24 ธ.ค. 2567
“กิตติรัตน์” ไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ “นายกฯ” บอกให้เป็นไปตามขั้นตอน
paranee_s
คุณต้องการล้างการแจ้งเตือนทั้งหมด?
ผู้เสียหายโวย! ถูกขบวนการคอลเซ็นเตอร์หลอกโอนเงิน 1.5 ล้านบาท คล้ายชาล็อต แต่คดีล่าช้า รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ ยิ่งเห็นข่าวนางงามคนดัง รู้สึกมาตรฐานการดำเนินคดีไม่เหมือนกัน ต่างจากตัวเองเป็น ปชช.ธรรมดา ด้าน รรท.ผบช.สอท. ยันทุกคดีมีมาตรฐานเดียวกัน
วานนี้ (19 ธ.ค.) ภายหลังจากตำรวจไซเบอร์ แถลงความคืบหน้าคดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกลวงเยาวชนอายุ 17 ปี ที่อาจมีความเชื่อมโยงกับคดีนางงามชาล็อต ปรากฏว่ามีผู้เสียหายอีก 1 ราย ชื่อคุณส้ม (นามสมมุติ) อายุ 25 ปี ได้เข้ามาพูดคุยกับทีมข่าว ระบุว่าตนเองถูกหลอกในลักษณะพฤติการณ์เดียวกันกับนางงามชาล็อตและต้องการติดตามเร่งรัดความคืบหน้าของคดี เพราะคดีผ่านมา 1 เดือนแล้ว ไม่มีความคืบหน้า
ผู้เสียหาย เล่าว่า ช่วงเช้าวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ตนได้รับสายโทรศัพท์จากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ติดต่อเข้ามา โดยอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง พร้อมระบุว่า บัญชีเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ก่อนข่มขู่และเกลี้ยกล่อมให้ตนไปอยู่คนเดียวและแอดไลน์เพื่อคุยถึงรายละเอียดต่าง ๆ ในคดีและวิธีการแก้ไข ซึ่งตนก็ยอมที่จะแยกตัวไปพูดคุยคนเดียว
โดยคนร้ายใช้วิธีการข่มขู่ว่า จะอายัดบัญชีและดำเนินคดีต้องเดินทางมาชี้แจงที่สถานีตำรวจภายใน 30 นาที ซึ่งตนไม่สามารถทำได้ คนร้ายจึงให้ video call โดยพบว่าบุคคลที่ตนพูดคุยได้แต่งกายด้วยเครื่องแบบของตำรวจอย่างแนบเนียน มีอุปกรณ์ประกอบฉากเป็นธงข้าราชการตำรวจ และพูดคุยด้วยภาษาไทยชัดเจน ซึ่งคนร้ายใช้ภาษาราชการและคำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตำรวจได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้คนร้ายได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมา Video Call พูดคุยกับเธอถึง 2 คน โดยช่วงระหว่างการผลัดเปลี่ยนก็จะปิดกล้องหน้าแล้วคนใหม่มานั่งคุยแทน
จากนั้นคนร้ายได้ข่มขู่ให้ถ่ายรูปบัตรประชาชนและส่งเลขบัญชีไปให้ ซึ่งตนก็หลงเชื่อส่งไปให้ด้วยความกลัวและแพนิค ด้วยความที่ตนเองไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน อีกทั้งคนร้ายยังรู้ข้อมูลของเธออย่างละเอียด ก่อนที่คนร้ายจะนำข้อมูลบัตรประชาชนมาค้นหาและสามารถบอกรายละเอียดรอบ ๆ บ้านของตนได้อย่างถูกต้อง พร้อมกันนี้ยังได้แจ้งอายัดบัญชีธนาคารของตน ซึ่งตนก็ถูกอายัดบัญชีจริง ๆ
ภายหลังจากการสนทนากันนานกว่า 5 ชั่วโมง คนร้ายก็ได้ส่งเอกสารอ้างว่ามาจากธนาคารแห่งประเทศไทยและหลายหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ DSI และตำรวจไซเบอร์ โดยระบุเลขบัตรประชาชนและชื่อของตนอย่างถูกต้อง อ้างว่าคดีของตนนั้นเป็นคดีที่ร้ายแรงและเป็นคดีลับพิเศษ ต้องทำการตรวจสอบทรัพย์สินของตน มิเช่นนั้นจะต้องถูกยึดอายัด เพื่อให้เป็นการตรวจสอบว่าทรัพย์สินของเธอมีที่มาโดยชอบหรือไม่ ต้องโอนเงินเข้ามาที่บัญชีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียด โดยไม่ให้ใส่จุดทศนิยม
