views

เตือนภัย เด็กกินไส้กรอก ไม่มียี่ห้อ ไม่มีฉลาก ก่อนป่วยด้วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน จำนวน 6 ราย ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ออกประกาศ เตือนอันตรายของไส้กรอก


ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์ "เตือนภัย!!!! ขอเรียกว่าเวรไส้กรอกร้าย อันตรายมากค่ะ ช่วงนี้พ่อแม่ผู้ปกครองต้องระวังมากๆนะคะ

เด็กพี่น้อง 2 คน มา ER ด้วยอาการปากเขียวคล้ำ (central cyanosis) O2 80% อาเจียน ซึม สับสน หลังทานไส้กรอก 1-2 แท่ง ไม่มียี่ห้อ 2 ชั่วโมง PTA ไม่มีโรคประจำตัวอื่น ให้ O2 therapy on ETT ไม่response เลือดสีดำ chocolate เจาะ ABG มี O2 saturation gap ให้นึกถึงภาวะ Methemoglobinemia


ขอบคุณทีมหมอพยาบาล ER รพ.แมคคอร์มิค ทุกคนไวมาก ขอบคุณพี่ทิพย์ มาก ๆ ที่ขับรถมากจากบ้านมาช่วยกันช่วยเหลือคนไข้ เพราะมาทีเดียว pack คู่ พร้อมนั่งรถรีเฟอร์กันคนละคันไปส่งด้วยอีก ขอบคุณ อจ.พี่เติร์ก ศูนย์พิษรามา ที่ให้คำปรึกษาน้องตลอดหลายเคส ๆ จนอยากเรียน toxico เพิ่มอีกบอร์ด 55 เพิ่งมาเห็นข่าวเช้านี้ว่ากำลังระบาดทั่วไทย จนออกประกาศ warning แล้ว สุดท้ายขอบคุณทีมสวนดอก ที่รับเคสไวมากก คนไข้ทั้ง 2 ปลอดภัยแล้ว อยากแชร์เคสเผื่อใครเจอและผู้ปกครองจะได้ระมัดระวังกันค่ะ"


ต่อมา ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊กประการเตือน ไส้กรอกที่ไม่รู้ที่มาที่ไป ระบุข้อความว่า ALERT เตือนเฝ้าระวัง!! อย่ากินไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัดหรือไม่น่าเชื่อถือ สัปดาห์ที่ผ่านมี เด็กป่วยด้วยภาวะ เมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) จำนวน 6 ราย ใน 5 จังหวัด (เชียงใหม่ 2 ราย, เพชรบุรี 1 ราย, สระบุรี 1 ราย, ตรัง 1 ราย, กาญจนบุรี 1 ราย) โดยทั้งหกรายมีประวัติกิน ไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ


อาการของผู้ป่วยคือ คลื่นไว้ เวียนศีรษะ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ ในขณะนี้ยังไม่มีรายใดที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต


ภาวะ Methemoglobin เป็นภาวะที่ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกออกซิไดช์โดยสารออกซิแดนท์ต่าง ๆ กลายเป็น methemoglobin ทำให้สูญเสียความสามารถในการขนส่งออกซิเจน และสีของเม็ดเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ


ผู้ป่วยจะมีอาการของการขาดออกซิเจนเช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เขียว หากรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อยมาก เลือดเป็นกรด ความดันโลหิตต่ำและเสียชีวิตได้


ด้าน อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ อธิบายในการผลิตไส้กรอกที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีการเติมสารไนเตรท-ไนไตรท เยอะกว่าปกติ หรืออาจผสมไม่ดีทำให้มีบางส่วนมีปริมาณสารสูงเกินกว่าที่ควรได้



รับชมทางยูทูบที่ :https://youtu.be/vZl3txzq1FU

คุณอาจสนใจ

Related News