ต่างประเทศ

ทำความรู้จัก ‘ภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม’ โรคที่ ‘บรูซ วิลลิส’ ต้องเผชิญ

โดย nattachat_c

17 ก.พ. 2566

682 views

เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2565 โลกบันเทิงต้องพบกับข่าวร้าย บรูซ วิลลิส ดาราฮอลลีวู้ดชื่อดัง ต้องยุติอาชีพนักแสดงแล้ว หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่า กำลังป่วยกับโรคภาวะการสูญเสียการสื่อความ หรือ อาเฟเซีย (Aphasia)  ซึ่งกระทบต่อความสามารถในการพูดและเขียน


ต่อมา เอมมา เฮมิง วิลลิส ภรรยาของบรูซ วิลลิส ได้เปิดเผยว่า ตอนนี้ เขาถูกวินิจฉัยว่าป่วยโรคสมองเสื่อม ประเภทสมองส่วนหน้าเสื่อม (frontotemporal dementia) ซึ่งทำให้แฟนๆ และเพื่อนๆ นักแสดง ต่างออกมาให้กำลังใจกันเป็นจำนวนมาก


ว่าแต่…‘ภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม’ มันคืออะไร เรามาทำความรู้จักกับมันกัน


จากข้อมูลของ สมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองส่วนหน้าเสื่อม (The Association for Frontotemporal Degeneration – AFTD) ได้ระบุว่า โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม (FTD) เป็นกลุ่มของความผิดปกติของสมอง เกิดจากความเสื่อมของสมองส่วนหน้า (หรือขมับ) ซึ่งสมองส่วนนี้เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ พฤติกรรม และภาษา


โรคสมองส่วนหน้าเสื่อมนั้นแตกต่างจากอัลไซเมอร์ เนื่องจากมันชนิดย่อยที่หลากหลาย แถมผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมส่วนหน้ามักจะอายุน้อยกว่าผู้ที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ โดยจะอยู่ในช่วงอายุ 40 ต้นๆ ถึง 60 ต้นๆ 


AFTD กล่าวว่า โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม นั้น ผลกระทบต่องาน ครอบครัว และการเงินมากกว่าโรคอัลไซเมอร์อย่างมาก เนื่องจากอายุที่เริ่มเป็นโรคนี้ จะมีอายุน้อยกว่าอัลไซเมอร์


ถ้าถามว่าโรคนี้มีคนเป็นเยอะมั้ย ก็ต้องบอกว่าไม่ เมื่อเทียบกับประชากร เพราะว่าทาง AFTD ประมาณการว่ามีประมาณ 50,000 ถึง 60,000 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมส่วนหน้าในสหรัฐอเมริกา


แต่สิ่งที่เลวร้ายคือ เนื่องจากโรคนี้มีความหลากหลาย ผู้ป่วยจึงมักได้รับการวินิจฉัยผิดพลาดว่าเป็นอัลไซเมอร์ โรคซึมเศร้า โรคพาร์กินสัน หรืออาการทางจิตเวช และโดยทั่วไปจะใช้เวลามากกว่าสามปี จึงจะวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง


และถ้าถามว่า สาเหตุของโรคนี้คืออะไร ก็ต้องบอกว่า ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีใครรู้สาเหตุที่แท้จริงของภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม แต่องค์กรทางการแพทย์หลายแห่งกล่าวว่า น่าจะมีความเกี่ยวของกับความผิดปกติทางพันธุกรรม


ส่วน ดร. พอล ชูลซ์ ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา แห่งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเท็กซัส กล่าวว่า บาแผลทางจิตใจ (Trauma) อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคสมองส่วนหน้าเสื่อม


มหาวิทยาลัย จอนส์ ฮอปกินส์ มหาวิทยาลัยทางการแพทย์ระดับโลก กล่าวว่า บางคนที่มีภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม จะมีโครงสร้างเล็กๆ ที่เรียกว่า Pick body ในเซลล์สมอง (Pick bodies คือ การมีปริมาณ หรือชนิดของโปรตีนที่ผิดปกติ)


ภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม จะส่งผลต่อพฤติกรรม และบุคลิกภาพ อาจทำให้เกิดปัญหาในการพูด และในบางกรณีอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว รวมถึงอาการทั่วไปอื่นๆ ซึ่งมีเยอะมากๆ แต่จะมีอาการทั่วไปดังนี้


หุนหันพลันแล่น, ชอบทำพฤติกรรมบังคับซ้ำๆ เช่น การเคาะ ตบมือ หรือตบปาก, สูญเสียความเห็นอกเห็นใจ, สูญเสียทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อื่นๆ เช่น มีความรู้สึกต่อผู้อื่น, อารมณ์แปรปรวนบ่อย, ขาดวิจารณญาณ, ไม่แยแสต่อสิ่งใด, พฤติกรรมการกินเปลี่ยนไป (กินมากเกินไป ชอบกินของหวาน หรือกินวัตถุที่กินไม่ได้), ฟุ้งซ่าน, มีปัญหาในการหาคำที่เหมาะสมเพื่อใช้กับคำพูดหรือชื่อวัตถุ, ไม่รู้ความหมายของคำอีกต่อไป, ไม่สามารถสร้างประโยคในการสื่อสารได้


ความเลวร้ายของมันร้ายกาจมากๆ คือ ภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม ‘จะแพร่กระจาย’ ไปตามส่วนต่างๆ ซุ่งผู้ป่วยแต่ละรายมีอาการเฉพาะตัว เนื่องจากขึ้นอยู่กับว่าโรคเกิดขึ้นที่ส่วนใด และมันก็ส่งผลต่อการแพร่กระจายว่า มันจะกระแพร่กระจายไปที่ส่วนไหน และมันจะทำให้เกิดอาการ/โรค อื่นๆ ตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป แล้วสุดท้ายก็กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง


สิ่งที่เรารู้สึกเศร้าจริงๆ เมื่อนักแสดงที่เรารักต้องพบเจอคือ มันยังไม่มีวิธีรักษาภาวะสมองเสื่อมส่วนหน้า AFTD กล่าวว่า ไม่มีการรักษาใดที่สามารถชะลอหรือหยุดการลุกลามของโรคได้ มันจะเป็น "การบำบัดตามอาการ" แทนการรักษาอาการ


ยาที่ให้สามารถช่วยอาการได้อย่างมากเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของบุคคลนั้นดีขึ้น แต่มันไม่สามารถรักษาโรคได้

AFTD ระบุว่า ภาวะสมองส่วนหน้าเสื่อม อาจนำไปสู่ปัญหาที่คุกคามชีวิต เช่น โรคปอดบวม การติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บจากการหกล้ม โดยโรคปอดบวมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด


ผู้ป่วยโรคนี้ จะไม่ได้เสียชีวิตเพราะโรคนี้ แต่จะเสียชีวิตเพราะอาการข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์


และที่น่าเศร้าที่สุด คือ อายุขัยเฉลี่ยของผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มมีอาการ คือ 7 ถึง 13 ปี

--------------





















คุณอาจสนใจ