24 ต.ค. 2567
เปิดคำอธิบายแพทย์ วัคซีน mRNA กระตุ้นโรคร้ายจริงหรือไม่?
มีความเคลื่อนไหวเรื่องวัคซีน ป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ที่ตอนนี้ทั่วโลกยึดเป็นวัคซีนหลัก เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการป้องกันการหลบภูมิของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนได้ดีที่สุดในขณะนี้ แต่ก็มีคำถามตามมาถึงผลข้างเคียงในระยะยาวที่เกิดขึ้น เพราะ mRNA เป็นวัคซีนเทคโนโลยีใหม่ ที่เพิ่งนำมาใช้ครั้งแรกกับสถานการณ์โควิด-19 เราจะมาย้อนดูไทม์ไลน์และข้อมูลของวัคซีนชนิดนี้กันนับตั้งแต่วันแรก
ย้อนกลับไปวันที่ 31 มกราคม หรือ วันสิ้นปี 2562 ทั่วโลกรับรู้ถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นครั้งแรก หลังพบผู้ติดเชื้อในมณฑลอู่ฮั่นประเทศจีน นับตั้งแต่นั้นจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นจนสะสมเกินกว่า 669 ล้านคน
แม้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดจากหลายประเทศทั่วโลกจะเน้นหลักการใส่หน้ากากอนามัยและ Social Distacing จนวิถี New normal กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน แต่นั่นก็ไม่อาจทำให้ไวรัสชนิดนี้หยุดยั้งการแพร่ระบาดลงได้
กระทั่งช่วงเดือนมีนาคมบริษัทผู้ผลิตวัคซีนหลายแห่งทั่วโลกเริ่มพัฒนาวัคซีน ออกมาหลายชนิด ทั้งชนิดเชื้อตาย โปรตีนพืช ไวรัสเป็นพาหะ และ mRNA ซึ่งถือเป็นวัคซีนที่องค์การอนามัยโลก อนุมัติให้ใช้งานได้ทันทีภายในภาวะฉุกเฉิน
ผ่านมา 3 ปี เหลือวัคซีนที่มีประสิทธิภาพป้องกันการหลบภูมิ ของเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดในตอนนี้ได้เพียงชนิดเดียว คือ วัคซีนชนิด mRNA เช่น ไฟเซอร์และโมเดอนาร์ ที่ราวร้อยละ 60 ซึ่งถือว่าลดลงมามากจากเดิมที่เคยป้องกันได้กว่าร้อยละ 90
ขณะที่ในช่วงที่ผ่านมามีผลงานวิจัยที่ศึกษาผลข้างเคียงทั้งอาการเบื้องต้น และ โรครุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนชนิด mRNA เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคลิ่มเลือดอุดตัน ไปจนกระทั่งเป็นสาเหตุการกระตุ้นของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้หรือไม่ เนื่องจากปกติแล้วกระบวนการผลิตวัคซีนต้องอาศัยระยะเวลาการติดตามผลอย่างน้อย 1 ปี
ซึ่งเทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เป็นการฉีดชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของไวรัสเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสร้างโปรตีนภูมิคุ้มกันขึ้นในส่วนหนาม หรือส่วนสไปค์ แล้วสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา จนทำให้เกิดความกังวลถึงผลข้างเคียงที่อาจตามมาในระยะยาวหรือไม่
ปัจจุบันทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว กว่า 13,247 ล้านโดส มีประชากรได้รับวัคซีนไปแล้วกว่า 5 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 65.4 ของประชากรทั่วโลก
ขณะที่ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว กว่า 144,570,456 โดส โดยมีผู้ได้รับวัคซีนมากกว่า 1 เข็ม 53,673,080 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 77.17 ของประชากรทั้งประเทศ โดยมีวัคซีนหลักเป็นแอสตราเซเนกา ที่เป็นชนิดไวรัสเป็นพาหะ และ ไฟเซอร์ ที่เป็น mRNA
ท่ามกลางความกังวลในข้อสงสัยของวัคซีนโควิด-19 ข่าว3มิติ ได้หาคำตอบมาจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ ที่แม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเนื่องจากต้องอาศัยระยะเวลาศึกษามากกว่านี้ แต่นี่ก็เป็นความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่ได้ศึกษาข้อมูลการใช้วัคซีนและโรคโควิด-19 มานับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการระบาด ถึงงานวิจัยและข้อมูลที่เกิดขึ้นในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา
