เศรษฐกิจ

สภาอุตฯขอรัฐชะลอขึ้นค่าไฟ อาจทำของแพง ผลักภาระให้ปชช. - กกร.เห็นด้วย ชี้เรื่องนี้รัฐควรจัดการได้

โดย nattachat_c

12 ธ.ค. 2565

134 views

เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 65 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษกกกพ. เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 65 มีมติเห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2566 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. แบกรับในกรณีต่างๆ ดังนี้


กรณีที่ 1 ค่าเอฟที 224.98 สตางค์ต่อหน่วย

  • เอฟทีขายปลีกที่สะท้อนต้นทุน 158.31 สตางค์ต่อหน่วย
  • เงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุน 66.67 สตางค์ต่อหน่วย
  • กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายใน 1 ปี
  • กฟผ.จะต้องรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชน จำนวน 81,505 ล้านบาท
  • ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 6.03 บาทต่อหน่วย


กรณีที่ 2 ค่าเอฟที 191.64 สตางค์ต่อหน่วย

  • เอฟทีขายปลีกที่สะท้อนต้นทุน 158.31 สตางค์ต่อหน่วย
  • เงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุน 33.33 สตางค์ต่อหน่วย
  • กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายใน 2 ปี
  • กฟผ.จะต้องรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชน จำนวน 101,881 ล้านบาท
  • ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 5.70 บาทต่อหน่วย


กรณีที่ 3 ค่าเอฟที 158.31 สตางค์ต่อหน่วย

  • กฟผ.จะต้องรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชน จำนวน 122,257 ล้านบาท
  • ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 5.37 บาทต่อหน่วย


ซึ่ง วันที่ 5 ธ.ค. 65 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบแนวทางการลดภาระค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) ในงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2566 เป็นเวลา 4 เดือน โดยรัฐบาลจะตรึงค่าไฟฟ้าของครัวเรือนไว้ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย 


ส.อ.ท. (สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ขอให้ภาครัฐชะลอการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด และต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมทยอยขึ้นหมด จึงอาจทำให้สินค้าบางประเภทขึ้นราคาได้อีก สุดท้ายจะกลับมากระทบประชาชน


การที่ภาครัฐมีมาตรการดูแลค่าไฟภาคครัวเรือนอยู่แล้ว ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่จะดีที่สุดถ้าดูและทั้งระบบ เพราะหากผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ก็ต้องขึ้นราคาสินค้า พลักภาระไปหาประชาชนอยู่ดี


นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เห็นชอบข้อเสนอของ ส.อ.ท.ที่ขอให้เสนอภาครัฐชะลอปรับขึ้นค่าเอฟทีงวดใหม่ เดือน ม.ค.-เม.ย.66 โดยมี 4 เหตุผล ได้แก่


1. ค่าเอฟทีงวดปัจจุบัน ค่าไฟเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้น 17% กระทบต่อภาคการผลิตอยู่แล้ว ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดรับฟังความเห็น 3 แนวทาง ที่จะขยับเป็น 5.37-6.03 บาทต่อหน่วย จะเป็นการปรับขึ้นรุนแรง 2 งวดติดต่อกัน จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วน อาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยเกินกว่าที่คาดไว้ได้


2. กรณีที่ กกพ.ได้ประมาณการต้นทุนค่าไฟฟ้า ว่าจะลดลงได้ครึ่งหลังปี 66 จึงมองว่าควรชะลอการขึ้นค่าเอฟทีงวด ม.ค.- เม.ย.66 ไว้ก่อน เมื่อต้นทุนค่าไฟฟ้าลดต่ำแล้ว จึงบริหารค่าเอฟทีเพื่อชดเชย และลดภาระที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับแทนผู้ใช้ไฟปัจจุบัน


3. ต้นทุนเชื้อเพลิงที่ กฟผ.แบกภาระแทนประชาชน 120,000 ล้านบาท อยู่ในวิสัยที่รัฐจะบริหาร จัดการให้ กฟผ.รับภาระได้มากขึ้น และนานขึ้นได้กว่า 2 ปี เช่น การชะลอส่งเงินเข้าคลัง


4. ในสถานการณ์ค่าไฟฟ้าปรับขึ้นสูงมาก เศรษฐกิจ ชะลอตัวกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองสูงมากกว่าปกติ จนผู้ใช้ไฟฟ้าต้องแบกรับภาระค่าความพร้อมจ่าย (AP) ของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสูงถึง 30,665 ล้านบาท (งวด ก.ย.-ธ.ค.65) และ 32,420 ล้านบาท (งวด ม.ค.-เม.ย.66)


จึงควรให้ 3 การไฟฟ้าเร่งตัดทอนการลงทุนอย่างเข้มข้น เพื่อนำเงินส่วนนี้ มาช่วยลดค่าไฟฟ้า เนื่องจากเป็นเงินซึ่ง 3 การไฟฟ้าได้เรียกเก็บไว้ในค่าไฟฟ้าฐานล่วงหน้าอยู่แล้ว

--------------



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/EXAqY5-28vU



คุณอาจสนใจ

Related News