ด้วยความที่ตนกลัวและแพนิคเป็นทุนเดิม จึงหลงเชื่อโอนเงินธนาคารอีกบัญชีหนึ่งไปให้คนร้ายจำนวน 1.5 ล้านบาท จนหมดบัญชี โดยเป็นการโอนครั้งเดียวทั้งหมด ไม่นานนัก แฟนของตนก็ได้เข้ามาพบเพื่อสอบถามว่าพูดคุยกับใคร เนื่องจากเห็นผิดสังเกต เมื่อตนบอกรายละเอียดกับแฟนหนุ่ม ตนก็ถูกแฟนหนุ่มแย่งโทรศัพท์มาตัดสายแล้วบอกว่าเป็นพวกสแกมเมอร์ จึงทำให้ตนได้สติ แล้วรีบไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวน สน.ยาน ก่อนจะไปแจ้งอายัดบัญชีธนาคาร แต่กว่าจะสามารถอายัดบัญชีเงินธนาคารได้ พบว่าเงินของตนถูกโอนไปยังบัญชีกระเป๋าดิจิตอลของคนร้ายทั้งหมดแล้วโดยใช้เวลาเพียงแค่ 1 นาทีเท่านั้น
สิ่งที่ทำให้ช้ำใจและต้องมาร้องกับสื่อมวลชนคือ ผ่านมาแล้ว 1 เดือน ไม่มีตำรวจนายใดแจ้งความคืบหน้าทางคดีให้ทราบ บางครั้งไปติดต่อที่สถานีตำรวจก็เหมือนกับต้องไปขอให้เขาช่วยทำงาน จึงทำให้รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจและยิ่งเมื่อเห็นข่าวของนางงามคนดัง ยิ่งรู้สึกว่ามาตรฐานในการดำเนินคดีไม่เหมือนกัน และเชื่อว่าเป็นเพราะนางงามคนดังกล่าวเป็นคนดัง จึงมีเสียงมีช่องทางในการร้องเรียนหรือกระตุ้นให้ตำรวจไล่ติดตามจับกุมคนร้ายได้ ซึ่งต่างกับตนเองที่เป็นเพียงประชาชนธรรมดา แต่ก็ยังเชื่อมั่นว่าตำรวจจะสามารถดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ต้องหาดังกล่าวได้ และขอให้ผู้เสียหายที่โดนหลอกในลักษณะเดียวกัน มารวมตัวเพื่อช่วยกันส่งเสียงดังขึ้นหรือเกิด awareness อันก่อให้เกิดความยุติธรรม
ในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้เข้ามาพบกับผู้เสียหายจึงเข้ามาสอบถาม พร้อมเรียกตำรวจไซเบอร์ที่กำลังทำงานอยู่ในบริเวณนั้นเข้ามารับเรื่องและตรวจสอบคดี
พล.ต.ท.ไตรรงค์ ระบุ จะรับเรื่องของผู้เสียหายไปตรวจสอบ เพื่อจะได้ช่วยติดตามเร่งรัดคดีให้ ยืนยันจะดำเนินการในทุก ๆ คดีให้มีมาตรฐานเท่ากัน ไม่ว่าผู้เสียหายจะเป็นใครก็ตาม ยอมรับว่าคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในปัจจุบันมีจำนวนผู้เสียหายสูงขึ้นอย่างน้อยวันละ 1,000 คน ล่าสุดจำนวนผู้เสียหายทะลุ 3 แสนกว่าคน อีกทั้งยังมีปัจจัยแทรกซ้อนสำคัญอีก 3 ปัจจัยที่ทำให้คดีล่าช้าคือ
1) ผู้เสียหายใช้เวลานานในการเข้าแจ้งความกับตำรวจ
2) การนำพยานหลักฐานต่าง ๆ มามอบให้พนักงานสอบสวนล่าช้า
3) พนักงานสอบสวนดำเนินการทางคดีล่าช้า จึงทำให้การอายัดบัญชีเส้นทางการเงินและติดตามตัวคนร้ายล่าช้าตามไปด้วย
รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/WiJx6pJvVmw
โดย thichaphat_d
20 ธ.ค. 2567
282 views
24 ธ.ค. 2567
paranee_s
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
passamon_a
24 ธ.ค. 2567
passamon_a
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
24 ธ.ค. 2567
23 ธ.ค. 2567