เลือกตั้งและการเมือง

อธิบดีกรมปศุสัตว์ โล่ง! ‘บิ๊กตู่’ เข้าใจโรคระบาดหมู ขอเวลาพลิกสถานการณ์ 8-12 เดือน

โดย nicharee_m

15 ม.ค. 2565

90 views

วานนี้ (14 ม.ค.65) นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์กิจจา อุไรรงค์ ภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เข้าพบพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในประเด็นการแก้ไขปัญหา อหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ส่งผลทำให้ราคาเนื้อสุกรภายในประเทศไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์

โดยนายสัตวแพทย์สรวิศ เปิดเผยแพร่หลังที่แจ้งต่อ นายกรัฐมนตรีว่า ได้เรียกมาถามว่ากรมปศุสัตว์ ขณะนี้ได้มีการแก้ไขปัญหาอย่างไรไปถึงไหน ซึ่งนายกรัฐมนตรีนั้นเข้าใจ ซึ่งต้องการให้เดินหน้าไปด้วยกัน โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ ดำเนินการเรื่องของการควบคุมโรค เร็วที่สุด และมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และฟื้นฟูเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ว่าจะมีการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง

นอกจากนี้ในเรื่องของการพัฒนาวัคซีน ซึ่งเกิดมาร้อยกว่าปีแต่ยังไม่มีวัคซีน และแนวทางการสำรวจว่าสุกรที่สูญหายไปจากระบบ กว่าร้อยละ 50-60 เป็นจริงหรือไม่ ซึ่งได้ขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานเช่นกระทรวงมหาดไทย โทรหาปศุสัตว์อย่างเดียวมีคนน้อยคงทำงานไม่ได้ และทำให้ประชาชนผู้บริโภคเดือดร้อนน้อยที่สุด

ขณะที่การตรึงราคาสินค้าสุกร ต้องคุยกับกรมการค้าภายใน นายกรัฐมนตรีรับทราบมาโดยตลอด ว่ากรมปศุสัตว์ทำอะไรตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

ส่วนกระแสข่าวที่บอกว่ากรมปศุสัตว์นั้นปกปิดการแพร่ระบาด นายสัตวแพทย์สรวิศ ชี้แจงว่า เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีเข้าใจ เนื่องจากได้รายงานนายกรัฐมนตรีโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2561 ที่แพร่ระบาดในประเทศจีน และปี 2562 ทำอะไรไปบ้างยกระดับสู่การเป็นวาระแห่งชาติ หากเราปกปิด ไม่เช่นนั้นเราส่งออกไปต่างประเทศ 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งเวียดนามและกัมพูชาคงไม่ได้ เพราะจะต้องมีการตรวจโรค จึงเป็นคำตอบที่สำคัญ

ส่วนการของบประมาณ 574 ล้านบาทเพื่อเยียวยา ฟื้นฟูเกษตรกรรายย่อย จากการลดความเสี่ยง เกิดโรคระบาด ตามหลักระบาดวิทยาของสัตวแพทย์ ที่จะต้องมีการประกาศการแพร่ระบาดและให้รัฐบาลเป็นผู้ชดเชยเยียวยา ซึ่งจะเป็นการชดเชย จะครอบคลุมเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยไม่ ไม่ครอบคลุมผู้ประกอบการรายใหญ่

ขณะที่ นายกรัฐมนตรี มีการขีดเส้นตายในการแก้ไขปัญหา หรือไม่ อธิบดีกรมปศุสัตว์ระบุว่าไม่ โดยนายกรัฐมนตรีขอให้ช่วยเหลือกัน กับเพื่อน เพราะต้องเข้าใจว่าโรคนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิด 34 ประเทศทั่วโลก แต่นายกรัฐมนตรีได้ถามตนว่าราคาสุกร ทั้งระบบจะแล้วเสร็จเมื่อใด ซึ่งตนก็มีการรายงานไปว่าจะใช้เวลา 8 - 12 เดือน

ขณะที่วานนี้ที่นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปว่า ไม่ทราบว่าหมูหายไปไหน อธิบดีกรมปศุสัตว์ชี้แจงว่า ปกติถ้ามีการแจ้งมากรมปศุสัตว์ก็จะมีการตรวจสอบ และเก็บตัวอย่าง ซึ่งนายกรัฐมนตรีข้อสั่งการให้สำรวจว่าสุกรนั้นมีอยู่เท่าไหร่

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการหารือกับนายกฯรัฐมนตรีแล้วเสร็จอธิบดีกรมปศุสัตว์และนายสัตวแพทย์กิจจา ได้สวมกอดให้กำลังใจกันด้านหลังตึกไทยคู่ฟ้า

หลังเข้าชี้แจงปัญหาหมูแพงต่อนายกรัฐมนตรี อธิบดีปศุสัตว์ เรียกประชุมด่วนปศุสัตว์ทั่วประเทศ พร้อมสั่งตั้งวอร์รูม ควบคุมป้องกันโรคอย่างเข้มข้น และชี้แจงต่อประชาชนทุกวัน

โดยได้สั่งการให้ทุกเขตและจังหวัดจัดตั้ง WARROOM เพื่อสื่อสารข้อมูลกับประชาชนและรายงานการดำเนินงานทุกวันต่อผู้บริหารอย่างทันท่วงที ทุกพื้นที่ให้การบังคับใช้กฎหมายในการควบคุมป้องกันและการเคลื่อนย้ายสัตว์ต้องโปร่งใส ไม่มีการสร้างเงื่อนไข และให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นหลัก ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มแก่เกษตรกร สำรวจการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูและปริมาณหมูที่คงเหลือในระบบ

พร้อมทั้งสำรวจปริมาณความต้องการประชาชนต่อการบริโภคและใช้เนื้อหมูในประเทศ รวมทั้งปริมาณการส่งออก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์บริหารจัดการแก้ไขปัญหาความต้องการสุกรทั้งระบบ ให้ศึกษาการเพิ่มผลผลิตสุกรแม่พันธุ์และลูกหมูในระบบการเลี้ยงที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพและการช่วยเหลือบริการเกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อยและรายเล็ก การช่วยเหลือด้านอาหารสัตว์และศึกษาวิจัยด้านอาหารสัตว์เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิต การร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น พาณิชย์ในการตรวจสอบห้องเย็น เพื่อป้องกันการกักตุนสินค้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะมาถึง การรายงานโรคตามระบบรายงานโรคระบาดในสุกรให้ดำเนินการตามมาตรการที่แจ้ง

ด้าน เพจ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจสถานกาณ์ โรค ASF ว่ามี ผลกระทบต่อคนอย่างไร และ เนื้อหมูยังสามารถบริโภคได้หรือไม่  ซึ่งจากรูปดังกล่าว ยังคงยืนยันได้ว่า หมูยังทานได้ตามปกติ




ชมผ่าน YouTube ได้ที่นี่ : https://youtu.be/0eOHUWttFeE

คุณอาจสนใจ

Related News