นายแพทย์อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง อาจารย์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ทั้งที่ตีพิมพ์แล้ว และ อยู่ระหว่างรอตีพิมพ์ มาเปิดเผยกับข่าว 3 มิติ เพื่อชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจตามมาหลังได้รับวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย ทั้งการแพร่กระจายของโปรตีนภูมิคุ้มกันที่ไปทั่วร่างกาย จนเป็นพิษต่อต่อมน้ำเหลือง และ การพบกลุ่มอาการภาวะหัวใจอักเสบ
ข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน จากกรมควบคุมโรค ระบุ ไทยพบผู้มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ จากวัคซีนจริง ในจำนวน 52 คน โดยเกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีนจากไฟเซอร์จำนวน 49 คน และในจำนวนนี้มี 1 คน เสียชีวิต
ศาตราจารย์แพทย์หญิง กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ อาจารย์ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากวัคซีน ระบุว่า อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริง แต่ก็อยู่ในจำนวนที่น้อยมาก หากพิจารณาจากจำนวนผู้ฉีดวัคซีนทั้งหมดกว่า 142 ล้านโดส ซึ่งเป็นไฟเซอร์ประมาณ 48 ล้านโดส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.11 ใน 1 ในแสนคน หรือ 1 ในล้านคนเท่านั้นที่จะเกิดอาการ
ส่วนสิ่งที่สังคมตั้งคำถามถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองว่าเป็นไปได้หรือไม่ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงกุลกัญญา ระบุว่า จากงานวิจัยและข้อมูลอัตราการเกิดของโรคระหว่างก่อนและหลังฉีดวัคซีนโดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาไม่ได้ต่างจากเดิม หรือ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. ระบุ ข้อเท็จจริงของการทำวัคซีนตามหลักสากล จำเป็นต้องติดตามผลเป็นระยะเวลา 5 ปีขึ้นไป ขณะที่เทคโนโลยีใหม่อย่าง mRna มีข้อมูลย้อนหลังเพียง 2 ปีเท่านั้น ซึ่งจากการติดตามงานวิจัยในรอบปีที่ผ่านมายังไม่พบสิ่งที่น่าเป็นกังวล เนื่องจากยังไม่พบความเชื่อมโยงที่กล่าวอ้างได้ แต่สิ่งที่น่าจับตาคือโรคที่ตามมาจากภาวะลองโควิดมากกว่า
ดร.อนันต์ เปิดเผย ความเป็นไปได้หนึ่งที่นักวิจัยจากฝรั่งเศสค้นพบ คือ ภูมิคุ้มกันของผู้ที่ฉีดวัคซีน mrna ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในเข็มที่ 3 และ 4 เมื่อฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป ในจำนวนกลุ่มตัวอย่างกว่า 9 แสนคน สอดคล้องกับงานวิจัยของเยอรมันที่พบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนชนิด mrna ซ้ำกันหลายเข็มจะทำให้แอนติบอดี้มีประสิทธิภาพลดลงเช่นกัน
ความเห็นทั้งหมดนี้ยังไม่ใช่ข้อสรุปถึงผลข้างเคียงของวัคซีนชนิด mRNA เนื่องจากโควิด-19 ยังเป็นโรคอุบัติใหม่ และ เพิ่งมีการปรับใช้วัคซีนกับโรคนี้ จึงต้องอาศัยระยะเวลาติดตามผลต่างๆ อีกอย่างน้อย 5-10 ปีต่อจากนี้ ก่อนจะปักใจเชื่อได้ว่าการใช้วัคซีน mRNA มีผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์หรือไม่
โดย panwilai_c
29 ม.ค. 2566
522 views
EP อื่นๆ
24 ต.ค. 2567
24 ต.ค. 2567
24 ต.ค. 2567
24 ต.ค. 2567
เหยื่อถูกหลอกเทรด บ.WCF รวมตัวยื่นหนังสือถึงประธานสภาฯ ขอช่วยทวงความคืบหน้าคดี
parichat_p
24 ต.ค. 2567
ผบ.ตร.สั่งสอบ อาญา-วินัย 'พ.ต.อ.' เเต่งเต็มยศขึ้นพูดงาน 'ดิไอคอน' พูดชวนขายตรง
parichat_p
24 ต.ค. 2567
24 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
ภาคประชาสังคม จัดกิจกรรมร้องความเป็นธรรมให้เหยื่อคดีตากใบ 'ทวี' ยันติดตามตัว ผตห.เต็มที่
panwilai_c
23 ต.ค. 2567
23 ต.ค. 2567
ยอดผู้เสียหาย 'ดิไอคอน' ทะลุกว่า 7,000 ราย ตร.เผยเร่งหาหลักฐาน ขยายผลกลุ่มแม่ข่าย
panwilai_c
22 ต.ค. 2567
22 ต.ค. 2567
22 ต.ค. 2567