สังคม

รายงานพิเศษ การเลื่อนฉีดวัคซีน 'แอสตราเซเนกา' อาจส่งผลกระทบแผนการผ่อนปรนมาตราการ

โดย weerawit_c

13 มี.ค. 2564

43 views

เป็นประเด็นที่ต้องพูดถึงเมื่อ มีการแถลงเลื่อนการฉีดวัคซีนโควิด -19 ของบริษัทแอสตราเซเนกาที่เดิมตั้งเป้าจะฉีดให้กับนายกรัฐมนตรี เป็นคนแรก และคณะรัฐมตรีอีกบางส่วน แต่มีรายงานพบผลข้างเคียงในการใช้วัคซีนจากประเทศในฝั่งยุโรปที่พบรายงานผู้เสียชีวิตหลังเข้ารับวัคซีน แต่อย่างไรก็ตาม ไทยก็มีการใช้วัคซีนโควิด-19 อีกบริษัทไปก่อนหน้านี้แล้ว นำไปสู่การผ่อนปรนนโยบายบางส่วน การใช้วัคซีนโควิด-19 ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลง



วัคซีนโควิด-19 ของบริษัทซิโนแวค ประเทศจีน เป็นวัคซีนชนิดแรกที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งตามมติของคณะกรรมการบริหารจัดการวัคซีน โควิด-19 กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์คือกลุ่มแรกที่ได้รับวัคซีน และขยายต่อไปยังกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีการระบาด



ขณะที่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นอีกกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องได้รับวัคซีนของบริษัทแอสตราเซนิกา ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้สั่งซื้อมาแล้ว 117,300 โดส ซึ่งตามแผนจะเริ่มฉีดเข็มแรกให้กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่กลับจะต้องชะลอออกไปก่อน ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย จากการพบมีผู้เสียชีวิตในประเทศเดนมาร์กหลังเข้ารับการฉีดวัคซีน



ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุขระบุมีผู้รับวัคซีนของบริษัทซิโนแวคแล้ว 33,000 คน ในจำนวนนี้ พบผู้รับวัคซีน 2,984 รายหรือประมาณร้อยละ 9 ที่มีมีอาการไม่พึงประสงค์ ทั้งอาเจียน มีไข้ ปวดศีรษะ รวมถึงอาการท้องเสีย มีการตั้งข้อสังเกตุว่าวัคซีนของซิโนแวค อาจจะไม่ได้ผลมากนัก เมื่อหลายคนที่ฉีดเข็มแรก กลับไม่มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น



การเริ่มฉีดวัคซีน ทำให้ไทยเริ่มผ่อนปรมมาตรการต่างๆ และเปิดรับนักท่องเที่ยวพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้เงื่อนไข มีเอกสารรับรองปลอดโรคโควิดและวัคซีน พาสปอร์ต หรือการลดระยะเวลาการกักตัวลง



ตามแผนควบคุมโรคต้องมีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้น การชะลอการใช้วัคซีนของบริษัทแอสตราเซนิกาซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เลือกเป็นวัคซีนหลักที่จะฉีดให้กับประชาชนกว่า 31.5 ล้านคน อาจส่งผลกระทบแผนการผ่อนปรนมาตราการในระยะของไทยที่อาจล่าช้า เพื่อรอข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดจากทางบริษัทผู้ผลิตว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นและมีการเสียชีวิตนั้นมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการรับวัคซีนหรือไม่

คุณอาจสนใจ

Related News