เปิดเบื้องหลังภารกิจ แพทย์อาสา 'สร้างรอยยิ้ม' ลุยช่วยผู้ป่วยปากเเหว่ง-เพดานโหว่ ตั้งเป้ารักษาทะลุ 700 คน ปีนี้

สำหรับท่านที่มีบุตรหลาน ป่วยภาวะปากเเหว่ง-เพดานโหว่ หรือมีเเผลยึดหดรั้งจากไฟไหม้ เเต่กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เเละก็ไม่รู้ว่าจะต้องไปรักษาที่ไหนอย่างไร



ล่าสุด "มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม" ยังเปิดให้ผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษา หรืออยากร่วมบริจาค ก็สามารถเข้ามาลงทะเบียน หรือเเจ้งความประสงค์ได้ทางเว็บไซต์ โดยทางมูลนิธิฯมีเจ้าหน้าที่เเละอาสามัครทางการเเพทย์ช่วยดูเเลรักษาทุกขั้นตอน ต่อเนื่องจากที่เรานำเสนอเมื่อวาน มาดูกันว่าความเปลี่ยนเเปลงหลังผ่าตัดเป็นอย่างไร ทำไมการรักษาปากเเหว่ง-เพดานโหว่ ถึงสำคัญเเละจำเป็นต้องรีบเข้ามารักษา



ภาวะปากเเหว่ง-เพดานโหว่ มีโอกาสเกิดได้ด้วยหลายปัจจัย กรรมพันธุ์ส่วนหนึ่ง สิ่งเเวดล้อม โรคประจำตัว ความเครียด อาหารการกิน ก็เป็นองค์ประกอบร่วมที่อาจทำเกิดความบกพร่องกับทารกเเรกเกิด



ข่าว 3 มิติ ได้คุยกับผู้ปกครองของเด็กที่เป็นคนไข้ในโครงการ "มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม" หลังผ่านการผ่าตัดเเรก ดูเเลติดตามอาการต่อเนื่องจนถึงวันนี้ ผ่านมา 11 ปี



ภาพเปรียบเทียบก่อนเเละหลังผ่าตัด จะเห็นได้ชัดเจนถึงความเปลี่ยนเเปลงที่ริมฝีปากเเละใบหน้า ดีใจที่สุดก็คือ การได้เห็นลูก ๆ กินได้ พูดสื่อสารได้ เเละได้ใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับเด็ก ๆ ทั่วไป จึงขอขอบคุณทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เธอเเละครอบครัวได้รู้จัก เเละได้มาเจอกับ"มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม"



รศ. นพ. อภิชัย อังสพัทธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางการแพทย์ภาคสนาม อธิบายถึงเเนวทางรักษา สำคัญก็คือเรื่องของเวลา คือยิ่งรักษาเร็ว ก็จะส่งผลดีต่อพัฒนาการตามวัย



นอกจากปากเเหว่ง-เพดานโหว่ มูลนิธิฯยัง ดูเเลรักษาผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุไฟไหม้ หรือเจอเหตุการณ์เลวร้าย ที่มีผลทำให้ผิวหนังหด-ยึดรั้ง



มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน จิตอาสา เเละอาสมัครทางการเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 400 คน ออกเดินทางช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่มานานกว่า 20 ปี



วางเเผน-เเบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ตั้งเเต่ลงทะเบียน คัดกรอง เเผนกบันทึกภาพคนไข้ ห้องผ่าตัด ห้องพักฟื้น ห้องพักผู้ป่วย หรือเเม้เเต่ทีมงานสร้างรอยยิ้ม เช่นโตโน่ ภาคิน ถ้าไม่ติดอะไร ก็จะอาสาทมาส่งกำลังใจให้น้อง ๆ เเละผู้ปกครองในทุก ๆ ครั้งที่ออกหน่วย



เราได้พบกับป้าเหม็ง กุณฑลี สูตรสุวรรณ อดีตพยาบาลข้าราชการบำนาญวัย 76ปี ตั้งเเต่ก่อนเเละหลังเกษียณ ป้าเหม็งก็ร่วมออกหน่วยเเพทย์ร่วมกับมูลนิธิมาโดยตลอด ปัจจุบันรับผิดชอบห้องพักฟื้นหลังผ่าตัด



จากศรีสะเกษ เป้าหมายต่อไปในต้นเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่เเม่สอด จ.ตาก มีผู้ป่วยลงทะเบียนเเล้ว 120 คน ปีนี้ มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ตั้งเป้ารักษาให้ได้ประมาณ 700-1,000 คน

โดย panwilai_c

21 ก.ย. 2567

82 views

EP อื่นๆ