เศรษฐกิจ

'ต่อพงศ์' แจงเหตุผล กสทช.เสียงข้างมาก ให้ควบรวม 'ทรู-ดีแทค' ชี้บอร์ดมีอำนาจแค่ 'รับทราบ'

โดย thichaphat_d

24 ต.ค. 2565

54 views

วันที่ 20 ตุลาคา 2565 ที่ประชุม กสทช. ได้มีการหารือ อภิปราย รวมถึงแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่วมกันในทุกๆ ด้าน เพื่อพิจารณาการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จากนั้นที่ประชุม กสทช. จึงได้มีมติเสียงข้างมากรับทราบการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)


นายต่อพงศ์ เสลานนท์ หนึ่งในคณะกรรมการ กสทช. จัดส่งบันทึกความเห็น ว่ารับทราบการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค ซึ่งเห็นว่าบอร์ดมีอำนาจแค่ รับทราบการควบรวม แต่สามารถกำหนดมาตรการเพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภคและอุตสาหกรรม


โดย นายต่อพงศ์ เสลานนท์ ชี้แจงว่าการดำเนินการใดๆที่เป็นการรวมธุรกิจ ต้องดำเนินการตามประกาศฉบับที่ พ.ศ.2561 ซึ่งยังมีผลบังคับใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเจตนารมณ์ของประกาศ พ.ศ.2561 จัดทำขึ้นเพื่อไม่ให้ กสทช.มีอำนาจใช้ดุลพินิจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ อนุญาตการขอรวมธุรกิจของผู้รับใบอนุญาตอีกต่อไป


สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่บัญญัติว่า รัฐพึงใช้ระบบอนุญาตเฉพาะกรณีจำเป็นแต่คงมีอำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขหรือนำมาตรการเฉพาะสำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับ เพื่อป้องกันความเสียหายได้ โดยภายใต้ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรร คลื่นความถี่


และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 กำหนดว่า กสทช.มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้มีการผูกขาดและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน


นอกจากนั้น ที่ผ่านมา เมื่อผู้รับใบอนุญาตขอรวมธุรกิจจำนวน 9 ราย ตามประกาศฉบับ 2561 กสทช.ไม่ได้ใช้อำนาจเพื่อพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตแต่อย่างใด อีกทั้งคณะกรรมการยังไม่เคยจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อที่จะใช้พิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามประกาศฉบับปี 2549 ด้วย


ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามโครงการจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์การรวมธุรกิจของทรูและดีแทคยังมีความเห็นว่า ตามประกาศ พ.ศ.2561 เรื่องผู้รับใบอนุญาตขอรวมธุรกิจ กสทช.ทำได้เพียงพิจารณากำหนดเงื่อนไขและมาตรการเฉพาะสำหรับผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญเท่านั้น แต่ไม่มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้รวมธุรกิจอีกต่อไป


โดยหากเกิดผลกระทบต่อการมีอำนาจเหนือตลาด กสทช.สามารถใช้กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องมากำหนดเงื่อนไขได้ ภายหลังการรวมธุรกิจแล้ว หากบริษัทใหม่ไม่ปฏิบัติตามที่กำหนด ส่งผลให้เกิดการผูกขาด ลดหรือจำกัดการแข่งขัน กสทช.มีอำนาจสั่งห้ามรวมกิจการได้ นอกจากนั้นยังมีอำนาจบังคับทางปกครอง สั่งระงับ การกระทำที่ฝ่าฝืน หรือให้แก้ไขในเวลาที่กำหนด รวมทั้งมีอำนาจปรับไม่ต่ำกว่าวันละ 20,000 บาทด้วย กรณีมีความเสียหายร้ายแรงต่อสาธารณะ มีอำนาจพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้

-------------



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/WHE7k3XG5Yo

คุณอาจสนใจ

Related News