24 ต.ค. 2567
พาดูโมเดลอาคารคาร์บอนต่ำ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 50 เท่า ประยุกต์สู่งานศิลป์-วิทยาศาสตร์ วช.
เรามาดูตัวอย่างการปรับปรุงอาคารเก่าให้เป็นอาคารหลังใหม่ด้วยการใช้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งพบว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึงเกือบ 50 เท่า และตอนนี้เปิดใช้แล้วอย่างเป็นทางการในสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ขณะเดียวกันก็มีตัวอย่าง ของการนำงานศิลปกรรม บูรณาการร่วมกับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ จนสามารถรักษางานศิลปะจากยุคกรุงศรีอยุธยาได้ กลับมาสวยดังเดิม
อาคารเก่าอายุกว่า 30 ปี ภายในสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ที่ถูกทิ้งร้างมานานหลังนี้ เพิ่งผ่านการปรับปรุงเสร็จสิ้นและกลับมาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบแล้ว โดยทีมนักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการรื้อถอน ก่อสร้าง
เช่น การนำเศษซากอาคารมาใช้ยกระดับพื้น เพื่อลดการขนย้าย / การใช้วัสดุธรรมชาติจากไม้ยางพารา / และการออกด้วยวัสดุอื่นๆ
จนวันนี้ เมื่ออาคารหลังนี้กลับมาเปิดใช้ ก็ยังคงแนวคิดการใช้งานอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยห้องกิจกรรมนี้เป็นต้นแบบของห้องอัจฉริยะ ติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดจำนวนคน คุณภาพอากาศ อุณหภูมิห้อง ซึ่งปรับได้อัตโนมัติ
ผู้ร่วมวิจัยระบุว่า จากการตรวจวัดและคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึงกว่า 50 เท่า.... จากนี้คือการติดตามผลด้านความคงทน ของวัสดุปอุปกรณ์ที่นำมาใช้ ซึ่งผ่านมา 1 ปี ก็ยังพบว่ามีประสิทธิภาพคงทน โดยคาดว่าอาคารนี้จะยังสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องอย่างน้อยไปอีก 40-50 ปี
นอกจากงานด้านวัสดุศาสตร์แล้ว ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ระบุว่า ปัจจุบัน วช. ได้ให้นักวิจัยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีจากงานด้านสังคมศาสตร์ และ ศิลปกรรมศาสตร์ มาบูรณการกับงานด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้
งานวิจัยการผลิตกระจกเกรียบตามอย่างโบราณ เป็นตัวอย่างของงานศิลปกรรมที่ถอดรหัสด้วยวิทยาศาสตร์ สู่การบูรณะและต่อยอดงานศิลปกรรมไทยในวัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม และ วัดสุทัศนเทพวราราม โดยใช้เทคนิคของรังสีเอ็กซ์ มาประยุกต์กับสูตรประจำตระกูลที่ส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น ของ ดร.รัชพล เต๋จ๊ะยา เจ้าของงานวิจัย จนได้สีกระจกเกรียบที่ใกล้เคียงกับวัสดุที่ใช้จริงในประวัติศาสตร์ 2 ยุค คือ กรุงศรีอยุธยา และ ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีเอกลักษณ์ชองสีเฉพาะตัว
นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวระหว่างศิลปะกับวิทยาศาสตร์อย่างง่าย ผ่านผีเสื้อที่นำองค์ความรู้ แสง สี เสียง และงานวัสดุศาสตร์มารวมกัน ให้ผู้คนตระหนักถึงการบูรณาการระหว่างศาสตร์ต่างๆ โดยยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นงานที่น่าสนใจ จัดแสดงในโอกาสครบรอบ 65 ปี วช. ไปจนถึงวันที่ 24 ตุลาคมนี้ ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
โดย panwilai_c
22 ต.ค. 2567
121 views
EP อื่นๆ
24 ต.ค. 2567
24 ต.ค. 2567
24 ต.ค. 2567
24 ต.ค. 2567
เหยื่อถูกหลอกเทรด บ.WCF รวมตัวยื่นหนังสือถึงประธานสภาฯ ขอช่วยทวงความคืบหน้าคดี
parichat_p
24 ต.ค. 2567
ผบ.ตร.สั่งสอบ อาญา-วินัย 'พ.ต.อ.' เเต่งเต็มยศขึ้นพูดงาน 'ดิไอคอน' พูดชวนขายตรง
parichat_p
24 ต.ค. 2567
24 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
ภาคประชาสังคม จัดกิจกรรมร้องความเป็นธรรมให้เหยื่อคดีตากใบ 'ทวี' ยันติดตามตัว ผตห.เต็มที่
panwilai_c
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
ยอดผู้เสียหาย 'ดิไอคอน' ทะลุกว่า 7,000 ราย ตร.เผยเร่งหาหลักฐาน ขยายผลกลุ่มแม่ข่าย
panwilai_c
22 ต.ค. 2567
22 ต.ค. 2567
22 ต.ค. 2567