เศรษฐกิจ

'บิ๊กตู่' สั่ง กพช.มอบของขวัญปีใหม่ ตรึงค่าไฟงวด ม.ค. - เม.ย.66 ให้เท่าเดิม 4.72 บาท/หน่วย

โดย nattachat_c

6 ธ.ค. 2565

57 views

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบแนวทางการลดภาระค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) ในงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2566 เป็นเวลา 4 เดือน


โดยย้อนกลับไปเมื่อวันที่14 พ.ย. 65 นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษกกกพ. เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 65 มีมติเห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2566 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. แบกรับในกรณีต่างๆ ดังนี้


กรณีที่ 1 ค่าเอฟที 224.98 สตางค์ต่อหน่วย

  • เอฟทีขายปลีกที่สะท้อนต้นทุน 158.31 สตางค์ต่อหน่วย
  • เงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุน 66.67 สตางค์ต่อหน่วย
  • กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายใน 1 ปี
  • กฟผ.จะต้องรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชน จำนวน 81,505 ล้านบาท
  • ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 6.03 บาทต่อหน่วย


กรณีที่ 2 ค่าเอฟที 191.64 สตางค์ต่อหน่วย

  • เอฟทีขายปลีกที่สะท้อนต้นทุน 158.31 สตางค์ต่อหน่วย
  • เงินทยอยเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุน 33.33 สตางค์ต่อหน่วย
  • กฟผ. ได้รับเงินคืนครบภายใน 2 ปี
  • กฟผ.จะต้องรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชน จำนวน 101,881 ล้านบาท
  • ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 5.70 บาทต่อหน่วย


กรณีที่ 3 ค่าเอฟที 158.31 สตางค์ต่อหน่วย

  • กฟผ.จะต้องรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงแทนประชาชน จำนวน 122,257 ล้านบาท
  • ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) 5.37 บาทต่อหน่วย


ทั้งนี้ รัฐบาลจะตรึงค่าไฟฟ้าของครัวเรือนไว้ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย โดยมีการขอความร่วมมือจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้จัดสรรรายได้จากการดำเนินธุรกิจโรงแยกก๊าซรวม 6,000 ล้านบาท มาช่วยสนับสนุน


แต่จากข้อมูลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) พบว่า การคำนวณค่าไฟใหม่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะต้องดูผลของมาตรการรัฐว่าจะลดต้นทุนเชื้อเพลิงได้ระดับไหน แต่เบื้องต้นอาจไม่สามารถตรึงได้ 100% อาจขยับเป็นประมาณ 5 บาทต่อหน่วย เพราะต้นทุนราคาเชื้อเพลิงแพงขึ้นต่อเนื่อง และคาดการณ์อนาคตได้ยากขึ้น


ประกอบกับตัวอย่าง 3 มาตรการที่ได้รับความสนใจคือ เงินช่วยเหลือจากบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ประมาณ 6,000 ล้านบาท จะดึงมาอย่างไร ใครจะเป็นผู้ดำเนินการ เหล่านี้ต้องพิจารณามติ กพช.อย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อป้องกันปัญหาข้อกฎหมายภายหลัง

---------------



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/rtg1gEveKnI

คุณอาจสนใจ

Related News