สังคม

ศาลแพ่ง นัดฟังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ฟ้องถอนข้อกำหนดคุมสื่อ 6 ส.ค. นี้

โดย pattraporn_a

2 ส.ค. 2564

56 views

ศาลแพ่งรับคำร้องกรณีตัวแทนสื่อและประชาชน ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ขอให้เพิกถอนข้อกำหนดที่ 29 ใน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เรื่องการปิดกั้นอินเตอร์เน็ตผู้โพสต์ข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว และรับไต่สวนฉุกเฉินขอคุ้มครองชั่วคราว สอบโจทก์และพยานแล้วเสร็จ โดยนัดฟังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ ในวันที่ 6 สิงหาคม


ศาลแพ่งรัชดา รับคำร้องกรณีภาคีนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน และ 12 สื่อ ประกอบด้วย The Reporters ,The Momentum, Voice, echo, The Standard, The Matter, ประชาไท, Demall, The People, Way Maxgazine, The People, Plus Seven และประชาชนเบียร์ ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี


โดยขอให้เพิกถอน ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ให้อำนาจ กสทช. "ตัดเน็ต" ผู้โพสต์ข้อความอันอาจ ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว เนื่องจากอยู่ในอำนาจพิจารณของศาลยุติธรรม และศาลได้รับคำร้องไต่สวนฉุกเฉินขอคุ้มครองชั่วคราว และให้ตัวแทนโจทย์ และพยาน รวม 5 รายได้เบิกความ ก่อนที่ศาลนัดฟังคำสั่งว่าจะคุ้มครองหรือไม่ ในวันที่ 6 สิงหาคม เวลา 13.30 น.


นายนรเศรษฐ์ หนองนาตูม ทนายความ เปิดเผยว่า ข้อกำหนดที่ 29 ขัดต่อหลักกฏหมายอาญา เพราะกฏหมายจะต้องมีความชัดเจนแน่นอน ไม่คลุมเครือ หรือกำกวม แต่การกำหนดลักษณะนี้อาจทำให้ตีความได้ว่า แม้นำเข้าความจริง หรือเสนอข่าวตามความเป็นจริง ก็อาจจะเป็นความผิด และขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ ที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสาร ตามมาตรา 34 มาตรา 35 และมาตรา 26


และข้อกำหนดนี้ยังให้อำนาจ กสทช.ในการระงับข้อมูลและระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ต ที่ไม่ได้สัดส่วนของบทลงโทษ อีกทั้งข้อกำหนดตามมาตรา 9 ของ พรก.ฉุกเฉิน ไม่ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี สั่งให้ มีการระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ตได้ จึงเป็นการออกข้อกำหนดเกินกว่าที่กฏหมายให้อำนาจ


ทางด้าน น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters ในฐานะโจทก์ เปิดเผยว่า ข้อกำหนดที่ 29 ยังละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่ปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และกิติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ICCPR


โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่มีความรุนแรงต่อชีวิตของประชาชน การออกข้อกำหนดที่ ไม่ชัดเจนเพราะในข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า ประชาชนมีความหวาดกลัวต่อความตายจากโรคระบาด และร้องขอความช่วยเหลือให้เข้ารับการรักษา เช่นกรณีการช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด ที่มีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตไปแล้ว สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเพื่อป้องกันการสูญเสีย ที่มาจากข้อเท็จจริง และยังปิดกั้นการสื่อสารของประชาชน ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้


ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์ วิไลวรรณ จงวิไลเกษม อาจารย์คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในฐานะพยานผู้เชี่วชาญ ยืนยันว่า ข้อกำหนดฉบับที่ 29 ขัดต่อสิทธิการสื่อสารและเสรีภาพในการแสดงออก ของประชาชน โดยเฉพาะการเสนอข่าวปลอมหรือ fake News รัฐสามารถใช้กฏหมายที่มีอยู่ในการดำเนินการกับผู้กระทำผิดได้ เช่น กฏหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์ และกฏหมายหมิ่นประมาท


นอกจากนี้ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ อดีต กสทช. และนายอรรถพงศ์ ลิมศุภนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเตอร์เน็ต ชี้แจงถึงการสั่งระงับการให้บริการอินเตอร์เน็ต และการปิดกั้น IP Address ยังส่งผลกระทบในวงกว้าง และ ไม่ได้อยู่ในอำนาจของ กสทช. รวมถึงคำสั่งนายกรัฐมนตรีในการแต่งตั้ง เลขาธิการ กสทช.มาเป็นหัวหน้าศูนย์แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในการอินเตอร์เน็ต

คุณอาจสนใจ

Related News