17 ต.ค. 2567
มาก่อน ได้ก่อน! ชาวหนองคาย-นักท่องเที่ยว เริ่มจับจองมุมดีริมโขง รอชม ‘บั้งไฟพญานาค’
nattachat_c
คุณต้องการล้างการแจ้งเตือนทั้งหมด?
กรุงเทพ, 17 ตุลาคม 2567 – ในวันขจัดความยากจนสากลของปีนี้ (International Day for the Eradication of Poverty หรือ #EndPoverty Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 17 ตุลาคมของทุกปี องค์การยูนิเซฟได้เน้นย้ำถึงปัญหาการตีตราและการเลือกปฏิบัติต่อผู้ที่ยากจน โดยในประเทศไทย ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีทั่วประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและยูนิเซฟ พบว่า ประชาชนรู้สึกว่าตนเองถูกเลือกปฏิบัติเพราะความยากจนมากกว่าสาเหตุอื่น ๆ เช่น อายุ เพศ ศาสนา หรือความพิการ ถึง 3 เท่า
นางคยองซอน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า "ความยากจนไม่ใช่แค่เรื่องการขาดเงินหรือทรัพยากร แต่ยังเชื่อมโยงกับการถูกตีตราและกีดกันทางสังคม เด็กจากครอบครัวยากจนมักขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา การรักษาพยาบาล และการคุ้มครอง ซึ่งส่งผลให้พัฒนาการถูกจำกัดและตกอยู่ในวงจรความยากจนข้ามรุ่น อีกทั้งยังมักถูกตำหนิและได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม หากเราต้องการสร้างสังคมที่เป็นธรรมและก้าวหน้า เราต้องยุติการตีตราและสร้างหลักประกันว่าเด็กทุกคนจะสามารถเข้าถึงสิทธิของตนและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและเกื้อกูล โดยไม่คำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจ"
การศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา พบว่า คนยากจนมักถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น รูปลักษณ์ ที่อยู่อาศัย หรือลักษณะส่วนบุคคลอื่น ๆ ทำให้พวกเขารู้สึกถูกตีตรา ไม่ได้รับความเคารพ และไร้อำนาจต่อรอง สถานการณ์นี้ยิ่งรุนแรงขึ้นสำหรับผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติด้านอื่นด้วย เช่น เพศสภาพ วิถีทางเพศ เชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์
นางคิมกล่าวเสริมว่า "ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะตกอยู่ในความยากจน โดยกลุ่มที่เปราะบางเป็นพิเศษคือ ครอบครัวที่มีลูก ครอบครัวที่มีรายได้ทางเดียว คนที่มีหนี้สินหรือไม่มีเงินออม และครอบครัวที่ดูแลลูกที่พิการ นอกจากนี้ เหตุการณ์วิกฤตในชีวิต เช่น การเจ็บป่วย การตกงาน หรือภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม อาจทำให้คนตกอยู่ในความยากจนอย่างกะทันหันได้"
การศึกษาทั่วโลกพบว่า คนยากจนมักเผชิญปัญหาจากหน่วยงานที่ควรช่วยเหลือพวกเขา โดยบริการหลายส่วนไม่ตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พวกเขารู้สึกไร้อำนาจและถูกทอดทิ้ง บ่อยครั้งที่หน่วยงานต่าง ๆ กลับกีดกันไม่ให้พวกเขาเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและบริการจำเป็น เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพ และการคุ้มครองทางสังคม
ประสบการณ์ของยูนิเซฟทั่วโลกพบว่า การคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุม การศึกษา และการดูแลสุขภาพ เป็นกุญแจสำคัญในการทำลายวงจรความยากจน โครงการคุ้มครองทางสังคมและเงินอุดหนุนได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถช่วยลดความยากจนและช่วยให้ครอบครัวสามารถลงทุนในการศึกษาและสุขภาพของเด็กได้ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ครอบครัวรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว
ในประเทศไทย โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในปัจจุบันมุ่งเน้นให้เงินอุดหนุนรายเดือนแก่เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปีในครอบครัวยากจน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดพบว่าเด็กยากจนร้อยละ 34 ทั่วประเทศกลับไม่ได้รับเงินอุดหนุนรายเดือนตามสิทธิ์ เนื่องจากปัญหาการคัดกรองและการลงทะเบียน ยูนิเซฟจึงเรียกร้องให้มีการขยายโครงการนี้ให้ครอบคลุมเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีทุกคนเพื่อแก้ปัญหาการตกหล่น อีกทั้งยังช่วยลดความยากจนและช่วยให้เด็กได้เริ่มต้นชีวิตอย่างดีที่สุด
นอกจากนี้ ยูนิเซฟยังรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันยุติการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อคนยากจน พร้อมทั้งสร้างหลักประกันว่า ระบบและนโยบายต่าง ๆ จะตอบสนองความต้องการและช่วยให้พวกเขารู้สึกมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี
โดย thichaphat_d
17 ต.ค. 2567
12 views
17 ต.ค. 2567
nattachat_c
17 ต.ค. 2567
17 ต.ค. 2567
17 ต.ค. 2567
nattachat_c
17 ต.ค. 2567
thichaphat_d
17 ต.ค. 2567
thichaphat_d
17 ต.ค. 2567
17 ต.ค. 2567
17 ต.ค. 2567
17 ต.ค. 2567
17 ต.ค. 2567
17 ต.ค. 2567
16 ต.ค. 2567
16 ต.ค. 2567
16 ต.ค. 2567
16 ต.ค. 2567
16 ต.ค. 2567
16 ต.ค. 2567
16 ต.ค. 2567